• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

รายงานผลการดำเนินการโครงการประเมินผลลัพธ์การพัฒนาบริการปฐมภูมิในโครงการส่งเสริมคุณภาพสถานบริการปฐมภูมิสู่ความเป็นเลิศ (PCUในฝัน)

สำนักงานโครงการปฎิรูประบบบริการสาธารณสุข; Health Care Reform Office;
วันที่: 2548
บทคัดย่อ
โครงการส่งเสริมคุณภาพสถานบริการปฐมภูมิหรือ “โครงการ PCU ในฝัน” พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้น สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของหน่วยบริการปฐมภูมิให้สามารถจัดบริการสุขภาพที่มีคุณภาพในทิศทางพึงประสงค์ และสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชน เป็นบริการที่ตอบสนองปัญหาสุขภาพของพื้นที่ จัดระบบบริการพื้นฐานตามสิทธิประโยชน์อย่างมีคุณภาพ และเน้นการสร้างสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพดี บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ คือ ศูนย์สุขภาพชุมชนทุกแห่ง ทั้งเครือข่ายบริการของรัฐและเอกชนที่สมัครเข้าร่วม ตามเป้าหมายที่จะสนับสนุน 450 แห่ง (ในปี 2547-2548) โดยใช้กระบวนการทำโครงการพัฒนาที่มีคุณภาพเป็นเครื่องมือนำร่องของการพัฒนา ร่วมกับการสนับสนุนด้านวิชาการจากทีมพี่เลี้ยงและทีมวิชาการ โดยเปิดโอกาสให้ศสช.เป็นผู้จัดทำโครงการที่ต้องการพัฒนาเอง และสปสช.จะสนับสนุนงบประมาณสำหรับดำเนินงานโครงการของ PCU วงเงิน 70,000 – 100,000 บาทต่อโครงการ ผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่เกิดขึ้นมีหน่วยบริการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ 1,451 แห่ง คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกโครงการเพื่อให้การสนับสนุนทั้งหมด 562 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 38.9 ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ (จำนวน 259 คิดเป็นร้อยละ 46.6) ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ แบบที่ 4 สำหรับสาระสำคัญที่ศูนย์สุขภาพชุมชนใช้ในการพัฒนาพบว่าส่วนใหญ่จะดำเนินการพัฒนาในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับโรคเรื้อรัง (ร้อยละ 32.7) และการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของ อสม. แกนนำ รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งภาคประชาคม (ร้อยละ 22.7) โดยสรุปลักษณะของแนวคิดและกิจกรรมการพัฒนาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนดำเนินการจำแนกได้เป็น 6 ลักษณะ คือ 1.การเพิ่มคุณภาพบริการเป็นองค์รวม, 2.การปรับ ประยุกต์ ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม, 3.การพัฒนาบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก, 4.การพัฒนาและสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชน, 5.การเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริการสุขภาพ, 6.การประสานการดำเนินงานกับองค์กร ภาคี ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สำหรับการประเมินผลโครงการฯ ในระยะปีแรกนี้มิได้เน้นเฉพาะการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการเท่านั้น แต่มุ่งเน้นที่ “กระบวนการ” การพัฒนา เน้นที่ความชัดเจนของแนวคิดการพัฒนาตามปัญหาของพื้นที่ การพัฒนาโดยใช้หลักฐานประกอบ กลไกการติดตามเป็นลักษณะพี่เลี้ยงเพื่อพัฒนาระบบบริการ ไม่ใช่เพื่อการรับรอง เน้นสนับสนุนให้เกิดกระบวนการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการประเมินตนเอง และการ feedback จากภายนอกเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ และพัฒนา มิได้เน้นที่การรับรองให้มีคุณภาพดีเด่น แต่เน้นให้สถานพยาบาลที่สนใจ ตั้งใจพัฒนางานของหน่วยงานตนเองได้รับการสนับสนุน และสามารถเรียนรู้พัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นฐานการพัฒนาคุณภาพสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิในอนาคต ทั้งนี้การพิจารณาระดับคุณภาพในโครงการนี้ ได้พิจารณาถึงบริบทของพื้นที่และจำนวนบุคลากรควบคู่ไปด้วย ฉะนั้นโครงการฯ นี้ได้มีการปรับแนวคิดจากการเน้นประเมินผลลัพธ์เป็นการประเมินกระบวนการพัฒนาแทน
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1275.pdf
ขนาด: 964.4Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 263
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศพัฒนา 

    อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์; Adisak Plitponkarnpim; กิ่งแก้ว อุดมชัยกุล; จิราวรรณ กล่อมเมฆ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544)
    ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักมีจุดเริ่มต้นจากความพยายามที่ต้องการลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน จากนั้นการพัฒนาได้ขยายการครอบคลุมไปจนถึงการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อยู่ภาวะฉุกเฉิน ...
  • การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของ วิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษา ร้านส่งเสริมเภสัช 

    วราวุธ เสริมสินสิริ; Warawut Sermsinsiri (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    ร้านส่งเสริมเภสัช ตั้งอยู่เลขที่ 255/47 ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณตลาดสดสี่มุมเมือง มีผู้คนสัญจรไปมาคับคั่ง ร้านส่งเสริมเภสัชเป็นร้านขายยาเอกชน เจ้าของรายเดียว เวลาทำการ 7.30 - 20.00 ...
  • การออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 

    มูหาหมัดอาลี กระโด; Muhamadalee Krado; รอซาลี สีเดะ; Rozalee Saredea; วรรณี ปาทาน; Wannee Patan (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-10)
    โครงการวิจัยการออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีความมุ่งหวังให้บุคลากรเห็นความสำคัญของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและสามารถปรับวิธีการทำงาน ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV