• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาชุดเครื่องมือวัดความเป็นธรรมทางสุขภาพโดยอาศัยกลไกประชาคม

พินิจ ฟ้าอำนวยผล; Pinij Faramnuayphol; ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย;
วันที่: 2545
บทคัดย่อ
การขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ จำเป็นต้องอาศัยพัฒนาการด้านองค์ความรู้ที่นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำพาระบบสุขภาพไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ได้ ด้านหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพให้ความสำคัญกับประเด็นด้านประสิทธิภาพ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม การรักษาซึ่งสมดุลของประเด็นทั้ง 2 เป็นสิ่งที่จะมองข้ามมิได้ ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งย่อมจะมีผลกระทบกับอีกประเด็นหนึ่ง หากไม่ได้รับการคำนึงถึงอย่างรอบคอบ ดังนั้น ในด้านของการออกแบบระบบ จึงจำต้องยกระดับเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายขององค์ประกอบต่างๆ ของระบบสุขภาพ และในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาความสมดุลระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบสุขภาพเอาไว้ให้ได้ จึงจะนับได้ว่าเป็นระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ ในด้านของความเป็นธรรมทางสุขภาพ (Fairness in health) เป็นเป้าหมายหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยมิติย่อยหลายมิติด้วยกัน อาทิเช่น ความเป็นธรรมด้านสถานะสุขภาพ ความเป็นธรรมด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพ ความเป็นธรรมด้านการใช้บริการสุขภาพ และความเป็นธรรมด้านการจ่ายเงิน มิติต่างๆ ดังกล่าวมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน และเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ ที่แวดล้อมระบบบริการสุขภาพ ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยมากมายที่ทำให้สังคมขาดความเป็นธรรม แต่ว่าการออกแบบระบบสุขภาพที่ดีก็จะช่วยลดความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพดังกล่าวได้ หากมีการจัดการที่นำไปสู่การกระจายทรัพยากรสุขภาพที่เป็นธรรม และมีระบบบริการที่เน้นความเสมอภาคของประชาชน ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าติดตามและประเมินเพื่อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบจากการปฏิรูประบบสุขภาพในระยะเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินความเป็นธรรมดังกล่าวด้วย ประเด็นความเป็นธรรมทางสุขภาพมีวิธีการประเมินที่หลากหลาย สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ใช้ชุดดัชนีประเมินความเป็นธรรมของการปฏิรูประบบสุขภาพ (Benchmarks of fairness) ที่มีองค์ประกอบที่ค่อนข้างกว้าง ครอบคลุมประเด็นด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ ความมีส่วนร่วม และความอิสระของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดบูรณาการของการประเมินด้านความเป็นธรรม ในเอกสารรายงานผลการวิจัยฉบับนี้จะประกอบด้วย เนื้อหาทั้งหมด 10 บท โดยในบทที่ 1 จะเกริ่นนำถึงความสำคัญและความหมายของความเป็นธรรม รวมทั้งสถานการณ์ความไม่เป็นธรรมในระบบสุขภาพ บทที่ 2 จะกล่าวถึงองค์ประกอบของความเป็นธรรมทางสุขภาพที่ใช้ในการศึกษานี้ รวมทั้งประสบการณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความเป็นธรรมทางสุขภาพ บทที่ 3 ถึง 6 จะนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ความเป็นธรรมทางสุขภาพจากเครื่องมือเชิงปริมาณ บทที่ 7 เป็นการนำเสนอข้อมูลความเป็นธรรมจากเครื่องมือเชิงคุณภาพที่ได้จากประชาคม 10 จังหวัด บทที่ 8 เป็นการวิเคราะห์ภาพรวมของความเป็นธรรมทางสุขภาพ บทที่ 9 เป็นข้อเสนอแนะเชิงระบบจากข้อมูลความเป็นธรรมทางสุขภาพ และบทที่ 10 เป็นการอภิปรายและสรุปผล การศึกษาครั้งนี้เป็นหนึ่งในหลายๆ ความพยายามที่อยากจะเห็นระบบสุขภาพที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทุกคนมีสุขภาพที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0948.pdf
ขนาด: 11.13Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

แจ้งปัญหาการดาวน์โหลด | คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 119
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2189]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [528]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [86]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [272]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [89]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [129]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1095]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [207]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [19]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV