แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนภาคกลาง

dc.contributor.authorวชิรา กสิโกศลth_TH
dc.contributor.authorWachira Kasikoosolen_US
dc.contributor.authorวันทนา มณีศรีวงศ์กูลth_TH
dc.contributor.authorสมพร โชติวิทยธารากรth_TH
dc.contributor.authorสุนทรี ภานุทัตth_TH
dc.contributor.authorเฉลิมศรี นันทวรรณth_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:58Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:41:21Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:58Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:41:21Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs1009en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1638en_US
dc.description.abstractในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ได้มีการจัดบริการสุขภาพในรูปแบบต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ซึ่งเป็นบริการที่อยู่ใกล้บ้าน อยู่ในชุมชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ลดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ และให้ประชาชนมีสุขภาพดีซึ่งก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ประชาชนมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อลดลง แต่กลับไปป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ ตลอดจนถึงโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ระบบบริการที่มีอยู่นี้ยังไม่ครอบคลุมประชาชนทุกระดับอย่างทั่วถึง มีความไม่เท่าเทียมกัน ขาดความสมดุลในการจัดสรรบุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ที่เพียงพอและมีคุณภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนี้จึงต้องการการปฏิรูปเพื่อให้ได้ระบบที่สามารถดูแลสุขภาพของประชาชนได้อย่างครอบคลุม มีคุณภาพ เป็นระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ เหมาะสมกับคนไทยทั้งประเทศ พยาบาลเป็นบุคลากรที่สำคัญในการทำให้การปฏิรูประบบบริการสุขภาพประสบความสำเร็จได้ส่วนหนึ่ง สภาการพยาบาลโดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับพยาบาลในการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน โดยทำการศึกษาในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการศึกษาในชุมชนภาคกลาง โดยได้ทำการศึกษาชุมชนเมืองกึ่งอุตสาหกรรม ชุมชนเมืองกึ่งชนบท และชุมชนชนบทเกษตรกรรม การวิจัยได้แบ่งการดำเนินการหลายขั้นตอน โดยเริ่มจากศึกษารูปแบบของการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่มีอยู่ในปัจจุบันของภาคกลาง ต่อจากนั้นจึงเป็นการศึกษาความต้องการและความคาดหวังเกี่ยวกับบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของชุมชนในพื้นที่ที่ศึกษาภาคกลางทั้งโดยวิธีการเชิงคุณภาพและปริมาณ การสะท้อนความคิดของชุมชนเกี่ยวกับรูปแบบของระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ การระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อสรุปหารูปแบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและทำประชาพิจารณ์กับตัวแทนกลุ่มประชาคมสุขภาพเพื่อร่างรูปแบบที่เหมาะสมกับชุมชนภาคกลางและนำไปสู่การทดลองปฏิบัติต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectกรุงเทพมหานครen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนภาคกลางth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Primary Care System at Community Levelen_US
dc.identifier.callnoW84.6 ว153ก 2544en_US
dc.identifier.contactno44ค036en_US
dc.subject.keywordบริการปฐมภูมิen_US
dc.subject.keywordบริการสุขภาพen_US
.custom.citationวชิรา กสิโกศล, Wachira Kasikoosol, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, สมพร โชติวิทยธารากร, สุนทรี ภานุทัต and เฉลิมศรี นันทวรรณ. "การพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนภาคกลาง." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1638">http://hdl.handle.net/11228/1638</a>.
.custom.total_download193
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year16
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1009.pdf
ขนาด: 1.283Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย