บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยประเมินผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของโรงพยาบาลสร้างคอม อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี ว่าได้บรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด จากการจัดให้มีระบบบริการในชุมชนที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง. ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสม, ครอบกรัวและชุมชนมีความรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยและสนับสนุนให้สามารถอยู่ในชุมชนได้, ลดการกลับเป็นช้ำ, ลดการฆ่าตัวตายและการส่งต่อ. การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่ม การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม ดำเนินการในช่วงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 – 30 มกราคม พ.ศ. 2551 จากการศึกษาพบว่าได้มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพิ่มจากเดิมที่ไม่มีการให้บริการหรือกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน มีผู้ป่วยขาดยา ขาดการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีอาการกลับเป็นซ้ำ จากการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนที่ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่มีการทำความเข้าใจกับชุมชน ให้ทุกภาคส่วน ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน แกนนำสุขภาพ และเครือข่ายญาติผู้ป่วย ร่วมกันระบุปัญหาและสาเหตุของปัญหา ร่วมกันวางแผนในการพัฒนาระบบการดูแลและติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาให้เป็นระบบที่มีประสิทธิผลในการช่วยเหลือผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน ซึ่งภายใต้นโยบายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเชิงรุกเพื่อความต่อเนื่อง มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมการสนับสนุนงบประมาณ มีการอบรมแกนนำในด้านความรู้ ทัศนคติและพัฒนาทักษะในการให้การดูแลและการให้คำปรึกษา การออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย มีการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ อบรมสร้างเสริมสมรรถภาพของผู้ป่วยและผู้ดูแล มีการสนับสนุนให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนมากขึ้น มีผลทำให้ผู้ป่วยขาดยาน้อยลง ไม่มีอาการกำเริบ ไม่มีผู้ป่วยฆ่าตัวตายและลดการส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในโรงพยาบาลเฉพาะทาง แกนนำและชุมชนมีความรู้และทัศนคติต่อผู้ป่วยดีขึ้น
บทคัดย่อ
This evaluation research was aimed at assessing the effectiveness of the psychiatric
patient care system of Sangkom Hospital in a community of Sangkom district, Udon Thani
province, i.e., whether it could encourage the community participating in providing con-tinuity of care for psychiatric patients, families and communities having knowledge and
a positive attitude and supporting the patients to live within the community, reducing
readmission rates, suicide and referral to higher institutions. A qualitative method was
applied for data collection, including document research, in-depth interviews, small group
meetings and participatory and non-participatory observations. Data were collected between
September 1, 2007 and January 30, 2008.
The study revealed that the psychiatric patient care system in the community was
established with community participation. Changes were noted from the time when there
were no services in the communities, poor drug compliance and no continuity of care, all
of which resulted in readmission, to a time when a community participation psychiatric
patient care system had been established. The development process included increased
community awareness and understanding of the situation and facilitation of all community
sectors to participate in identifying problems and causes of the problems, planning
for appropriate interventions to help psychiatric patients, families and communities in
line with a proactive policy for continuity of care. A community health committee was
established with the financial support of the local administration organization. The committee
organized a training workshop for volunteers to improve their knowledge, attitudes
and skills in caring for and counseling those with special needs. These volunteers
made monthly home visits to support the psychiatric patients and identify new cases.
Capacity-building training for patients and their families was organized. Both patients
and their families were helped and supported in joining community activities. The development
resulted in reducing drug non-compliance; there were no suicides and the number
of patients referred to specialized hospitals was reduced. As a resalt, the volunteers
as well as the community had knowledge and better attitudes towards psychiatric patients.