บทคัดย่อ
ที่ผ่านมาประเทศไทยได้จัดทําแผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุแห่งชาติแล้ว จํานวน 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2540-2544) และฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2549) เป้าประสงค์ของแผนแม่บทฯ ทั้ง 2 ฉบับ คือ การบูรณาการการทํางานร่วมกันของหลายฝ่ายบนเป้าหมายการทํางานเดียวกัน แผนแม่บทฯ ฉบับที่ 1 เน้นการรวบรวมเอาแผนงานและโครงการของหน่วยงานต่างๆ เข้ามาผูกโยงเป็นแนวทางเดียวกันและประสบความสําเร็จในการสร้างเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานที่ทํางานด้านเคมีวัตถุ ส่วนแผนแม่บทฯ
ฉบับที่ 2 เน้นการทํางานเชิงบูรณาการแบบมีเจ้าภาพตามยุทธศาสตร์และกําหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่กําหนดไว้ ความสําเร็จของแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 จะพบว่า การดําเนินงานประจําของแต่ละหน่วยงานสามารถดําเนินการได้ผลงานมากขึ้น แต่ยังดําเนินงานไม่ได้ตามเป้าหมายที่กําหนด บทเรียนสําคัญของแผนแม่บทฯ ทั้งสองฉบับ คือ การประสานงานเชิงโครงสร้างราชการยังไม่สามารถทําให้แผนงานและโครงการต่างๆ ดําเนินการได้ตามที่กําหนดไว้ในแผนแม่บทฯ ความสำเร็จของการดำเนินการปรากฏในรูปของการประสานงานและความร่วมมือเชิงผลงานของหน่วยงานหลายฝ่าย โดยเฉพาะภาคราชการ ส่วนภาคเอกชนมีความก้าวหน้าในการจัดการองค์กรไปมากกว่าแผนแม่บทฯ ที่กำหนดไว้ ในส่วนภาคประชาสังคมยังเข้ามามีส่วนน้อยมากกับการเคลื่อนกระบวนการการจัดการเคมีวัตถุ (หรือสารเคมี) ความเข้มแข็งและตื่นตัวจะเกิดขึ้นกับการจัดการสารเคมีภาคการเกษตรมากกว่าภาคอุตสาหกรรมและการบริโภคสินค้า อย่างก็ตาม การดำเนินการภายใต้กระบวนการเชิงนโยบายโดยภาพรวมยังมีความไม่สมบูรณ์ในเชิงกลไกของการบริหารจัดการ การประสานงานโดยรวม และการดำเนินการให้ได้ตามเป้าประสงค์ที่กําหนดไว้ตามแผนแม่บทฯ ทั้งฉบับที่ 1 และ 2 ดังนั้น อาจจะสรุปได้ว่า การกําหนดนโยบายและแผนงานที่ดีและครอบคลุมประเด็นต่างๆ ทั้งหมด อาจจะไม่ได้ทําให้การดําเนินงานประสบความสําเร็จ และอาจจะนําไปสู่ช่องโหว่การดําเนินการได้ การกําหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายที่จะสนับสนุนกระบวนการพื้นฐานการตัดสินใจทางนโยบายและแผนอาจจะเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดความสําเร็จโดยภาพรวม