• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ต้นทุนต่อหน่วยบริการศูนย์บริการสาธารณสุข

วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร; Viroj Tangchroensathien; สุกัลยา คงสวัสดิ์; สนธยา รุ่งกิจการวัฒนา; ประภาพรรณ คำคม;
วันที่: 2538
บทคัดย่อ
ต้นทุนต่อหน่วยบริการศูนย์บริการสาธารณสุข รายงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์และประมาณต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมศูนย์บริการ สาธารณสุขทุกแห่งในกรุงเทพมหานครจำนวน 60 แห่ง สังกัดสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลทางการเงินในปีงบประมาณ พ.ศ.2537 ในการศึกษานี้ต้นทุนหมายถึง ต้นทุนการดำเนินการได้แก่ ค่าแรงและค่าวัสดุ โดยที่ไม่นำเอาค่าเสื่อมราคาของคุรุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างมารวมด้วย วิธีการศึกษาประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ระบบข้อมูลทางการเงินของศูนย์บริการสาธารณสุขและกองต่างๆที่สนับสนุนการจัดบริการในสำนักอนามัย การเก็บข้อมูลต้นทุนค่าแรงทั้งโดยตรงและโดยอ้อม การเก็บข้อมูลต้นทุนค่าวัสดุโดยตรงและโดยอ้อม ศึกษาการใช้เวลาของบุคลากรทุกประเภทในศูนย์ฯตัวอย่าง 6 แห่ง การศึกษานี้ผู้วิจัยใช้วิธีการประมาณการต้นทุนไปยังกิจกรรมโดยตรง(direct allocation) โดยไม่ได้ตั้งหน่วยต้นทุน (cost centre approach) การประมาณการต้นทุนต่อหน่วยมีขั้นตอนสำคัญ และอาศัยเกณฑ์ในการกระจายต้นทุนดังต่อไปนี้คือค่าแรงตรงใช้ร้อยละการใช้เวลาสำหรับกิจกรรมต่างๆของบุคลากรประเภทต่างๆสำหรับทั้ง 29 กิจกรรมของศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นเกณฑ์ในการจัดสรรต้นทุนค่าแรงตรงของบุคลากรแต่ละประเภทไปยังกิจกรรมนั้นๆ ทั้งนี้ยังแยกรายละเอียดเป็นเกณฑ์ 4 แบบ เพื่อให้เหมาะสมกับศูนย์ที่ให้บริการแตกต่างกัน กล่าวคือ ศูนย์ฯที่มีหรือไม่มีบริการเลี้ยงเด็กกลางวัน และบำบัดยาเสพติดอาศัยผลการจัดสรรค่าแรงตรงไปสู่กิจกรรมทั้ง 29 กิจกรรมในแต่ละศูนย์นั้น เป็นเกณฑ์ในการกระจายต้นทุนค่าแรงอ้อม ซึ่งเป็นค่าแรงที่มาจากกองต่างๆในสำนักอนามัย ซึ่งรับผิดชอบแผนงานโครงการที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บริการสาธารณสุขอาศัยเกณฑ์ต่างๆที่เหมาะสมในการจัดสรรต้นทุนค่าวัสดุตรงของศูนย์บริการสาธารณสุข และวัสดุอ้อมซึ่งมาจากกองต่างๆในสำนักอนามัยซึ่งสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บริการสาธารณสุข เมื่อได้ต้นทุนค่าแรงตรง ต้นทุนค่าแรงอ้อม และต้นทุนค่าวัสดุ รายกิจกรรมของแต่ละศูนย์ฯแล้ว จึงได้นำมารวมกันและหารด้วยปริมาณบริการ จำได้ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรมรายศูนย์ฯ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs0121.PDF
ขนาด: 9.351Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 3
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 233
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศพัฒนา 

    อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์; Adisak Plitponkarnpim; กิ่งแก้ว อุดมชัยกุล; จิราวรรณ กล่อมเมฆ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544)
    ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักมีจุดเริ่มต้นจากความพยายามที่ต้องการลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน จากนั้นการพัฒนาได้ขยายการครอบคลุมไปจนถึงการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อยู่ภาวะฉุกเฉิน ...
  • การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของ วิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษา ร้านส่งเสริมเภสัช 

    วราวุธ เสริมสินสิริ; Warawut Sermsinsiri (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    ร้านส่งเสริมเภสัช ตั้งอยู่เลขที่ 255/47 ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณตลาดสดสี่มุมเมือง มีผู้คนสัญจรไปมาคับคั่ง ร้านส่งเสริมเภสัชเป็นร้านขายยาเอกชน เจ้าของรายเดียว เวลาทำการ 7.30 - 20.00 ...
  • การออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 

    มูหาหมัดอาลี กระโด; Muhamadalee Krado; รอซาลี สีเดะ; Rozalee Saredea; วรรณี ปาทาน; Wannee Patan (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564-10)
    โครงการวิจัยการออกแบบระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้สถานการณ์ Covid-19 : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีความมุ่งหวังให้บุคลากรเห็นความสำคัญของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิและสามารถปรับวิธีการทำงาน ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV