• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

บทเรียนจากการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมพลังผู้บริโภคในภาคเหนือ

เล็ก สมบัติ; Lek Sombat;
วันที่: 2549
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทเรียนจากการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคในภาคเหนือโดยการศึกษาพัฒนาการและปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการก่อตัวของกลุ่มที่ดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างพลังผู้บริโภค ศึกษาปรัชญา การทำงาน รูปแบบ กระบวนการจัดการองค์การ กลไก และแนวทางการทำงานของกลุ่ม เพื่อสังเคราะห์บทเรียนและข้อเสนอในการดำเนินการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคในภาคเหนือ ใช้วิธีการศึกษาโดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่ดำเนินงานด้านการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคในภาคเหนือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการกำหนดประเด็นและพรรณนาข้อมูลเพื่อนำเสนอตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ผลการศึกษา การดำเนินการของกลุ่มที่ดำเนินงานด้านการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคทั้ง 5 กลุ่มได้แก่ 1) ชมรมผู้ประกอบการร่วมใจใส่ใจผู้บริโภค อำเภอแม่ริม จังหวัดน่าน ที่ตระหนักในความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการสนับสนุนให้กลุ่มผู้ประกอบการเข้ามาร่วมเป็นพลังในการคุ้มครองผู้บริโภค 2) ชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดภัย จังหวัดพิจิตร ที่มีความพอเพียงและมีการสรุปบทเรียนอย่างมีระบบและจัดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชนและสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางความคิดที่ยั่งยืน 3) เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่พัฒนากิจกรรมให้เกิดเป็นพลังของกลุ่ม พลังทางสุขภาพ และพลังทางสังคม จนเกิดเป็นเครือข่ายจากระดับปัจเจกสู่ระดับประเทศ เกิดภาคีความร่วมมือเพื่อการแก้ไขปัญหาของสังคมในที่สุด 4) กลุ่มเครือข่ายสิทธิผู้ป่วย อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นการรวมพลังของกลุ่มผู้ประสบปัญหาสุขภาพจากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่ต่อรองให้ได้รับการดูแลด้านสุขภาพและให้ได้รับสิทธิอันพึงมีพึงได้จากการสูญเสียที่เกิดขึ้น 5) ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค จังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเท่าทัน ผ่านพลังสตรีในครอบครัวและในชุมชนแล้วสร้างเครือข่ายความร่วมมือไปสู่เด็ก เยาวชนในโรงเรียนและกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน กล่าวโดยสรุปบทเรียนจากการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคในภาคเหนือเกิดจากการที่ประชาชนประสบปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ความยากจน การถูกละเมิดสิทธิ เป็นต้น โดยสาเหตุของปัญหามาจากการกำหนดนโยบายการพัฒนาภาครัฐ ที่เน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาด้านสังคม ดังนั้นการดำเนินการของภาคประชาชนจึงเป็นลักษณะการขยายตัวอย่างช้าๆ ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืน
ฉบับเต็ม

ขออภัย ไม่มีไฟล์ Full Text ติดต่อ 0 2027 9701 ต่อ 9038


จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 0
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV