• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย

ชัชวาลย์ ฤทธิ์ฐิติ; Chatchawal Ritthiti;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานตามความคิดเห็นของผู้ป่วยเบาหวานในเขตอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโซ่พิสัย จำนวน 400 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใช้ไฆ-สแควร์ และวิเคราะห์ระดับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน จากการวิจัยพบว่าการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตามความคิดเห็นของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อทำการวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่าด้านที่ผู้ป่วยเบาหวานมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองมากที่สุด คือ การควบคุมอาหาร รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการออกกำลังกาย และการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน ส่วนด้านที่มีส่วนร่วมน้อยที่สุดคือ การดูแลเท้า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร กับการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง พบว่า เพศไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโดยรวม เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านไม่พบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในทุกด้าน อายุไม่พบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านไม่พบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในทุกด้าน ระดับการศึกษาพบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองโดยรวม เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่พบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ได้แก่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน รายได้ไม่พบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโดยรวม เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านไม่พบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในทุกด้าน อาชีพพบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่พบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ได้แก่ ด้านการควบคุมอาหาร ปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร พบความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโดยรวม เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในทุกด้าน

บทคัดย่อ
The purpose of this research was to study the level of self-care participation of diabetes patients according to the opinions of those patients in Sophisai District, Nongkhai Province, and to study the factors of the correlation and self-care participation. The sample included 400 diabetes patients who had been registered by Sophisai Hospital and cured. A survey questionnaire was administered to the participants. The study utilized the SPSS program, with statistics on percentage, mean and standard deviation, including the chi-square for correlation with normal scale and interval scale factors and utilized the Cramer ’s V coefficient for ratio scale. The results of the study showed that the self-care participation of diabetes patients according to their opinion was at the medium level. The analysis of sectors found that the most common self-care participation of diabetes patients was diet; the next were exercise and self-care participation in daily life. The least common form of participation was foot care. The correlation between the factors related to personal characteristics, economics and social aspects and self-care participation found that: there was no correlation for sex in the self-care participation of diabetes patients as a whole nor was there any correlation with participation in every side when considering sectors. There was no correlation in age for the self-care participation of diabetes patients, nor was there any correlation with the participation when considering sectors. There was correlation in education for self-care participation as a whole; when considering sectors, but there was correlation with participation, namely diet, exercise and selfcare in daily life. There was no correlation in income for self-care participation of diabetes patients as a whole, nor was there any correlation with participation in considering sectors. There was correlation in occupation for the self-care participation of diabetes patients, when considering the sectors; the correlation with was in diet. There was correlation in the factors of receiving information about self-care participation as a whole, and there was correlation with participation in every aspect when considering sectors. The study would be applied in planning for good-quality services, supporting the diabetes patients for self-care participation, emphasizing communication. Providing knowledge, giving health information through the targets, building leaders who acknowledge and are able to be the primary person in self-care participation and able to transfer information to the members or the diabetes patient group.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n2 ...
ขนาด: 129.5Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 54
ปีพุทธศักราชนี้: 28
รวมทั้งหมด: 996
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV