• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ระบบกลไก และประสิทธิภาพของสถานเลี้ยงดูเด็กของภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย

อุทุมพร จามรมาน; Utumporn Chamornman; จีระพันธุ์ พูลพัฒน์; โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาสถานเลี้ยงดูเด็กในประเทศไทย;
วันที่: 2544
บทคัดย่อ
ระบบ กลไก และประสิทธิภาพ ของสถานเลี้ยงดูเด็กของภาครัฐ และเอกชนในระเทศไทย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปคือ เพื่อศึกษาระบบ กลไกและประสิทธิภาพของสถานเลี้ยงดูเด็กของภาครัฐและเอกชนในปัจจุบัน และมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อศึกษาว่าระบบและกลไกในโรงเรียนอนุบาล/ศูนย์/สถานเลี้ยงดูเด็ก มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพหรือไม่ สถานศึกษาดังกล่าวของภาครัฐและเอกชนมีระบบ กลไก ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่างกันมากน้อยเพียงใด การวิจัยนี้มี 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการสำรวจข้อมูลในระดับกว้าง ซึ่งสุ่มจากโรงเรียนอนุบาล/สถานเลี้ยงดูเด็ก/ศูนย์เด็กทั่วประเทศ ได้ 149 โรง ในจังหวัดต่างๆ 6 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น ชลบุรี และลพบุรี ทำการรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารหน่วยงานในกรุงเทพฯ 18 คน และผู้บริหารโรงเรียนอนุบาล/สถานเลี้ยงดูเด็ก/ศูนย์เด็ก 149 คน สอบถามด้วยแบบสอบถาม ครู/ผู้ดูแลเด็ก 776 คน ผู้ปกครอง 2,073 คน ได้ผลสรุปเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการ ความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบ กลไก และผลดำเนินงาน ตลอดจนคุณภาพของเด็ก การรวบรวมข้อมูลระยะที่สอง เป็นการเจาะลึกเฉพาะ 19 โรง ใน 2 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ กับ ลพบุรี โดยรวบรวมข้อมูลด้านการเงินจากโรงเรียน สัมภาษณ์ผู้บริหาร 19 คน สอบถามด้วยแบบสอบถาม ครู/ผู้ดูแลเด็ก 195 คน และผู้ปกครอง 842 คน ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับระบบ กลไก ประสิทธิผล ค่าใช้จ่าย และ ประสิทธิภาพ ดังนี้ 1. ในภาพรวม ผลวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้บริหารโรงเรียน/สถานเลี้ยงดูเด็ก/ศูนย์เด็ก จำนวน 149 แห่งทั่วประเทศ พบว่า มีนโยบายและวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็ก ในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ลพบุรี และชลบุรี จะเน้นที่การเตรียมความพร้อม ส่วนที่กรุงเทพฯ และสงขลา จะเน้นที่การส่งเสริมพัฒนาการเป็นหลัก ในการจัดการเรียนการสอน ถ้าเป็นโรงเรียนอนุบาลจะอิงหลักสูตรของ สปช. หรือ สช. ใช้การรับเข้าไม่จำกัดจำนวน ยกเว้นที่จังหวัดลพบุรี การวัด-ประเมินผลใช้การสังเกตเป็นหลัก การแก้ปัญหาเด็กอาศัยความร่วมมือกับผู้ปกครอง ส่วนใหญ่ขาดแคลนสื่อ อุปกรณ์ ยกเว้นจังหวัดสงขลา ในด้านจำนวนครู/ผู้ดูแลเด็กมีจำนวนเพียงพอแต่ขาดคุณภาพ ซึ่งจำนวนหนึ่งไม่ได้จบมาโดยตรงและยังคงมีปัญหาเรื่องการประสานกับชุมชน ผลวิเคราะห์ข้อมูลจากครู/ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง พบว่า ครู/ผู้ดูแลเด็กมีลักษณะเด่นคือมีมนุษยสัมพันธ์ มีการเตรียมสอนและมีการสอนที่เป็นระบบ สิ่งที่เป็นปัญหาคือ จำนวนและคุณภาพของครูและผู้ดูแลเด็ก งบประมาณ และการสนับสนุนจากผู้บริหารและผู้ปกครอง 2. ในภาพย่อย 19 แห่ง สรุปได้ว่า (1) ความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบ กลไก และประสิทธิผล จากกรณีศึกษา 19 แห่ง มีผู้ให้ความคิดเห็นว่า 9 แห่ง (ร้อยละ 47.36) มีระบบ กลไก และประสิทธิผลดี (2) การเปรียบเทียบ ระบบ กลไก และประสิทธิผล ระหว่างโรงเรียน/สถานเลี้ยงดูเด็ก/ศูนย์เด็กของรัฐกับเอกชน สรุปได้ว่า ของเอกชนดีกว่ารัฐ โดยเป็นของเอกชน 6 ใน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 66.67 และของรัฐ 3 ใน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 30 (3) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโรงเรียน/สถานเลี้ยงดูเด็ก/ศูนย์เด็กของรัฐกับเอกชน สรุปได้ว่า ของรัฐมีประสิทธิภาพมากกว่าของเอกชน

บทคัดย่อ
The child-center’s system, mechanism, effectiveness and efficiency for both public and private. This research aimed to study the child-center’s system, mechanism, effectiveness and efficiency for both public and private. The research process included a survey of 149 child centers in 6 provinces, namely, Bangkok, Chiengmai, Songkhla, Khonkhaen, Chonburi, and Loburi. The questionnaire was constructed and sent to 776 teachers and teacher-assistants and 2,073 parents. The questions focused on the system, mechanism, effectiveness and efficiency of the centers. The survey results indicated the indept-interview of selected centers. Thus only 19 child-centers of 2 provinces namely, Bangkok and Loburi were chosen due to the complete information and cooperation. The indept-interview of 19 child-center’s administrators, 195 teachers and teacher-assistants and 842 parents were done. The results showed that:only 9 out of 19 selected centers were considered to have good system, mechanism and more effective.more private child-centers tended to have better system, mechanism and effectiveness than those of public ones (6 out of 9 private centers versus 3 out of 10 public centers)more public child-centers tend to have more efficiency than those of private ones.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0772.pdf
ขนาด: 6.525Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 65
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV