• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภาษีสรรพสามิตบุหรี่

อิศรา ศานติศาสน์; Isra Sarntisart;
วันที่: 2538
บทคัดย่อ
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภาษีสรรพสามิตบุหรี่ งานวิจัยนี้ วิเคราะห์พฤติกรรม ของผู้บริโภคสิ่งเสพติดต่างๆ โดยแยกผู้บริโภคออกเป็น 12 กลุ่ม วิเคราะห์อุปสงค์ของสินค้า 4 ประเภทคือ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ สินค้าอื่นๆโดยมุ่งทำการประมาณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายจ่ายรวมเพื่อการบริโภค ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าแต่ละชนิดและค่าความยืดหยุ่นไขว้ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น ทำการประมาณค่าอัตราการทดแทนกัน ระหว่างผลิตภัณฑ์ยาสูบถูกกฎหมาย และบุหรี่นำเข้าหนีภาษี ทำการวิเคราะห์ผลกระทบ ต่อรายได้จากภาษีสรรพสามิต และอัตราภาษีที่จะให้รายได้จากภาษีสูงสุด แนวทางสำหรับการบริหารรายได้จากภาษีสรรพสามิตบุหรี่ ประเด็นอื่นๆ อีกหลายประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายราคาบุหรี่ และที่สำคัญ ได้เสนอแนวคิดและทำการประมาณค่าความยืดหยุ่นของการเป็นผู้สูบบุหรี่ขึ้นมา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ในภาพรวมแล้วสิ่งเสพติดต่างๆ มีค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค และความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งแสดงว่า การขึ้นราคาโดยผ่านทางอัตราภาษีสรรพสามิตบุหรี่ จะทำให้ปริมาณการสูบบุหรี่ลดลงเพียงเล็กน้อยและรายได้ที่รัฐจะได้จากภาษีสรรพสามิตบุหรี่เพิ่มขึ้น การขึ้นอัตราภาษีแม้จะทำให้ผู้บริโภคบางรายหันไปซื้อบุหรี่นอกหนีภาษีมาสูบเป็นการทดแทนกัน แต่อัตราการทดแทนก็อยู่ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งแสดงว่าการขึ้นราคาโดยผ่านทางอัตราภาษีสรรพสามิตบุหรี่ จะให้ปริมาณการสูบบุหรี่ลดลงเพียงเล็กน้อยและรายได้ที่รัฐจะได้จากภาษีสรรพสามิตบุหรี่เพิ่มขึ้น การขึ้นอัตราภาษี นี้แม้จะทำให้ผู้บริโภคบางราย หันไปซื้อบุหรี่นอกหนีภาษีมาสูบเป็นการทดแทนกัน แต่อัตราการทดแทนก็อยู่ในระดับที่ต่ำมากและเนื่องจากผลกระทบต่ออุปสงค์มีอยู่ในระดับที่ต่ำดังกล่าวมาแล้ว ผลกระทบต่อเนื่องต่อการจ้างงาน และภาคการผลิตใบยาสูบ และผลิตภัณฑ์ยาสูบจึงไม่รุนแรง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากความจริงที่ว่า ภาคการผลิตดังกล่าวเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของระบบเศรษฐกิจเท่านั้น รัฐจงน่าจะสามารถนำเอานโยบายราคามาควบคุมปริมาณการสูบบุหรี่ได้ต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0185.PDF
ขนาด: 2.058Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 340
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV