• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ผลการประเมินโครงการค่ายพัฒนาศักยภาพองค์กรเยาวชน "พลังเยาวชนสร้างชาติ"

สหพันธ์เยาวชนภาคกลาง; Federal Youth of Central;
วันที่: 2547
บทคัดย่อ
ในอดีตช่วงสั้นๆ ที่ผ่านมาชุมชน/เครือข่ายได้มีการรวมตัวกันดําเนินกิจกรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ของตนเองมาตั้งแต่ ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาสิบปี มีจํานวนเครือข่ายประมาณ 300 เครือข่าย ครอบคลุมพื้นที่ 6,000กว่าหมู่บ้าน/ชุมชน (เฉพาะเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)) พบว่าผลการทำงานที่เกิดขึ้นจริงและมีงานศึกษาวิจัยและถอดองค์ความรู้ที่สามารถทำให้ชุมชนมีความตระหนักต่อปัญหายาเสพติดและลุกขึ้นมาดําเนินกิจกรรมเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ของตนเองและเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนได้ ประกอบกับที่รัฐบาลได้มีนโยบายที่เฉียบขาดและเอาจริงกับการต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด ส่งผลให้สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในขณะนี้ลดลง แต่ประเด็นที่สําคัญคือ จะทําอย่างไรที่จะไม่ให้ปัญหายาเสพติดกลับมาได้อีก ซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นองค์องค์ภาครัฐ ภาคประชาชนที่จะลุกขึ้นมาดําเนินการกับบางเรื่องที่ยังต้องรีบแก้ไขอย่างเช่น การสร้างระบบเฝ้าระวัง หรืองานพัฒนาด้านอาชีพ หรือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น ด้วยความเป็นมาข้างต้นจึงมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรเยาวชนในพื้นที่ภาคกลาง (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย 300 เครือข่าย) และเกิดเป็น “สหพันธ์เยาวชนภาคกลาง (Federal Youth Of Central : FYC)” ภายใต้การกระตุ้นและสนับสนุนจากสำนักงานป.ป.ส. ร่วมมือกับเครือข่ายพลังแผ่นดิน ของแต่ละจังหวัดและกลุ่มเยาวชนของทุกจังหวัด โดยดําเนินกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ชุมชน/สถานศึกษาของตนเอง มีลักษณะเนื้อหาและรูปแบบกิจกรรมเป็นไปตามลักษณะเฉพาะของพื้นที่และทักษะความชำนาญของบุคลากร แต่จากการดําเนินงานที่ผ่านมายังเป็นไปในแบบต่างคนต่างทำมีการประสานงานและการเรียนรู้ระหว่างพื้นที่จังหวัดต่างๆ ค่อนข้างน้อย ดังนั้น คณะศึกษาวิจัยจึงได้มีแนวทางการศึกษาผลสัมฤทธิ์อันเป็นจังหวะก้าวของการทํางานเครือข่ายเยาวชนด้วยความมุ่งหวังที่จะนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการทำงาน กิจกรรม และการพัฒนาศักยภาพของแกนนําเยาวชนเพื่อสามารถก่อเกิดแรงขับเคลื่อนอย่างยั่งยืนต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1109.pdf
ขนาด: 1.088Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 55
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV