บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของผู้ใช้งานวิจัยของสวรส. รวมถึงความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์การสร้างงานวิจัยของสวรส. โดยแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานวิจัยออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มเครือข่าย และกลุ่มบุคคลทั่วไป การเก็บข้อมูลดำเนินการเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกใช้แบบสอบถามโดยจัดส่งทางไปรษณีย์ในกลุ่มต่างๆ ส่วนที่สองใช้การสัมภาษณ์สำหรับกลุ่มผู้บริหาร ตัวอย่างกลุ่มบุคคลทั่วไปสุ่มจากสมาชิกห้องสมุด สวรส. พ.ศ. 2549 – กลางปี 2550 ประมาณร้อยละ 25 ของประชากร 5,401 ราย มีผู้ตอบแบบสอบถาม 730 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.8 ของแบบสอบถามที่จัดส่ง ตัวอย่างกลุ่มนักวิชาการสุ่มจากผู้เคยร่วมงานกับสวรส. ในช่วง 5 ปีที่ผ่านไปประมาณร้อยละ 75 ของประชากร 500 ราย มีผู้ตอบแบบสอบถาม 110 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.4 ของแบบสอบถามที่จัดส่ง กลุ่มเครือข่ายคือคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่เป็นเครือข่าย รวม 120 ราย ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.3 ของประชากร ส่วนกลุ่มผู้บริหารคือคณะกรรมการและที่ปรึกษา สวรส. และผู้บริหารระดับสูงในองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวม 22 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มบุคคลทั่วไป กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มเครือข่าย มีวัตถุประสงค์การใช้ผลงานวิจัยของสวรส. เพื่อการวิจัยลำดับสูงสุด ส่วนกลุ่มผู้บริหารใช้ประโยชน์จากงานของสวรส. ส่วนใหญ่เป็นการรับรู้อย่างกว้างๆ ขยายวิสัยทัศน์ และนำมาประกอบการตัดสินใจเชิงบริหารและนโยบาย 2. ความพึงพอใจต่อการใช้งานวิจัยของสวรส. กลุ่มบุคคลทั่วไปประเมินทั้งด้านเนื้อหา ด้านคุณภาพของงานวิจัย และด้านช่องทางการสื่อสาร ในระดับพึงพอใจมากทุกประเด็น กลุ่มนักวิชาการประเมินด้านคุณภาพของงานวิจัยและด้านช่องทางการสื่อสารระดับพึงพอใจมาก ส่วนด้านเนื้อหาส่วนใหญ่มีระดับพึงพอใจมาก กลุ่มเครือข่ายประเมินด้านคุณภาพของงานวิจัยในระดับพึงพอใจมาก และด้านช่องทางการสื่อสารส่วนใหญ่พึงพอใจมาก ส่วนด้านเนื้อหาส่วนใหญ่ มีระดับพึงพอใจปานกลาง ทั้ง 3 กลุ่ม ประเมินให้งานวิชาการของสวรส.ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ส่วนกลุ่มผู้บริหารพึงพอใจต่องานวิชาการของสวรส.ในระดับพึงพอใจมาก โดยเห็นว่าการประเมินต้องพิจารณาช่วงเวลาด้วย และต้องพิจารณาหลายแง่มุมประกอบกัน 3. การใช้ผลงานวิจัยของสวรส. ผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ พบว่า นอกเหนือจากห้องสมุดสวรส. แล้ว กลุ่มบุคคลทั่วไป กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มเครือข่ายใช้มากที่สุด คือ วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ช่องทางที่ทั้ง 3 กลุ่มใช้น้อยที่สุด คือสื่อวิทยุกระจายเสียง 4. ประเด็นงานวิจัยที่ต้องการให้สวรส. สร้างงานวิจัยเพิ่มเติม กลุ่มบุคคลทั่วไปต้องการเป็นลำดับสูงสุดคือ งานวิจัยสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและโรคไม่ติดต่อต่างๆ กลุ่มนักวิชาการและกลุ่มเครือข่ายต้องการเป็นลำดับสูงสุดคือ การประเมินนโยบายด้านสุขภาพของรัฐบาล ส่วนกลุ่มผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่า สวรส. ควรศึกษาภาพรวมของระบบสุขภาพทั้งระบบเพราะทุกประเด็นมีความเชื่องโยงกัน ส่วนการประเมินนโยบายด้านสุขภาพของรัฐบาลเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการปรกติ 5. ข้อมูลที่ต้องการให้มีในคลังข้อมูลมากที่สุด กลุ่มบุคคลทั่วไป กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มเครือข่าย ระบุตรงกัน คือ งานวิจัยระบบสุขภาพ สำหรับการปรับปรุงเว็บไซต์ กลุ่มบุคคลทั่วไปต้องการให้มีคอลัมน์หัวข้อวิเคราะห์งานวิจัยเป็นลำดับสูงสุด กลุ่มนักวิชาการและกลุ่มเครือข่ายต้องการให้มีคอลัมน์การวิเคราะห์นโยบายสุขภาพเป็นลำดับสูงสุด ส่วนกลุ่มผู้บริหารมีความเห็นว่าหากจะเพิ่มควรเป็นการสังเคราะห์งานวิจัย และวิเคราะห์นโยบายสุขภาพ 6. สวรส. กับการจัดการความรู้สาธารณประโยชน์ และคุณค่าของงานวิชาการของสวรส. กลุ่มบุคคลทั่วไป กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มเครือข่ายมีความเห็นว่า สวรส. สามารถจัดการความรู้เพื่อสาธารณประโยชน์ได้ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่าสวรส. เป็นองค์กรที่มีจุดแข็งในการผลักดันให้เกิดความรู้เชิงระบบทางด้านสาธารณสุข และมีบทบาทที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดนโยบายสุขภาพระดับชาติได้
บทคัดย่อ
This research was aimed at exploring the Health Systems Research Institute (HSRI) users’ satisfaction,
the nature of their problems and needs, including their opinions toward HSRI research construction strategies. The samples were divided into four groups of research users: executives, academics, networks, and the
general public. The data were collected by two main methods: mail questionnaires and interviews with
executives.
For the general public group, 25 percent of the 5,401 HSRI library members during the period from
2006 to the middle of the year 2007 were randomly selected; 730 of those sent questionnaires, or 56.8 percent
of the total distribution, responded. For academics, 75 percent of the 500 people who used to work with
HSRI during the previous five years were randomly selected, and 110 questionnaires, or 31.4 percent, were
received. Network groups were those who served on committees or as staff of any subsidiary, in total 120
people, and 58 questionnaires, or 48.3 percent, were received. Finally, the last sample group comprised
executives, who were HSRI board committee members, consultants, and medical doctors of related organizations, a total of 22 respondents.
The findings were as follows:
1) The utmost purpose that the general public, academics, and network groups had in using HSRI
research findings was for conducting research (their own research purposes), while most executives used
them to gain a broad perspective in expanding their view, and to support their policy-and decision-making.
2) Regarding the satisfaction towards HSRI research usage, the general public evaluated “content”, “research quality”, and “communication channel” at a high level of satisfaction; academics evaluated
“research quality” and “communication channel” at a high level of satisfaction, “content” at a high level of
satisfaction and moderate satisfaction for some content issues. Network groups evaluated “research
quality” at a high level of satisfaction, and most of them evaluated “communication channel” at a high level
of satisfaction, with moderate satisfaction applying to only one issue. “Content” was evaluated mostly at a
moderate level of satisfaction, with a high level of satisfaction for only some content issues.
All three groups evaluated the academic performance of the HSRI at a high level of satisfaction.
Most executives evaluated it at a high level of satisfaction, with the remark that the evaluation needed to
include a range or periods of time and various perspectives as well.
3) As for the communication channel in using HSRI research, it was found that, besides the HSRI
library, the general public, academics, and network groups used the Journal of Health Systems Research the
most, and radio broadcasts the least.
4) The research topic that the general public would like HSRI to develop the most is research which
supports the care of chronic and non-chronic patients, while academics and network groups need research
on the evaluation of governmental health policies. Most executives felt that HSRI should review health
systems as a whole since every system and topic is interconnected, whereas the evaluation of governmental
health policies is a topic that must be conducted regularly.
5) Data, which the general public, academics, and network groups said were available in the HSRI
database, were data about health systems research projects. Regarding website improvement, the general
public would like to have a “research analysis column” added, while academics and network groups wanted
a “health policy analysis column”. However, in the opinion of executives, if anything should be added, it
should be research synthesis, combined with health policy analysis.
6) Regarding knowledge management of the HSRI for the benefit of the public and the value of
HSRI academic work, the general public, academics, and network groups agreed that HSRI can manage
knowledge for public benefit at a high level of accomplishment. On the other hand, most executives were of
the view that HSRI has a strong point in being an organization which stimulates health systems knowledge,
and plays an important role in enabling national health policies to be put into action.