dc.contributor.author | สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ | en_US |
dc.contributor.author | Society and Health Institute | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:23:01Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:48:43Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:23:01Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:48:43Z | |
dc.date.issued | 2547 | en_US |
dc.identifier.other | hs1240 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1900 | en_US |
dc.description | ชื่อหน้าปก : โครงการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อสร้างคู่มือทางสังคมและมานุษยวิทยาในงานบริการสุขภาพ | en_US |
dc.description.abstract | เอกสารนี้พยายามนำเสนอแนวคิดและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์สุขภาพและมานุษยวิทยาการแพทย์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยมีเป้าประสงค์ที่จะเป็นคู่มือเบื้องต้นสำหรับบุคลากรสุขภาพที่ทำงานอยู่ในระบบบริการสาธารณสุขและงานพัฒนาสุขภาพเพื่อที่จะให้เข้าใจถึงมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของสุขภาพความเจ็บป่วย
และการแพทย์ นอกเหนือจากแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เหมาะสมสำหรับการใช้ประโยชน์ในการทำงานดังกล่าวแล้ว เอกสารนี้ได้นำเสนอรูปธรรมตัวอย่างที่จะทำให้การเข้าใจมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของสุขภาพนั้นเป็นไปได้โดยง่าย เอกสารนี้ประกอบด้วย 16 บทด้วยกัน ในบทแรกจะอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมสังคมและสุขภาพเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับในบทต่อ ๆ มาในบทที่ 2 อธิบายถึงแนวคิดสุขภาพและกระบวนทัศน์ทางการแพทย์ซึ่งเป็นรากฐานของวิธีคิดที่สังคมใช้ทำความเข้าใจสุขภาพในมิติต่าง ๆ ในบทนี้ยังได้นำเสนอถึงรากฐานทางปรัชญาของการแพทย์ทางชีวภาพและอธิบายถึงความจำเป็นในการที่จะเข้าใจสุขภาพอย่างบูรณาการระหว่างมิติทางชีวภาพ ทางจิตใจและทางสังคม หรือ bio-psycho-social model ไว้ด้วย ในบทที่ 3 เป็นการกล่าวถึงอวัยวะร่างกายและสรีรวิทยาของมนุษย์จากมุมมองและความเข้าใจทางประวัติศาสตร์และทางวัฒนธรรม ความรับรู้ในเรื่องของร่างกาย ทัศนะที่มนุษย์มีต่ออวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนความเข้าใจของท้องถิ่นต่อเรื่องกายวิภาคล้วนแต่มีผลสำคัญต่อวิธีทางที่มนุษยใช้จัดการต่อความเจ็บป่วย ในบทที่ 4 เป็นการสำรวจความรู้กับแนวคิดในเรื่องอาหารโภชนาการและสุขภาพโดยมีการทำความเข้าใจถึงแนวคิดสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการเปลี่ยนแปลงไป
ของบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ในบทที่ 5 กล่าวถึงเรื่องของครอบครัวและแบบแผนการเลี้ยงดูลูกซึ่งมีผลต่อสุขภาพ ในบทนี้ได้กล่าวถึงโครงสร้างและระบบเครือญาติในชุมชน การแต่งงาน การตั้งครรภ์และการคลอดบุตรซึ่งเป็นผลลัพธ์ของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นและส่งผลสำคัญต่อสุขภาพด้วย บทที่ 6 นำเสนอมิติทางสังคมและวัฒนธรรม
ของการเจ็บป่วยรวมทั้งบทบาทและหน้าที่ของสถาบันทางการแพทย์ในการแก้ปัญหาสุขภาพ บทที่7 นำเสนอเรื่องความหมายทางวัฒนธรรมและวิธีปฏิบัติทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับการใช้ยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาในชุมชนและบริบทของท้องถิ่นที่มีผลต่อการเลือกใช้ยาของชาวบ้านในบทที่ 8 อธิบายถึงมิติทางสังคมวัฒนธรรมของระบบบริการทางการแพทย์และการตรวจรักษา
โรคซึ่งอาจจะถือว่าเป็นการเผชิญหน้ากันของวัฒนธรรมชุมชนกับวัฒนธรรมของบุคลากรทางการแพทย์ บทที่ 9 นำเสนอแนวคิดเรื่องการแพทย์แบบพหุลักษณ์และเรื่องเกี่ยวกับการรักษาแบบพื้นบ้านเพื่อความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนรักษาโรคแบบที่หลากหลายที่อยู่ในท้องถิ่น บทที่ 10 ได้นำเสนอถึงแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนาสุขภาพซึ่งในบทนี้ได้มีการกล่าวถึงแนวคิดเรื่องทุนทางสังคมและสุขภาพเอาไว้ด้วย บทที่ 11 สำรวจบทบาทของสื่อรวมทั้งการสื่อสารต่าง ๆ ในการพัฒนาสุขภาพและในการดูแลรักษาโรค บทที่ 12 นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกับเพศสภาวะ บทที่ 13 นำเสนอเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ดีของผู้พิการ บทที่ 14 สำรวจแนวความคิดที่เกี่ยวกับความตายและการตายโดยในบทนี้ได้มีการสำรวจถึงเรื่องของพิธีกรรมและแบบแผนการปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายในวัฒนธรรมต่าง ๆ และบทบาทของสถาบันทางการแพทย์ในกระบวนการสิ้นสุดชีวิตของมนุษย์ไว้ด้วย บทที่ 15 สำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับมิติทางสังคมของเทคโนโลยีทางการแพทย์รวมทั้งแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยี บทสุดท้ายในบทที่ 16 นั้นเป็นการนำเสนอแนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางการแพทย์รวมทั้งได้กล่าวถึงเรื่องโลกาภิวัฒน์และความไม่เท่า
เทียมกันทางการแพทย์ด้วยเอกสารชุดนี้ยังอยู่ในระยะของการพัฒนาขั้นต้นและยังจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุง
อย่างมากก่อนที่จะสามารถนำไปใช้หรือเผยแพร่ต่อไปในอนาคต | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.description.sponsorship | สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Service Systems | en_US |
dc.subject | Health Services | en_US |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject | อนามัย--บริการ | en_US |
dc.subject | การบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | คู่มือทางสังคมและมานุษยวิทยาในงานบริการสุขภาพ | en_US |
dc.title.alternative | Manual on health social sciences and medical anthropology | en_US |
dc.identifier.callno | W84 ส691ค 2547 | en_US |
dc.identifier.contactno | 47ข003 | en_US |
dc.subject.keyword | Health Social Sciences | en_US |
dc.subject.keyword | Medical Anthropology | en_US |
dc.subject.keyword | สังคมศาสตร์สุขภาพ | en_US |
dc.subject.keyword | มานุษยวิทยาการแพทย์ | en_US |
dc.subject.keyword | วัฒนธรรมของสุขภาพ | en_US |
.custom.citation | สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ and Society and Health Institute. "คู่มือทางสังคมและมานุษยวิทยาในงานบริการสุขภาพ." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1900">http://hdl.handle.net/11228/1900</a>. | |
.custom.total_download | 1251 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 60 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 9 | |