• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาผลกระทบที่มีต่อประชากรในเขตอำเภอบ้านแพ้ว ภายหลัง การออกนอกระบบราชการ และอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านแพ้ว

สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล; Surasak Taneephanitsakul; ยุพา อ่อนท้วม; วิพรรณ ประจวบเหมาะ; วีนัส อุดมประเสริฐกุล; Yupha Aontuam; Wipha Phachuapmuam; Vinus Udomphasertphan;
วันที่: 2546
บทคัดย่อ
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ออกนอกระบบราชการ เป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2543 เก็บค่ารักษาพยาบาลคนละ 40 บาท สำหรับผู้ป่วยนอก และ 100 บาท สำหรับผู้ป่วยใน จึงสมควรศึกษาผลกระทบที่มีต่อสุขภาพประชาชนในอำเภอบ้านแพ้ว โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพ ทัศนคติ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของการใช้บริการทางสุขภาพของประชาชนในอำเภอบ้านแพ้ว เปรียบเทียบก่อนและหลังจากที่โรงพยาบาลบ้านแพ้วเป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ โดยใช้รูปแบบการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi experimental study) สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นพื้นที่หลายชั้น (Stratified Multistage Sampling) อำเภอบ้านแพ้วมี 12 ตำบลแบ่งเป็นในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล แต่ละเขตสุ่มหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้าน สุ่ม 40 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 1,000 ครัวเรือน สมาชิกเฉลี่ยครัวเรือนละ 4-6 คน มีสมาชิกรวมทั้งหมด 4,485 คน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกตสถานภาพครัวเรือน สิ่งแวดล้อม และสมาชิกในครัวเรือนทุกคน ดำเนินการสำรวจ 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังจากออกนอกระบบปีที่ 1 เมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน 2544 ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม – กันยายน 2545 และในเดือนตุลาคม 2544 รัฐบาลนำนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคมาใช้ในจังหวัดสมุทรสาครด้วย ผลการศึกษาจากการสำรวจ 2 ครั้ง การศึกษาในทุกด้านอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องจากการสำรวจครั้งที่ 2 ได้มีการเปลี่ยนนโยบายด้านระบบสาธารณสุขใหม่ โดยคิดอัตราค่าบริการ 30 บาท ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ทำให้ค่าใช้จ่ายที่เป็นเวชภัณฑ์ และยาที่ไม่สามารถเบิกได้ เฉลี่ยลดต่ำลงกว่า การสำรวจครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญ ประชาชนไปใช้บริการที่โรงพยาบาลบ้านแพ้วในฐานะผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก และมีความพึงพอใจ การให้บริการทั้งคุณภาพ ประสิทธิภาพ และบุคลากรของโรงพยาบาลมากกว่าการสำรวจครั้งแรก (P > .05) สำหรับบัตรประกันสุขภาพของสมาชิกในครัวเรือน ในการสำรวจครั้งที่ 2 มีถึงร้อยละ 95 เพราะมีนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ขณะที่การสำรวจครั้งแรกมีเพียงร้อยละ 49 เมื่อประชาชนเจ็บป่วยจะไปรับบริการที่โรงพยาบาลของรัฐ และสถานีอนามัย สุขภาพประชาชนอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก ทั้งสองช่วงเวลาของการสำรวจผู้ที่เจ็บป่วยส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันสูง และโรคข้อเสื่อม อักเสบ และพบในการสำรวจครั้งที่ 2 มากกว่าการสำรวจครั้งแรก (P < 0.5) เนื่องจากมีบุคลากรสาธารณสุขไปดูแลเยี่ยมบ้านให้คำแนะนำและให้ความรู้ในชุมชนมากขึ้น ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองตรวจและส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น โดยใช้บริการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว และสถานีอนามัยมากขึ้นกว่าการสำรวจครั้งแรก ( P < .05) อนึ่ง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในระยะเริ่มต้นเพียง 2 ปี หลักการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของโรงพยาบาลบ้านแพ้วและมีนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเข้ามาใช้เมื่อตุลาคม 2544 จึงควรติดตามผลในระยะยาว 4-5 ปี จะประเมินได้เหมาะสมถูกต้องมากยิ่งขึ้นคำสำคัญ : วิจัยการให้บริการสุขภาพ, การวิจัยกึ่งทดลองโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ

