• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับงานสาธารณสุขในประเทศไทย

กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์; Krisada Ruangareerat;
วันที่: 2541
บทคัดย่อ
แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานสาธารณสุขในประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงาน สาธารณสุขในประเทศไทย เป็นการทบทวนและศึกษาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขในต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับการพัฒนาในประเทศไทย และเสนอกรณีตัวอย่างการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานสาธารณสุขจำนวนมากและรัฐบาลปล่อยอิสระในการพัฒนา แต่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐาน ซึ่งบางหน่วยงานเป็นองค์กรรัฐบาลและบางส่วนเป็นองค์กรอิสระ ในหน่วยงานประเภทโรงพยาบาลมีการใช้งานในโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยมีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในงานบริการ รักษาพยาบาล งานด้านการบริหารงาน ด้านการวิจัยและงานด้านธุรการ และให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลต่าง ๆ และหน่วยงานประกันสุขภาพอื่น ๆ ตามมาตรฐานของ HL-7 ในหน่วยงานด้านประกันสุขภาพมีการใช้งานส่วนใหญ่ในกระบวนการจ่ายาชดเชย ระหว่างผู้ให้บริการการรักษาพยาบาลและผู้จ่ายค่าตอบแทนการบริการ (บริษัทประกันภัยและหน่วยงานของรัฐ) นอกจากนี้ยังมีบริการอื่น ๆ เช่น การตรวจสอบข้อมูลสิทธิของผู้มารับบริการจากฐานข้อมูลกลาง ในประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไปอย่างรวดเร็ว มีการกำหนดนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากรด้านสารสนเทศ มีการพัฒนาการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย มีการจัดสร้างเครือข่ายสารสนเทศภาคธุรกิจและเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ แต่ยังขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากผู้บริหารประเทศ การพัฒนาส่วนใหญ่เกิดจากการพัฒนาโดยภาคเอกชน ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแผนแม่บทการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศปี 2540-2544 เพื่อใช้สำหรับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดสร้างระบบการแพทย์ทางไกลผ่านดาวเทียมและมีการพัฒนาระบบสารสนเทศในหน่วยงานในระดับจังหวัด ตั้งแต่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย จากการศึกษาผู้วิจัยได้เสนอประเด็นเพื่อการพิจารณาดังนี้ 1.ควรมีการจัดตั้งองค์กรมาตรฐานด้านสาธารณสุขเพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาและ ประสานงานเพื่อให้มีมาตรฐานของระบบข้อมูลและมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.ควรมีการพิจารณาและผลักดันให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศตามแผนแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศกระทรวงสาธารณสุข ปี 2540-2544 อย่างจริงจัง 3.ควรมีการสนับสนุนให้มีการศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล และสนับสนุนให้เกิดกระบวนการวิเคราะห์ระบบอย่างถูกต้องในโรงพยาบาล 4.ควรมีการสนับสนุนการประสานงานเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันของเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างองค์กรภาครัฐด้วยกันและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0314.pdf
ขนาด: 5.361Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 8
ปีพุทธศักราชนี้: 4
รวมทั้งหมด: 679
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2470]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1282]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV