บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเคลื่อนย้ายและการกระจายกำลังคนด้านวิชาชีพเภสัชกร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเภสัชกรที่ขึ้นทะเบียนกับสภาเภสัชกรรมที่ยังมีชีวิต 1,500 คน การสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 ช่วงตามปีที่จบการศึกษา คือ ก่อนการบังคับใช้ทุน (พ.ศ. 2518-2531) ระหว่างที่มีการบังคับใช้ทุน (พ.ศ. 2532-2547) และหลังการบังคับใช้ทุน (พ.ศ.2548-2549) ได้ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 43.27 การศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.78 เคยย้ายงานเฉลี่ย 1.8 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างมีรูปแบบการย้ายงานจากสถานที่ทำงานแห่งแรกไปยังสถานที่ทำงานปัจจุบันแตกต่างกันตามช่วงเวลาที่จบการศึกษา โดยพบว่าหลัง พ.ศ. 2532 มีการกระจายเภสัชกรไปยังส่วนภูมิภาคมากขึ้น และมีเภสัชกรกระจายอยู่ในภาครัฐมากกว่าภาคเอกชนในทุกจุดเวลา ซึ่งโรงพยาบาลรัฐบาลเป็นหน่วยงานที่เภสัชกรไปปฏิบัติงานมากที่สุดในแต่ละจุดเวลา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ามีความไม่สมดุลระหว่างการกระจายกำลังคนด้านวิชาชีพเภสัชกรในภาครัฐกับเอกชน เป็นผลมาจากนโยบายการใช้ทุนในอดีต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนางานเภสัชกรรมของประเทศในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของอุตสาหกรรมยาและร้านยา การพิจารณาสมดุลของการกระจายเภสัชกรไทยทั้งในภาครัฐและเอกชนจึงเป็นประเด็นที่ควรพิจารณาต่อไป
บทคัดย่อ
The objective of this study was to describe the migration and the distribution pattern of pharmacists
in Thailand. A self-administered questionnaire survey was employed. Stratifried sampling by timing of
the compulsory pharmacist project of the Ministry of Public Health was used in the survey. The total
sample included 1,500 registered pharmacists in three sub-units: those who graduated with a bachalor’s
degree before, between, and after the compulsory pharmacist project, i.e. those who graduated between
1975 and 1988, 1989 and 2004, 2005 and 2006, respectively. The response rate was 43.27 percent. The
results showed that 59.78 percent of the samples had moved 1.8 times on average. The mobility patterns
from their first to current workplaces were different among the three sub-groups. According to the distribution, the results indicated that the number of pharmacists was increasingly distributed into regional
areas. Most of them had worked for the government sector, especially in government hospitals. It was
concluded that the compulsory pharmacist project may effect imbalances in the distribution of pharmacists in the public and private sectors. This problem could distort the professional development of pharmacists, particularly in the pharmaceutical industry and drugstores. Therefore, it is necessary to consider
the balance in the distribution of pharmacists between the public and private sectors in Thailand.