• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาและติดตามประเมินผลระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในประเทศไทย

สำนักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข; Health Care Reform Project; เครือข่ายวิจัยและพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิ; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข;
วันที่: 2549
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนากลไกการกำกับประเมินผล และชุดตัวชี้วัดในด้านผลลัพธ์งานของระบบบริการปฐมภูมิที่วัดผลและเปรียบเทียบกันได้ระหว่างหน่วยบริการในพื้นที่ต่างๆ มากกว่าตัวชี้วัดที่กระบวนการบริการ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในกระบวนการดำเนินงานที่แตกต่างกันได้ตามสภาพพื้นที่ แต่หากไม่สามารถวัดที่ผลลัพธ์งานได้ ก็ใช้ตัวชี้วัดของคุณภาพกระบวนการดำเนินงานแทน ชุดตัวชี้วัดที่พัฒนามุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ของระบบบริการปฐมภูมิที่สัมพันธ์กับความสามารถของระบบในด้านความเสมอภาค คุณภาพ ความมีประสิทธิภาพ และการตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชน และการพึ่งตนเองของประชาชน การพัฒนาตัวชี้วัด และระบบติดตาม ประเมินผล ในการศึกษานี้ จะเป็นการศึกษาที่ใช้หลักการทฤษฎี ประกอบกับตัวอย่างการดำเนินงานจริงในพื้นที่ รวมทั้งใช้เป็นเงื่อนไขในการสร้างเครือข่ายการพัฒนาและกลไกการกำกับ ประเมินผลหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิไปพร้อมกัน การศึกษานี้ใช้กระบวนการทบทวนเอกสาร เกี่ยวกับระบบบริการปฐมภูมิ และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องร่วมกับการประชุมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อค้นหาชุดตัวชี้วัดที่เหมาะสม และมีการศึกษาระบบข้อมูลและกระบวนการเก็บข้อมูลของหน่วยบริการในพื้นที่ศึกษา เพื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ข้อมูลจริง และความเป็นไปได้ในการเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดนั้นๆ แล้วนำมาคัดกรองหาตัวชี้วัด และตัววัดที่เหมาะสม และ นำไปทดลองเก็บข้อมูลในหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ที่มีบริบทแตกต่างกันทั้งที่เป็นลักษณะเมืองชนบท ในส่วนภูมิภาค 18 อำเภอ (44 หน่วย) และเขตกรุงเทพฯ 6 เขต วิเคราะห์ผลเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาคัดเลือกชุดตัวชี้วัด และกระบวนการติดตามที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอต่อไป จากผลการศึกษา พบว่า ในประเทศต่างๆ ทางตะวันตกส่วนใหญ่เน้นการประเมินระบบบริการสุขภาพ ในภาพรวมทั้งระบบที่รวมบริการทุกระดับ ส่วนตัวชี้วัดที่ประเมินหน่วยบริการปฐมภูมิจะเน้นที่การประเมินผลบริการทางคลินิก เน้นด้านการรักษาพยาบาลเป็นหลัก ไม่มีผลลัพธ์บริการทางด้านการ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เนื่องจากบริบทของหน่วยบริการปฐมภูมิในต่างประเทศให้บริการทางด้านการรักษาพยาบาลเป็นหลัก และมีบางประเทศเช่น สหราชอาณาจักรที่มีการประเมินในด้านคุณภาพของกระบวนการของหน่วยบริการปฐมภูมิ แต่ไม่ได้ประเมินที่ผลลัพธ์บริการด้านการส่งเสริม ป้องกัน ฉะนั้นในการศึกษานี้จึงต้องพัฒนาชุดตัวชี้วัด จากการแปลแนวคิด หลักการของระบบบริการปฐมภูมิที่ดี และคัดเลือกงานที่ประเมินจากบริบทที่เหมาะสมกับประเทศไทย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1308.pdf
ขนาด: 7.290Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 14
ปีพุทธศักราชนี้: 9
รวมทั้งหมด: 953
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศพัฒนา 

    อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์; Adisak Plitponkarnpim; กิ่งแก้ว อุดมชัยกุล; จิราวรรณ กล่อมเมฆ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544)
    ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักมีจุดเริ่มต้นจากความพยายามที่ต้องการลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน จากนั้นการพัฒนาได้ขยายการครอบคลุมไปจนถึงการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อยู่ภาวะฉุกเฉิน ...
  • การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กแรกเกิด - 5 ปี และพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพของเด็กภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 

    ประคิณ สุจฉายา; Prakin Suchaxaya; ศรีมนา นิยมค้า; อมรรัตน์ งามสวย (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2548)
    งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ศึกษาการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคสำหรับเด็กแรกเกิด-5 ปี และพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพของเด็กภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ศึกษาโดยการใช้แบบวิจัยเชิงพรรณนา และการสัมภาษณ์เจาะลึก ...
  • คู่มือปฐมพยาบาลสุขภาพจิตและการดูแลสุขภาพจิตประชาชน 

    ฐิติพร สุแก้ว; Thitiporn Sukaew; นพพร ตันติรังสี; Nopporn Tantirangsee; พยงค์ เทพอักษร; Phayong Thepaksorn; ภัทรหทัย ณ ลำพูน; Pathathai Na Lumpoon; นภชา สิงห์วีรธรรม; Noppcha Singweratham; เยาวลักษณ์ มีบุญมาก; Yaowaluck Meebunmak; วันดี แสงเจริญ; Wandee Saengjarern; สันติ ประไพเมือง; Sunti Prapaimuang; กีรติ พลเพชร; Keerati Ponpetch; เพ็ญนภา กวีวงศ์ประเสริฐ; Pennapa Kaweewongprasert; ดาวรุ่ง คำวงศ์; Daoroong Komwong; อลิซาเบธ เคลลี่ ฮอม เทพอักษร; Elizabeth Kelly Hom Thepaksorn; นิสารัตน์ สงประเสริฐ; Nisarat Songprasirt; รวิษฎา บัวอินทร์; Rawisada Buain (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-12-25)
    ปัญหาสุขภาพจิตและโรคซึมเศร้าเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของประเทศไทย โดยพบว่าประชากร 1 ใน 5 มีปัญหาสุขภาพจิต นอกจากนั้น ปัญหาสุขภาพจิตมิใช่ส่งผลกระทบต่อเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงญาติ ผู้ดูแลและบุคคลในสังคม ปัญหาสุขภาพจ ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV