• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ประมาณการค่าใช้จ่ายของชุดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานทางสาธารณสุข สิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานครอบคลุมบริการการแพทย์ทุกอย่างที่ให้แก่ ผู้ที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูล

ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย; Supasit Pannarunothai; ประดิษฐ์ วงษ์คณารัตนกูล;
วันที่: 2539
บทคัดย่อ
ประมาณการค่าใช้จ่ายของชุดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานทางสาธารณสุขสิทธิประโยชน์ ขั้นพื้นฐานครอบคลุมบริการการแพทย์ทุกอย่างที่ให้แก่ ผู้ที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูลวัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งภาครัฐและ เอกชน จากการกำหนดสิทธิ-ประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ครอบคลุมบริการการแพทย์ที่ ปัจจุบันภาครัฐให้แก่ผู้ที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูลและขยายให้ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ ผลการศึกษาพบว่า ประมาณการค่าใช้จ่ายของชุดสิทธิประโยชน์พื้นฐานทางสาธารณสุขจาก บริการการแพทย์ที่ให้แก่ผู้ที่สังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูล ในปัจจุบัน รัฐสามารถขยายหลักประกันนี้ให้ครอบคลุมประชาชนทุกคน เพื่อสร้างความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ได้ดังนี้ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชากรประมาณร้อยละ 70 ของประชากรทั้งประเทศ โดยไม่ต้องรบกวนกลุ่มประชาชนที่มีหลักประกันดีอยู่แล้ว เช่น สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม ชุดสิทธิประโยชน์ ได้แก่ บริการการแพทย์ทุกประการที่แพทย์/ผู้ประกอบเวชแฏิบัติมีความเห็นว่า จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย โดยผู้มีบัตรสวัสดิการประชาชนมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาประมาณ ร้อยละ 5-10 ของค่ารักษาพยาบาล และผู้ที่ไม่มีบัตรสวัสดิการใด ๆ ต้องมีส่วนร่วมในการจ่าย ร้อยละ 10-20 ของค่ารักษาพยาบาล อาจจัดระบบบริการให้เป็นสภาพที่พึ่งได้ โดยการบริหารงานลักษณะของผู้ซื้อบริการจากเครือข่ายการให้บริการของกระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย หรือภาคเอกชนหรือโดยแบ่งงบประมาณออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้เกิด Primary care กับอีกส่วนที่เป็นการรักษาในโรงพยาบาล วิธีการที่เป็นไปได้ในงบประมาณขั้นต่ำ คือ จัด Primary care ที่มีเครือข่ายของภาคเอกชนและจำกัดการใช้บริการผู้ป่วยใน เฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ งบประมาณที่ต้องการอยู่ระหว่าง 4-7 หมื่นล้านบาท(ตามราคาปี 2538) หมายถึงงบประมาณที่รวมต้นทุนทุกอย่างของการให้บริการ ตั้งแต่ค่าวัสดุ จนถึงเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าลงทุนต่าง ๆ หากเป็นดังนี้ หมายถึง การเปลี่ยนวิธีการงบประมาณสาธารณสุขใหม่หมด โรงพยาบาลจะบริหารงานด้วยงบเริ่มต้นเป็น 0(Zero budget) และได้เงินทุนอุดหนุนมากขึ้น ตามผลงานการให้บริการ ส่วนงบประมาณ primary care สามารถจัดให้ล่วงหน้าตามจำนวนประชากรที่รับผิดชอบได้ งบประมาณดังกล่าวอยู่ในความสามารถของรัฐที่สามารถดำเนินการได้โดย การสร้างกลไกการบริหารงบประมาณ และการจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ ส่วนความเต็มใจของรัฐที่จะสร้างหลักประกัน อยู่ที่รัฐให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม ด้านการคลังสาธารณสุขเพียงใด
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0043.pdf
ขนาด: 1.827Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 72
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2486]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1292]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV