บทคัดย่อ
แนวทางการจัดระบบบริการสุขภาพของแรงงานนอกระบบ : หาบเร่ แผงลอยและซาเล้ง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการทำงาน ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพและปัญหาสุขภาพ และการดูแลสุขภาพของหาบเร่ แผงลอยและซาเล้ง 2) ศึกษาการรับรู้และความเข้าใจ รวมทั้งการเข้าถึงและความคุ้มครองของระบบบริการสุขภาพ การเลือกใช้บริการและสิทธิประโยชน์ ตลอดจนความพึงพอใจและปัญหาในการใช้ระบบบริการสุขภาพ อีกทั้งความคาดหวังต่อระบบบริการสุขภาพและความสามารถในการจ่ายสมทบเข้ากองทุนสุขภาพ 3) เสนอและพัฒนาแนวทางการจัดระบบบริการสุขภาพของแรงงานนอกระบบกลุ่มหาบเร่แผงลอย และซาเล้ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ลักษณะคือ 1) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ประกอบอาชีพหาบเร่แผงลอยและซาเล้ง ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 165 ราย และคัดเลือกเสนอเป็นกรณีศึกษา 4 ราย 2) การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับการให้บริการสุขภาพ จำนวน 5 ราย และ 3) การเสวนากลุ่มย่อยทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการสุขภาพ จำนวน 2 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 165 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาชั้นประถมศึกษา มีลักษณะครอบครัวเดี่ยว สมาชิกในครอบครัวประมาณ 4 คน ผู้ประกอบอาชีพหาบเร่แผงลอยส่วนใหญ่เป็นผู้ย้ายถิ่นชั่วคราวตามฤดูกาลหรือย้ายถิ่นมาประกอบอาชีพถาวร กว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่ในบ้านเช่าราคาประมาณเดือนละ 800 บาท ใกล้กับบริเวณแหล่งค้าขายและประกอบอาชีพนานกว่า 10 ปี มีรายได้เฉลี่ยวันละ 300-400 บาท มีรายได้เท่ากับรายจ่าย มีภาระหนี้สินระยะสั้นโดยกู้ยืมจากนายทุนดอกเบี้ยร้อยละ 7-20 บาทต่อเดือน มักกู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพหรือใช้จ่ายกรณีเจ็บป่วย ผู้ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอย และซาเล้งต้องอาศัยขอบถนนหรือพื้นที่สาธารณะในแหล่งชุมชนมีคนพลุกพล่านประกอบอาชีพวันละ 8-10 ชั่วโมง ทั้งกลางวันหรือกลางคืนทุกวันไม่มีวันหยุดพักผ่อนคลายความเครียดหรือความเมื่อยล้าจากการทำงานที่ต้องออกแรงหรือมีท่าทางซ้ำๆ อีกทั้งต้องผจญกับมลพิษฝุ่นละออง แดดร้อน เสียงดังของการจราจรย่านชุมชน จึงเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยระดับปานกลาง มีรายได้ไม่แน่นอน ขาดเงินทุนหมุนเวียนและขาดการพัฒนาส่งเสริมด้านทักษะอาชีพ ส่วนความเชื่อในการดูแลสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าตนเองและครอบครัวยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว แข็งแรง จึงไม่ตระหนักในพฤติกรรมการป้องกันหรือส่งเสริมสุขภาพ หากเจ็บป่วยส่วนใหญ่ซื้อยารับประทานเองเพราะสะดวก ประหยัด และเชื่อว่าหายเร็วกว่าไปพบแพทย์ ในรอบปีที่ผ่านมากลุ่มตัวอย่างและครอบครัวส่วนใหญ่ไม่มีการเจ็บป่วยร้ายแรง มีเพียงปวดศีรษะ ปวดเมื่อยแขน ขา หลัง ไหล่ เป็นไข้หวัด อ่อนเพลีย และเครียด เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพประมาณ 200-300 บาทต่อปีต่อครอบครัว กว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีหลักประกันสุขภาพระบบใดระบบหนึ่ง ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 48 ไม่มีหลักประกันสุขภาพ เนื่องจากไม่ได้รับทราบข่าวสารการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการหลักประกันสุขภาพ แต่บางส่วนรับรู้ข่าวสารแต่คิดว่าไม่คุ้มค่าเพราะไม่เคยเจ็บป่วยหรือคิดว่าการจ่ายเป็นเงินสดจะได้รับบริการสะดวกกว่าการใช้บัตรหลักประกันสุขภาพ ปัญหาด้านการรับบริการสุขภาพ กลุ่มที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเองหากเจ็บป่วยหนักอาจต้องกู้ยืมเงินเพื่อจ่ายค่ารักษา สถานบริการของรัฐให้บริการจำกัดเฉพาะเวลาราชการ การประชาสัมพันธ์โครงการมักเป็นประกาศหรือแผ่นพับซึ่งกลุ่มตัวอย่างไม่ชอบอ่านหรืออ่านหนังสือไม่ได้ สำหรับกลุ่มที่มีหลักประกันสุขภาพมักพบปัญหาการกำหนดสถานพยาบาลไม่เหมาะสมกับความสะดวกในการเดินทางเพราะยึดตามพื้นที่เขตการปกครอง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงเสนอความคิดเห็นว่าควรให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกสถานบริการได้ตามความเหมาะสมเช่นเดียวกับโครงการประกันสังคม แต่มีความสามารถจ่ายสมทบได้ประมาณ 500-600 บาทต่อปีต่อครอบครัวเท่ากับโครงการประกันสุขภาพโดยสมัครใจ สำหรับแนวทางการจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับแรงงานนอกระบบกลุ่มหาบเร่ แผงลอย และซาเล้ง มีดังนี้ 1. เร่งสร้างค่านิยมความตระหนักและความสำคัญของการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพมากกว่าการรักษาพยาบาลที่เป็นปลายเหตุและเสียค่าใช้จ่ายสูง 2. หลักประกันสุขภาพที่เหมาะสมควรเป็นระบบสุขภาพพื้นฐานให้แก่แรงงานนอกระบบที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพโดยมีสิทธิประโยชน์คล้ายคลึงกับโครงการสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล (สปร.) โดยรัฐเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบค่าใช้จ่ายหลักประกันสุขภาพเบื้องต้นส่วนนี้ หากมีผู้ประสงค์ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น การเลือกสถานพยาบาล การรักษาโรคเรื้อรัง การใช้ยานอกบัญชียาหลัก ฯลฯ ควรมีชุดสิทธิประโยชน์ตามที่ต้องการให้เลือกใช้บริการและผู้ประกันตนจ่ายสมทบตามราคาชุดของสิทธิประโยชน์นั้นๆ อีกทั้งควรมีการลดราคาการจ่ายสมทบให้แก่ผู้ประกันตนที่ดูแลสุขภาพดี มิเคยใช้บริการสุขภาพด้านการซ่อมสุขภาพซึ่งเป็นการจูงใจให้ประกันตนต่อเนื่อง ตลอดจนจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ระบบบริการหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึง โดยใช้สื่อบุคคล และวิทยุ โทรทัศน์ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประกันสุขภาพ มิให้เกิดความรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าเมื่อยังไม่ได้ใช้บริการ ทั้งนี้เพราะกลุ่มเป้าหมายมีวิถีชีวิตเฉพาะหน้ามากกว่าการคิดถึงโอกาสความคุ้มค่าในอนาคต และไม่เข้าใจว่าระบบประกันเป็นระบบการช่วยเหลือแบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขซึ่งกันและกันของผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งหมดมิได้มุ่งเน้นที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น
บทคัดย่อ
Health Management Service for Informal Sector : Hawkers and Garbage Collectors This research is aimed to 1) know their working conditions , major health risks, health problems and care, 2) know their awareness, understanding and access, of health service system for them, their selection of health service, rights and benefits, their satisfaction and problems of health service system use, their expectation of health service system and their ability to make additional payment into the health fund, and 3) propose guidelines on provision of health service system for informal sector : hawkers and garbage collectors. This is qualitative research and data were collected in 3 ways including 1) in-depth interview with 165 hawkers and garbage collectors in Bangkok and peripheral zones, 2) interview with 5 officials directing health service, and 3) 2 focus groups of the health service receivers and providers. The research can be concluded that most of 165 samples are women being 31-40 years of age and having primary education, single families and about 4 family members. Most samples migrated seasonally or permanently form the northeastern region, reside in rented houses with about ฿ 800/month. Most samples have worked for over 10 years with daily income of ฿300-400 being equal to their expenditure. Some have short-term debts with monthly interest rate of 7-20% being incurred to be their revolving fund for trade or to be their expenses for medical treatment. They work at kerbs or in public and crowded places for 8-10 hours a day without taking any holiday for relieving their stress or exhaustion from hard or repetitious work. They also encounter polluted air, dust, strong sunlight and noise of heavy traffic. So, this is rather risky work without certain income. As for their belief in health care, they believe that their families and themselves are strong at this middle age, so they are not aware of health protection or improvement. In case of illness, Most of them buy drugs instead of seeing a doctor for saving on time and money and for quicker recovery. Most of the samples and their families were not seriously ill during the past year but they suffered only from headaches, armaches, legaches, backaches, shoulderaches, colds, exhaustion and stress. Yearly expenses for health care are ฿ 200-300 per family. More than half of them have health insurance but the 48% remainder have not because they know nothing about health insurance schemes or think that such schemes are not worthwhile because they have never been ill or that better service results from cash payment, not from the use of health insurance cards. As for their problems of health service system use, those having no health insurance must bear medical expenses or borrow money if they are seriously ill. Public hospitals are open only during official hours and the health insurance schemes are usually publicized in announcements or leaflets which are hardly or cannot be read by them. Those having health insurance usually face problems with hospitals being provided for them according to administrative zones, so most of them suggest that suitable hospitals should be chosen in not only the social insurance schemes but also these health insurance schemes. Moreover they can willingly make additional payment into the health fund for about ฿ 500 –600 a year. The guidelines on provision of health service system for hawkers, garbage collector are as follows : 1. Public awareness of health improvement and protection must be more stimulated than medical treatment which finally requires high expenses. 2. Suitable health insurance should be basic health service system being provided for informal sector having no health insurance. It should be the same rights and benefits as those offered by the schemes of the poor and needy relief. The expenses of this basic health insurance must be borne by the government. If anybody wants more rights and benefits, e.g. selection of hospitals, treatment for chronic diseases, use of extra drugs, etc., should be offered and additionally paid for. The insurer taking good care of himself/herself without using health service of medical treatment should be given a discount for continuous insurance. Besides, the health insurance schemes must be fully publicized by local health volunteers or radio and television programmes for creating correct understanding of health insurance.