บทคัดย่อ
Banpaew Hospital, located in Samut Sakorn province, was the First Autonomous Public Hospital on October 1, 2543. The hospital charged 40 baht each for outpatient visit and 100 baht for inpatient services. A study should then be conducted to identify population in health impact in Ampur Banpaew. The purpose of this study was to figure out the changes in health status, attitudes, awareness, healthcare behavior, social and environmental factors, and any other changes regarding to the use of Autonomous Public Hospital services. The study will be compared the changes before and after became an autonomous public hospital using Quasi experimental Stratified Multistage Sampling method was used to sampling the area, Banpaew consists of 12 tambons divided into two stratus: municipal area and non-municipal area. Within each area, a random of village (moo-baan) was selected and, within each village, 40 households were randomly picked for the total of 1,000 households, with an average number of 4-6 members per each household. The total of 4,485 head of household both male and female participated in the study. The data was collected through interviews and observation of household status, environments, and its members. The research in conducted twice. The initial survey was performed after one year of Autonomous hospital during March to April 2001. The second survey in the same area was done form August to September 2002. But in October 2001, the government has launched policy of 30 baht for every disease was in effect in Samut Sakorn province. The results from both survey periods are at satisfactory level in all aspects. Due to the changes in public health system that occurred during the second study period, which charges 30 baht for both outpatient and inpatient services, the medical supplies and medicines (that cannot be claimed) expenses averaged significantly lower than the first study period. Those who attended the hospital services as inpatients and outpatients were more satisfied with the quality, effectiveness, and its staffs than the first study period (p<.05). As for the aspect of health insurance cards for household members, during the second study period, 95 percent went to either public hospitals of health centers when they become sick, due to the 30 baht for all disease policy, in comparison to only 49 percent during the first study period. The overall population health status was in a good to excellent level. The findings from both study periods found that those patients were mostly seniors of 60 years and older with diabetes, high blood pressure, and joint diseases. The study also found that there were more of them in the second study period than the first one (P<0.5) because there are more public health personnel to go visiting with households and giving advice and suggestions to the community, in addition to the public increased interests of better health awareness. However, this is only the beginning phase of the study covering the period of two years. After the status change of Banpaew Hospital along with the 30 baht for every disease policy, which was first introduced in October 2001, a longer-term study of 4-5 years should be conducted in order to yield more accurate estimates and results.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1130.pdf
ขนาด: 1.154Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 125
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • ถอดบทเรียนการดำเนินมาตรการส่งเสริมและกำกับการใช้ยาในโรงพยาบาลนำร่อง 3 แห่ง : โรงพยาบาลลำปาง โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลศิริราช 

    สายศิริ ด่านวัฒนะ; อภิญญา อิสระชาญพานิช (สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, 2555-07)
    เพื่อค้นหาจุดเด่นของการดำเนินการมาตรการภายใน ผู้มีบทบาทสำคัญ ปัจจัยความสำเร็จ ผลสำเร็จ และปัญหาอุปสรรคพร้อมข้อเสนอแนะ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่ม พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสารต่างๆ เรียบเรียงให้เข้ ...
  • การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิตพยาบาลชุมชน: กรณีศึกษา โรงพยาบาลน้ำพองและโรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 

    สุนันทา ทองพัฒน์; Sunanta Thongpat; ศุภาพิชญ์ มณีสาคร โฟน โบร์แมนน์; Suparpit Maneesakorn von Bormann (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2557-12)
    การขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพได้ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพและความเป็นธรรมด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในชนบทห่างไกล โรงพยาบาลน้ำพองและโรงพยาบาลอุบลรัตน์เป็นโรงพยาบาลชุมชนของรัฐในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเคยประสบ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการด้านคุณภาพบริการพยาบาลที่ให้แก่ผู้ป่วยประกันตนกับคุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ประกันตนรับรู้, โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร 

    วรรณฤดี ภู่ทอง; พนิดา ดามาพงศ์ (2540)
    การวิจัยเรื่องนี้นับว่ามีคุณค่าและสอดคล้องขานรับกับบทความเรื่อง สถานการณ์โรงพยาบาลเอกชน เพียงแต่เน้นหนักการประเมินผลของการพัฒนาคุณภาพบริการดังกล่าวที่ผู้ประกันตนรับรู้ เพราะบริการพยาบาลเป็นหัวใจและกลวิธีการสร้างความประทั ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV