บทคัดย่อ
การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเริ่มดำเนินการทั่วประเทศในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 โดยได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนได้รับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลและสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย ทั้งนี้ได้กำหนดให้มีการจ่ายร่วมในการรักษาพยาบาลเป็นเงิน 30 บาทต่อครั้ง ทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและกรณีผู้ป่วยในลำหรับผู้ใช้บริการที่ถือบัตรทองประเภทไม่มี ท. ซึ่งได้แก่ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้รับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลใดๆก่อนการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งสมาชิกบัตรสุขภาพในโครงการประกันสุขภาพโดยความสมัครใจ สำหรับผู้ที่เคยได้รับสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นๆ มาก่อนเช่น ผู้ถือบัตรสวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล (สปร.) ผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุข และเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี จะได้รับบัตรทองประเภทมี ท. นั่นคือเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาพยาบาลฟรีโดยไม่จำเป็นต้องมีการจ่ายร่วม และเมื่อโครงการฯดำเนินมาได้ระยะหนึ่ง ประเด็นการจ่ายร่วม 30 บาทในการรักษาพยาบาลแต่ละครั้งได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาว่า เป็นอัตราที่เหมาะสมหรือไม่ทั้งในด้านเป็นแหล่งรายได้ของสถานพยาบาล และเป็นมาตรการที่มีประสิทธิผลในการป้องกัน การใช้บริการที่เกินจำเป็นของ ผู้ป่วย (moral hazard) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ถือบัตรทองทั้งประเภทที่ต้องจ่ายร่วมและได้รับการรักษาฟรี อัตราการใช้บริการรักษาพยาบาลของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบัตรทองประเภทที่ต้องจ่ายร่วม (ไม่มี ท.) และประมาณการรายได้จากการเรียกเก็บค่ารักษาครั้งละ 30 บาทของผู้ที่ต้องจ่ายร่วม และเพื่อนำเสนอแนวทางเชิงนโยบายสำหรับการปฏิรูปการจ่ายร่วม การศึกษานี้ ใช้ข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2546 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นฐานข้อมูลหลักของการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มผู้ที่ได้รับการรักษาพยาบาลฟรีโดยไม่ต้องจ่ายร่วมนั้น ร้อยละ 4 เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มคนรวยที่สุดจากทั้งหมด 5 กลุ่ม และร้อยละ 9 เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มคนรวยรองลงมา สำหรับผู้ถือบัตรทองประเภทที่ต้องมีการจ่ายร่วม 30 บาทนั้น พบว่า เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มคนจนที่สุดถึงร้อยละ 29 และเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มคนจนร้อยละ 25 เมื่อประมาณการรายรับจากการจ่ายร่วมพบว่าเป็นจำนวนเงินไม่มากนัก เพียง 1,073 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2546 คิดเป็นร้อยละ 1.9 ของงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวทั้งหมด หากพิจารณาในด้านการเป็นมาตรการเพื่อป้องกันการมาใช้บริการที่เกินจำเป็นแล้ว เงื่อนไขนี้ไม่น่าจำเป็นสำหรับกรณีการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยในเนื่องจากต้องเป็นวินิจฉัยของแพทย์ในการรับเข้าเป็นผู้ป่วยใน การใช้บริการอย่างฟุ่มเฟือยกรณีผู้ป่วยในเป็นไปไม่ได้ ภายใต้การจ่ายเงินแบบเพดาน งบประมาณและกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (global budget and DRG payment) อย่างไรก็ดี การจ่ายร่วมอาจจะยังคงจำเป็นสำหรับกรณีผู้ป่วยนอกเนื่องจากเป็นด่านแรกของการรักษาพยาบาล
บทคัดย่อ
Universal Coverage Scheme was nation-wide launched by the government in October 2001. The scheme was financed by general tax revenue with literally free access to contractor primary care unit (PCU) and registered hospitals. A nominal fee (co pay), 30 Baht per visit or per admission, was introduced for UC Pay member (UCP). UC exempted (UCE) members who were the ex-members of Low Income Scheme, the elderly, children under 12 years, monks, war veterans, and village health volunteers were exempted from the co pay. Current policy debates focused on the appropriateness of co pay level to deter any unnecessary demand for care as well as capacity to generate some revenue to finance the scheme. This study examined and classified income quintiles of UCE and UCP members, service utilization rate of UCP, and total revenue generate from co pay. The study also proposed several scenarios for reform in both directions (termination and increase of co pay). The 2003 Health and Welfare Survey (HWS) conducted by the National Statistical Office (NSO) was the dataset used for the analysis. There was a substantial portion of the poorest (29%) and the poor (25%) quintiles among UCP members, and a small portion of the rich (9%) and the richest (4%) quintiles among UCE members. Estimate revenue from co pay was probably negligible. This was 1,073 million Baht in FY2003 or 1.9% of total capitation budget financed by the government. Co pay was advocated to deter unnecessary demand among users, but this study proposed that it might not be necessary for IP as admissions were clinically indicated under global budget plus DRG payment system. However, co pay might be necessary for ambulatory services as contractors were in weaker positions to contain demand. We would recommend that any reform of co pay should over-haul the issuance of UCE and UCP to better targeting as a pre-requisite. Co pay was not a significant resource generation tool to finance UC scheme compared to capitation. Co pay for IP should be terminated to abolish barrier to health services and prevent patients’ welfare loss, there was literally no moral hazard as providers have no incentive to unnecessary admit patients. Finally, co pay should be terminated at HC level in order to advocate use of primary care. In the meantime, research to provide evidence if there was a moral hazard among UC members as well as quantifying the magnitude of moral hazard is needed, prior to major revision of this policy.