• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

คู่มือทางสังคมและมานุษยวิทยาในงานบริการสุขภาพ

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ; Society and Health Institute;
วันที่: 2547
บทคัดย่อ
เอกสารนี้พยายามนำเสนอแนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์สุขภาพและมานุษยวิทยาการแพทย์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยมีเป้าประสงค์ที่จะเป็นคู่มือเบื้องต้นสำหรับบุคลากรสุขภาพที่ทำงานอยู่ในระบบบริการสาธารณสุขและงานพัฒนาสุขภาพเพื่อที่จะให้เข้าใจถึงมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของสุขภาพความเจ็บป่วย และการแพทย์ นอกเหนือจากแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เหมาะสมสำหรับการใช้ประโยชน์ในการทำงานดังกล่าวแล้ว เอกสารนี้ได้นำเสนอรูปธรรมตัวอย่างที่จะทำให้การเข้าใจมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของสุขภาพนั้นเป็นไปได้โดยง่าย เอกสารนี้ประกอบด้วย 16 บทด้วยกัน ในบทแรกจะอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมสังคมและสุขภาพเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับในบทต่อ ๆ มาในบทที่ 2 อธิบายถึงแนวคิดสุขภาพและกระบวนทัศน์ทางการแพทย์ซึ่งเป็นรากฐานของวิธีคิดที่สังคมใช้ทำความเข้าใจสุขภาพในมิติต่าง ๆ ในบทนี้ยังได้นำเสนอถึงรากฐานทางปรัชญาของการแพทย์ทางชีวภาพและอธิบายถึงความจำเป็นในการที่จะเข้าใจสุขภาพอย่างบูรณาการระหว่างมิติทางชีวภาพ ทางจิตใจและทางสังคม หรือ bio-psycho-social model ไว้ด้วย ในบทที่ 3 เป็นการกล่าวถึงอวัยวะร่างกายและสรีรวิทยาของมนุษย์จากมุมมองและความเข้าใจทางประวัติศาสตร์และทางวัฒนธรรม ความรับรู้ในเรื่องของร่างกาย ทัศนะที่มนุษย์มีต่ออวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนความเข้าใจของท้องถิ่นต่อเรื่องกายวิภาคล้วนแต่มีผลสำคัญต่อวิธีทางที่มนุษยใช้จัดการต่อความเจ็บป่วย ในบทที่ 4 เป็นการสำรวจความรู้กับแนวคิดในเรื่องอาหารโภชนาการและสุขภาพโดยมีการทำความเข้าใจถึงแนวคิดสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการเปลี่ยนแปลงไป ของบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ในบทที่ 5 กล่าวถึงเรื่องของครอบครัวและแบบแผนการเลี้ยงดูลูกซึ่งมีผลต่อสุขภาพ ในบทนี้ได้กล่าวถึงโครงสร้างและระบบเครือญาติในชุมชน การแต่งงาน การตั้งครรภ์และการคลอดบุตรซึ่งเป็นผลลัพธ์ของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นและส่งผลสำคัญต่อสุขภาพด้วย บทที่ 6 นำเสนอมิติทางสังคมและวัฒนธรรม ของการเจ็บป่วยรวมทั้งบทบาทและหน้าที่ของสถาบันทางการแพทย์ในการแก้ปัญหาสุขภาพ บทที่7 นำเสนอเรื่องความหมายทางวัฒนธรรมและวิธีปฏิบัติทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับการใช้ยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาในชุมชนและบริบทของท้องถิ่นที่มีผลต่อการเลือกใช้ยาของชาวบ้านในบทที่ 8 อธิบายถึงมิติทางสังคมวัฒนธรรมของระบบบริการทางการแพทย์และการตรวจรักษา โรคซึ่งอาจจะถือว่าเป็นการเผชิญหน้ากันของวัฒนธรรมชุมชนกับวัฒนธรรมของบุคลากรทางการแพทย์ บทที่ 9 นำเสนอแนวคิดเรื่องการแพทย์แบบพหุลักษณ์และเรื่องเกี่ยวกับการรักษาแบบพื้นบ้านเพื่อความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนรักษาโรคแบบที่หลากหลายที่อยู่ในท้องถิ่น บทที่ 10 ได้นำเสนอถึงแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนาสุขภาพซึ่งในบทนี้ได้มีการกล่าวถึงแนวคิดเรื่องทุนทางสังคมและสุขภาพเอาไว้ด้วย บทที่ 11 สำรวจบทบาทของสื่อรวมทั้งการสื่อสารต่าง ๆ ในการพัฒนาสุขภาพและในการดูแลรักษาโรค บทที่ 12 นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกับเพศสภาวะ บทที่ 13 นำเสนอเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ดีของผู้พิการ บทที่ 14 สำรวจแนวความคิดที่เกี่ยวกับความตายและการตายโดยในบทนี้ได้มีการสำรวจถึงเรื่องของพิธีกรรมและแบบแผนการปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายในวัฒนธรรมต่าง ๆ และบทบาทของสถาบันทางการแพทย์ในกระบวนการสิ้นสุดชีวิตของมนุษย์ไว้ด้วย บทที่ 15 สำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับมิติทางสังคมของเทคโนโลยีทางการแพทย์รวมทั้งแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยี บทสุดท้ายในบทที่ 16 นั้นเป็นการนำเสนอแนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางการแพทย์รวมทั้งได้กล่าวถึงเรื่องโลกาภิวัฒน์และความไม่เท่า เทียมกันทางการแพทย์ด้วยเอกสารชุดนี้ยังอยู่ในระยะของการพัฒนาขั้นต้นและยังจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุง อย่างมากก่อนที่จะสามารถนำไปใช้หรือเผยแพร่ต่อไปในอนาคต
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1240.pdf
ขนาด: 1.362Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 26
ปีพุทธศักราชนี้: 13
รวมทั้งหมด: 1,268
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศพัฒนา 

    อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์; Adisak Plitponkarnpim; กิ่งแก้ว อุดมชัยกุล; จิราวรรณ กล่อมเมฆ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544)
    ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักมีจุดเริ่มต้นจากความพยายามที่ต้องการลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน จากนั้นการพัฒนาได้ขยายการครอบคลุมไปจนถึงการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อยู่ภาวะฉุกเฉิน ...
  • การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของ วิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษา ร้านส่งเสริมเภสัช 

    วราวุธ เสริมสินสิริ; Warawut Sermsinsiri (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    ร้านส่งเสริมเภสัช ตั้งอยู่เลขที่ 255/47 ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณตลาดสดสี่มุมเมือง มีผู้คนสัญจรไปมาคับคั่ง ร้านส่งเสริมเภสัชเป็นร้านขายยาเอกชน เจ้าของรายเดียว เวลาทำการ 7.30 - 20.00 ...
  • การออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 

    มูหาหมัดอาลี กระโด; Muhamadalee Krado; รอซาลี สีเดะ; Rozalee Saredea; วรรณี ปาทาน; Wannee Patan (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-10)
    โครงการวิจัยการออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีความมุ่งหวังให้บุคลากรเห็นความสำคัญของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและสามารถปรับวิธีการทำงาน ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV