• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

รูปแบบและการบริหารจัดการสถาบันวิจัยสุขภาพในมหาวิทยาลัยและข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมงานวิจัยสุขภาพของคนไทย

สุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ; Suttilak Smitasiri; ประสิทธิ์ ลีระพันธ์; สุพัตรา อติโพธิ; Prasit Leerapan; S. Atibodhi; คณะทำงานสหสาขาวิชาการ (Multi-disciplinary Taskforce); สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; Health Systems Research Institute;
วันที่: 2546
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันรัฐเห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชน ลดการสูญเสียทรัพยากรที่ไม่จำเป็นและเป็นโอกาสในการสร้างสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ จึงได้จัดให้มีโครงสร้างของระบบวิจัยสุขภาพแห่งชาติขึ้น สถาบันวิจัยสุขภาพในมหาวิทยาลัยถือเป็นฐานกำลังสำคัญของระบบวิจัยสุขภาพดังกล่าว การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายในการแสวงหาแนวทางเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพสถาบันวิจัยสุขภาพในมหาวิทยาลัย โดยการศึกษาจากเอกสาร ระดมความคิดภาคีที่เกี่ยวข้อง ทบทวนสังเคราะห์รูปแบบและการบริหารจัดการของตัวแทนสถาบันวิจัยสุขภาพ จำนวน 6 สถาบันในมหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่า รัฐควรจัดให้มีกระบวนการพัฒนาสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัยอย่างเร่งด่วน โดยจัดให้มีการลงทุนอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพทั้งด้านเศรษฐกิจ องค์กร และทรัพยากรมนุษย์ ในการพัฒนานี้ควรให้ความสำคัญต่อความสามารถในการปรับตัว และความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนภาวะผู้นำในสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัย สำหรับแนวทางในการพัฒนาเสนอให้รัฐพิจารณาเป็นเจ้าภาพในการจัดตั้ง เครือข่ายองค์กรการวิจัยสุขภาพแห่งชาติ ที่เชื่อมโยงสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัย ตลอดจนองค์กรการวิจัยอื่นไปจนถึงองค์กรขนาดเล็กที่สุดในระดับครอบครัว เพื่อก่อให้เกิดวิวัฒนาการขององค์กรการวิจัยสุขภาพที่เข้มแข็ง ส่งเสริมรูปแบบและการบริหารจัดการ องค์กรวิจัยที่มีความหลากหลาย มีความคล่องตัวสูง โปร่งใส และมีธรรมาภิบาลที่ดี สนับสนุนการแสวงหา สร้าง รักษา พัฒนาบุคลากรในทุกระดับทั้งด้านวิชาการ และการบริหารงาน สร้างกระแสวัฒนธรรม “สังคมไทยให้ความสำคัญต่อความรู้ในการพัฒนา สุขภาพ” โดยให้ความสำคัญต่อการสื่อสารเชิงรุกกับภาคีที่เกี่ยวข้องทุกระดับอย่างมี ประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งขององค์กรการวิจัยและการพัฒนางานวิจัยสุขภาพอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

บทคัดย่อ
present, research to improve and promote health as well as well being of the populations, to reduce unnecessary health expenses, and to increase national economic opportunities in health related markets, has become a notable national health policy of the Royal Thai Government (RTG). Discussions and debates are thus going on about an appropriate structure of the future National Health System Research. Within this structure, health research institutes in universities are hypothesized to be an important foundation of the system. The purpose of this study is to identify ways and means to support and strengthen health research institutes in Thai universities. Document research, group discussions, a reflection technique and case studies (six health research institutes in Mahidol University and Chulalongkorn University) were adopted.Results indicate that it is necessary for the RTG to urgently draw up a road map to systematically strengthen health research institutes in universities. Action is needed in terms of significant investments in economic means, organization and human resources. An ability to adjust to changes, change management skills and leadership in health research institutes in universities, are identified as essential elements in this development process.Key development strategy is a proposal to the RTG to set up a National Network of Health Research Institutes (NNHRI), which consists of health research institutes at many levels, including those in universities, as well as families, the smallest units in society. Proposed objectives for NNHRI are: to systematically support and strengthen health research institutes in the country, to promote diversity in organizational structures and management styles leading to effective performances and good governance in health research institutes, to support proactive human resource development in both technical and management skills at all levels, to create a culture -- “Knowledge is important for health development in Thai society”-- by giving priority to effective and sustained stakeholder communication to empower health research institutes and to elevate efficiency and sustainability of health research development in Thailand.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1016.pdf
ขนาด: 1.115Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 1
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 84
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การพัฒนานักวิจัยหน้าใหม่ระดับพื้นที่จากงานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ ปี 2562 : ฐานข้อมูลนักวิจัยหน้าใหม่ 

    ณัฏฐญา พัฒนะวาณิชนันท์; Nattaya Patanavanichanan; จุฬาพร กระเทศ; Juraporn Krates (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2562)
    โครงการพัฒนานักวิจัยหน้าใหม่ระดับพื้นที่จากงานประจำสู่งานวิจัยระดับประเทศ ปี 2562 ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลนักวิจัยหน้าใหม่ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัย R2R ดีเด่น ...
  • ระบบวิจัยและทิศทางการพัฒนาวิจัยกับยุทธศาสตร์วิจัยของประเทศไทย 

    สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ; Soottiporn Chittmittrapap (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สภาวิจัยแห่งชาติ, 2559-05-14)
    เอกสารนำเสนอประกอบการประชุม HSRI Retreat หัวข้อ ระบบวิจัยและทิศทางการพัฒนาวิจัย กับยุทธศาสตร์วิจัยของประเทศไทย วันที่ 14 พฤษภาคม 2559 ณ ห้องดวงกมล โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพมหานคร
  • ความจำเป็นที่ต้องมีการบริหารจัดการงานวิจัย อาชีพทำวิจัย กับ อาชีพบริหารงานวิจัย 

    นิลสุวรรณ ลีลารัศมี; Nilsuwan Leelarasamee (สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, 2557-09-16)
    เอกสารนำเสนอประกอบการอบรมหลักสูตรผู้จัดการงานวิจัย รุ่นที่ 1 วันที่ 16 - 18 กันยายน 2557 และ รุ่นที่ 2 วันที่ 29 - 31 ตุลาคม 2557 ณ โรงแรมมารวย กาเด้น

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV