• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

โครงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ กรมสามัญศึกษา

นิรันดร์ กระพี้แดง; Nirand Krapeedang; วีระพล จันทร์ศิลา; กุลนรี หาญพัฒนชัยกูร; วิไลวรรณ ชูรัตน์; วิไลลักษณ์ ชูสกุล;
วันที่: 2546
บทคัดย่อ
โครงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดในโรงเรียนขนาดใหญ่ กรมสามัญศึกษาเป้าหมายของโครงการวิจัยนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด ดังนั้น การช่วยเหลือนักเรียนจำเป็นต้องมีเกี่ยวข้องกับคนหลายกลุ่ม ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน โครงการวิจัยนี้ทำการศึกษาในขั้นแรกเท่านั้น คือ การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาจากกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) เริ่มจากการพัฒนานักวิจัยจาก 2 องค์กร คือ อาจารย์จากโรงเรียนและบุคลากรจากศูนย์บำบัดยาเสพติด พร้อมทั้งผู้ช่วยนักวิจัย จากคณาจารย์โรงเรียน โดยเริ่มจากการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่จะใช้เก็บข้อมูล การเก็บข้อมูล การสัมภาษณ์ การทำกลุ่มสนทนา Focus group การจดบันทึกข้อมูล ทุกกระบวนการวิจัย จำเป็นต้องมีการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ พร้อมทั้งมีการทำใหม่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ กระบวนการนี้ใช้เวลาพอสมควร แต่จากกระบวนการวิจัย PAR ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิด ปรับวิธีคิดใหม่ มีมิติการมองปัญหาของนักเรียนที่แตกต่างไปจากเดิม เกิดความรู้สึกที่ดี เข้าใจปัญหาของนักเรียน และพยายามหาทางช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงมากขึ้นนอกจากนั้น นักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย ได้เก็บข้อมูลกับชุมชน ทั้งผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ ทำให้ทั้งอาจารย์และชุมชน ได้มองเห็นปัญหาร่วมกันและพยายามช่วยเหลือกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาของนักเรียน ทั้งๆ ที่ในระยะแรก ทั้งผู้ปกครองมองว่าเป็นหน้าที่ของครูในโรงเรียน และฝ่ายโรงเรียน คณะอาจารย์ก็มองว่าเป็นหน้าที่ของพ่อ แม่ ที่จะต้องรับผิดชอบ หลังจากได้ทำ Focus group แล้ว ทั้งผู้นำชุมชนและผู้ปกครองมีข้อเสนอแนะแนวทางร่วมกัน คือ ต้องทั้งสองฝ่ายที่จะต้องมีกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม แสดงให้เห็นว่าการได้มีการพบปะพูดคุยกัน ทำให้ได้มีการปรับแนวคิด และสร้างความตระหนักและความรับผิดชอบร่วมกันการวิเคราะห์ข้อมูล มีข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการทำกลุ่มสนทนา แต่การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อนำเสนอเป็นรายงานการศึกษาครั้งนี้ เป็นปัญหาสำหรับนักวิจัย เนื่องจากผู้วิจัยขาดประสบการณ์ การวิเคราะห์เนื้อหา ทำให้โครงการล่าช้ากว่ากำหนดข้อเสนอแนะกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ต้องการเวลาในการพัฒนากระบวนการปรับแนวคิดของผู้มีส่วนรับผิดชอบในการแก้ปัญหา จำเป็นต้องให้การสนับสนุนทั้งเวลา เงินทุน ของทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบและแหล่งเงินทุนปัญหานักเรียนกลุ่มเสี่ยงเป็นปัญหาที่รุนแรงเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องขยายผลการศึกษาในระยะแรกนี้นำไปสู่การทำวิจัยในระยะที่สอง ที่เป็นการปฏิบัติตามแนวทางที่ได้จากการวิเคราะห์สถานการณ์ การสนับสนุนทุนวิจัยในระยะที่สอง ควรให้เร่งดำเนินการต่อไป

บทคัดย่อ
Project for potential development of high risk students for drug addiction in a large secondary school of elementary education department The aim of this project is to develop student potential for avoiding drugs taking by involving various groups of people in and outside school. This project is just only first step of all the process. It is just to get present situation and means to solve the problem from the various groups of people. The project started with development of researchers of the two institutes; Khamkaen Nakorn secondary school and DRC in Khon Kaen province. They were learned and practiced how to use PAR for data collection from the PAR experts in Khon Kaen university. From this process, the researchers were changed their idea and concept for solving the problem. They are more positive and more understanding the students’ problem and trying to help them. Data were also collected from parents and community where students live. This process make teachers and community cooperate and coordinate in solving the problem. Previously parents thought that it is not their role and it is teacher’s duty only. After focus group discussion, parents and community understand that they have to work with teachers. They suggested that all should have common activities. From this study it is found that PAR is very important tool in changing the ways of thinking in all groups but it takes time and money. However, the process is still needed to get a suitable development. So the second phase of the project should be developed and launched soon.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0981.pdf
ขนาด: 404.6Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 93
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV