• ไทย
    • English
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • ไทย 
    • ไทย
    • English
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ระบบสุขภาพแบบพื้นบ้านและระบบสุขภาพแบบประชาชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยกลางคนในสังคมและวัฒนธรรมภาคใต้

สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง; Sawittree Limchaiarunruang;
วันที่: 2543
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยการพัฒนาระบบทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยกลางคน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบสุขภาพแบบพื้นบ้านและระบบสุขภาพแบบประชาชนในชุมชนเขตเมืองและชนบทจังหวัดสงขลา ผู้ให้ข้อมูลเป็นสตรีวัยกลางคน อายุ 40-59 ปี ที่อยู่อาศัยในเขตเมือง ที่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 17 ราย เป็นไทยมุสลิม จำนวน 15 ราย ในเขตชนบท เป็นไทยพุทธจำนวน 15 ราย รวม 62 ราย เป็นผู้ให้บริการคือ หมอพื้นบ้านและสตรีที่กลุ่มสตรีวัยกลางคนอ้างถึง จำนวน 4 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การบันทึกภาคสนาม ระหว่างมิถุนายน-ธันวาคม 2542 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลสรุปได้ดังนี้ สตรีวัยกลางคนอายุ 40-59 ปี ที่อาศัยในเขตเมือง กลุ่มนับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสคู่ ประกอบอาชีพค้าขายอาหาร ส่วนสตรีไทยพุทธมีความหลากหลายในการประกอบอาชีพ อาทิ ทำสวนยาง แม่บ้าน รับจ้าง ค้าขาย สตรีที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยาง เมื่อให้สตรีประเมินภาวะสุขภาพตนเอง พบว่า ประมาณ 2 ใน 3 ของสตรีทั้งหมดตอบว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรงดี แต่ไม่แข็งแรงเหมือนตอนสาวๆ ทั้งนี้ โดยเปรียบเทียบกับคนวัยเดียวกันด้านความสามารถในการทำงานได้โดยไม่เจ็บไม่ไข้ การส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยกลางคน พิจารณาได้เป็น 3 แนวทาง ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพที่จัดขึ้นโดยภาครัฐและเอกชนที่เป็นระบบสุขภาพแผนใหม่ แผนเดิม หรือพื้นบ้านและตามแบบของประชาชน ซึ่งมีความหลากหลายและบางครั้งมีการผสมผสาน การส่งเสริมสุขภาพแบบประชาชน สตรีวัยกลางคนดูแลส่งเสริมสุขภาพของตนตามการรับรู้ที่ได้จากความรู้ทางการแพทย์แผนใหม่และแบบพื้นบ้านผสมผสานกันอย่างลงตัวตามสถานการณ์ของชีวิตและชุมชน อย่างไรก็ตาม สตรีกลุ่มนี้เกือบทั้งหมดมีความคิดเห็นและความต้องการให้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตั้งอยู่ในชุมชนเป็นสัดเป็นส่วนและถาวรที่จะเข้าร่วมกิจกรรมได้สะดวกข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกำหนดนโยบาย ฟื้นฟูการแพทย์แผนไทยหรือแบบพื้นบ้าน กำหนดมาตรการ การนำและให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพแบบพื้นบ้านในชุมชนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพขยายแหล่งความรู้ ได้แก่ โรงเรียนแพทย์พื้นบ้าน หรือบรรจุความรู้เหล่านี้ลงในหลักสูตรสำหรับนักเรียน นักศึกษาระดับต่างๆ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0867.PDF
ขนาด: 2.031Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

แจ้งปัญหาการดาวน์โหลด | คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 185
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [1898]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อจัดทำข้อเสนอ การปฎิรูประบบบริการสุขภาพ และการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย 

    วรรณภา ศรีธัญรัตน์; Wannapa Srithanyarat; ผ่องพรรณ อรุณแสง; อัมพร เจริญชัย; สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ; กัลยา พัฒนศรี (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    เอกสารนี้นำเสนอผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย ในกระบวนการสังเคราะห์ได้มีการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพและหลักประกันส ...
  • เรียนรู้จากบทเรียนของผู้ร่วมเส้นทาง : รวมบทคัดย่อผลงาน R2R เล่มที่2 ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to reaearch) R2R : เพิ่มคุณค่า พัฒนาคนพัฒนางาน กลุ่ม3 โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลเอกชน กลุ่ม4 โรงเรียนแพทย์/มหาวิทยาลัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 

    วิจารณ์ พานิช; พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข; จรวยพร ศรีศศลักษณ์; สมพนธ์ ทัศนิยม; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะแพทยศาสตร์ (แผนงานพัฒนาเครือข่ายวิจัยในรูปแบบงานวิจัยจากงานประจำสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2009-07)
  • เรียนรู้จากบทเรียนของผู้ร่วมเส้นทาง : รวมบทคัดย่อผลงาน R2R เล่มที่1 ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to reaearch) R2R : เพิ่มคุณค่า พัฒนาคนพัฒนางาน กลุ่ม1สถานีอนามัย/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ กลุ่ม2 โรงพยาบาลชุมชน 

    วิจารณ์ พานิช; พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข; จรวยพร ศรีศศลักษณ์; สมพนธ์ ทัศนิยม; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะแพทยศาสตร์; สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (แผนงานพัฒนาเครือข่ายวิจัยในรูปแบบงานวิจัยจากงานประจำสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2009-07)

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [408]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [73]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [243]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [54]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [105]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [899]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [183]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [26]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [16]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV