• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในส่วนของการประกันสุขภาพ

ศรชัย เตรียมวรกุล; Sornchai Thiemworakul;
วันที่: 2545
บทคัดย่อ
ในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลได้ผลักดันพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 บังคับใช้เพื่อให้เจ้าของรถทุกคันต้องร่วมรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุจากรถที่อาจจะเกิดขึ้น โดยกำหนดให้รถทุกคันต้องตัดให้มีการประกันภัยต่อความเสียหายในร่างกาย ชีวิต และอนามัยของผู้ประสบภัยจากรถ นอกจากนี้เพื่อไม่ให้ปัญหาเรื่องการเงินเป็นอุปสรรคต่อการรับผู้ประสบภัยเข้าทำการรักษาพยาบาล จึงให้มีการจัดตั้งกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อทำหน้าที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด ให้แก่สถานพยาบาลตามแต่กรณีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าว ภายหลังการบังคับใช้พบว่า ผู้ประสบภัยมีปัญหาในการขอรับค่าความเสียหาย มีขั้นตอนยุ่งยาก เกิดความล่าช้า หรือบางครั้งถูกปฏิเสธการจ่าย ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดข้อสงสัยถึงกลไกการทำงานภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีโครงการที่ให้หลักประกันสุขภาพ เช่น โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท รักษาทุกโรค สวัสดิการข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ กองทุนประกันสังคม เป็นต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้ให้ความคุ้มครองครอบคลุมถึงกรณีการประสบอุบัติเหตุจากรถเช่นกัน ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน ในทางปฏิบัติพบว่า ความซ้ำซ้อนของสิทธิประโยชน์จากโครงการต่างๆ เป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ประสบภัยมีพฤติกรรมเลือกการใช้สิทธิที่ให้ประโยชน์สูงสุด หรือ ไม่เลือกใช้สิทธิที่ไม่สะดวก ทำให้เกิดปัญหาการเบิกจ่ายค่าความเสียหาย การใช้สิทธิผิดประเภท และความซ้ำซ้อนของโครงการ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างการดำเนินงานให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ บทบาทและผลการดำเนินงานของผู้ให้ความคุ้มครอง และพฤติกรรมของผู้ประสบภัยจากรถในการขอรับความคุ้มครองภายใต้ พรบ.คุ้มครองฯ 2. เพื่อนำเสนอแนวทางการให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และความเหมาะสมของสถานะการดำรงอยู่ของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ว่าควรจะดำเนินการภายใต้รูปแบบปัจจุบันหรือโอนเงินสมทบไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อเสนอ หรือแนวทางอื่นที่อาจจะเหมาะสมกว่าทางเลือกทั้งสอง
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0932.pdf
ขนาด: 1.242Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 4
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 28
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2483]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV