บทคัดย่อ
บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2539 และ 2541วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบัญชีรายจ่ายสุขภาพ-แห่งชาติให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น มีการกำหนดคำนิยามรายจ่ายสุขภาพและพัฒนาคู่มือระเบียบวิธีการ-เก็บข้อมูล การประมาณการรายจ่ายสุขภาพที่จ่ายโดยแหล่งการคลังสูงสุด (Ultimate Source of Finance) ทั้ง 5 แหล่งไปยัง Financing Agencies 12 แห่ง โดยเป็นภาครัฐบาลบาล 7 แห่ง และภาคเอกชน 5 แห่ง และเกณฑ์การกระจายรายจ่ายสุขภาพ ที่ Financing Agencies จ่ายต่อไปยังประเภทสถานพยาบาลและประเภทของกิจกรรม ผลจากการวิจัยของ NHA1 พบว่า รายจ่ายสุขภาพในปีงบประมาณ พ.ศ. 2537 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 128,305.11 ล้านบาท เป็นการจ่ายจากภาครัฐบาลบาลร้อยละ 48.8 และภาคเอกชนร้อยละ 51.2 ซึ่งเป็นรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคจำนวนทั้งสิ้น 107,876 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.0 ของ GDP ในขณะที่รายงานรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปีงบประมาณเดียวกัน มีมูลค่า 180,516 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.01 ของ GDP ซึ่งมีความแตกต่างกันถึง 72,648.42 ล้านบาท จากผลการศึกษา NHA2 พบว่า รายจ่ายสุขภาพประชาชาติไทยเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด โดยอัตราการเพิ่มของรายจ่ายสุขภาพในปี พ.ศ. 2539 นั้นเพิ่มมากกว่าอัตราการเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในขณะที่รายจ่ายสุขภาพจริงในปี พ.ศ. 2541 นั้นมีอัตราลดลงแต่ลดน้อยกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจริง ทำให้สัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศยังคงเพิ่มขึ้นแต่ในสัดส่วนที่ลดลง การลดลงของรายจ่ายจริงด้านสุขภาพในปี พ.ศ. 2541 นั้นเป็นผลกระทบจากภาวะวิกฤติ-ด้านเศรษฐกิจ และเป็นการลดลงของรายจ่ายภาคเอกชนเป็นหลัก (รายจ่ายจริงภาคเอกชนลดลงร้อยละ 21) โดยที่รายจ่ายภาครัฐบาลยังคงเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10) มีผลให้สัดส่วนรายจ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ รายจ่ายของภาคเอกชนนั้นเป็นไปเพื่อบริการส่วนบุคคลด้านการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะบริการในสถานพยาบาลทั้งบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน การลดลงของรายจ่ายภาคเอกชนในบริการทั้งสองนั้นเป็นการลดการใช้บริการของสถานพยาบาลภาครัฐบาลและเอกชน แต่ลดลงในการใช้บริการเอกชนมากกว่า ในขณะที่มีการพึ่งตนเองโดยการซื้อยารับประทานเองและการใช้บริการอื่น ๆ ด้านวิชาชีพทดแทน ในภาวะ-วิกฤตเศรษฐกิจนับว่าภาครัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการปกป้องประชาชนในการเข้าถึงบริการ ดังจะเห็นได้จากรายจ่ายของภาครัฐบาลในบริการส่วนบุคคลด้านรักษาพยาบาลยังคงเพิ่มขึ้น ทั้งในบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แสดงว่ามีการโยกการใช้บริการของประชาชนจากสถานพยาบาลเอกชนมายังสถานพยาบาล-ภาครัฐบาลมากขึ้น ในขณะที่ครัวเรือนจ่ายเองน้อยลง แม้รายจ่ายรวมของภาครัฐบาลจะเพิ่มขึ้นแต่ลดลงในบริการด้านการควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาพ มีผลให้รายจ่ายจริงต่อหัวสำหรับในบริการทั้งสองนั้นลดลงถึงร้อยละ 35 และ15 ตามลำดับ แสดงว่าในช่วงที่มีภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและมีงบประมาณจำกัด บริการด้าน-รักษาพยาบาล เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ได้รับความสำคัญในการปกป้องมากกว่าบริการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ซึ่งเป็นการลงทุนด้านสุขภาพและหวังผลในระยะยาว ถึงแม้ว่าจะให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพที่คุ้มค่ากว่าก็ตามกล่าวโดยสรุป การจัดทำและใช้งานระบบบัญชีสุขภาพแห่งชาติอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนานโยบายและแผนสาธารณสุข จัดเป็นวัตถุประสงค์หลักของชาติ การที่มีโครงสร้างระบบบัญชีแห่งชาติที่มั่นคงทำให้สามารถเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากร การบริการ และผู้จ่ายเงินเพื่อบริการสาธารณสุข นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อการเปรียบเทียบในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศที่เป็นสมาชิก OECD ได้เป็นอย่างดี
บทคัดย่อ
This was an initiative by local researchers, with an emphasis on putting the NHA system in place. Two work steps were involved; first, tracking the flow of funds from ultimate sources of finance to financing agencies and second, analyzing the use of funds by financing agencies. Five ultimate finance sources and twelve financing agencies (7 public and 5 private) were identified. Use of consumption expenditures was listed under four main categories and 32 sub-categories. The results from NHA1 in 1994 estimated a total health expenditure of 128,305.11 million baht; 84.07% represented consumption and 15.93% capital formation. Of total consumption expenditure, 36.14% represented purchasing care from public providers, 32.35% from private providers, 5.93% on administration and 9.65% on all other public health programs. Public sources of finance were responsible for 48.79% and private sources of finance for 51.21% of the total 1994 health expenditure. Total health expenditure accounted for 3.57% of GDP (consumption expenditure 3.00% of GDP, capital formation 0.57% of GDP). However, NESDB estimated 1994 consumption expenditure to be 180,516 million baht or 5.01% of GDP, of which private sources were dominant (82.17%) and the public source played a minor role (17.83%). The discrepancy of consumption expenditure figures between the two estimates is 2.01% of GDP. In addition , there is a big gap in the public and private proportion of consumption expenses; 46:54 in NHA1 and 18:82 in NESDB. From this NHA2 study, the researchers estimated that health care expenditure in 1996 was increasing when compared to the GDP in that year. But in 1998, health expenditure was decreasing when compared to the GDP in that year. This was due to the economic crisis in Thailand. The main decline in health care expenditure was experience by the private sector with a 21% decline., but the expenditure from the government side was still increasing by 10%. This showed that the government played a big role in protecting people’s health during the economic crisis. Another finding indicated that individuals tended to spend less on services from both public and private health providers. They went by themselves to pharmacies and bought medicines to treat themselves. Although the government increased health care expenditure in general, it decreased its own spending on health prevention and promotion because, due to the economic crisis, the government needed to put more emphasis on treatment and curative services than preventive ones. In conclusion, a sustainable NHA and utilization of NHA for planning and policy development is a major national objective. Having a strong NHA structure will enhance the demonstration of how the country’s health resource were spent, what services were provided and who paid for them and will further facilitate international comparison, especially with members of the OECD countries.