บทคัดย่อ
โครงการนี้เริ่มจากความคิดที่ระบบดูแลสุขภาพปัจจุบันมักเน้นที่การดูแลร่างกายเมื่อป่วยหรือมีปัญหาแล้ว กระบวนการถ่ายทอดความคิด ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพก็เป็นไปแบบแนวดิ่ง คือ จาก”ผู้รู้” สู่ “ผู้ไม่รู้” และถ่ายทอดกันต่อๆ มาว่า เมื่อป่วยต้องหาหมอ ดังนั้นชีวิตและสุขภาพจึงเน้นไปที่ร่างกาย การเจ็บป่วยและการพึ่งพาเพื่อรักษาให้หาย โดยไม่ได้คำนึงถึงวิถีชีวิตด้านอื่นๆ ว่ามีผลต่อสุขภาพเช่นไร ในปัจจุบันพบว่ามีโรคภัยไข้เจ็บหลายโรคที่รักษาไม่หายด้วยการแพทย์ปัจจุบันเพียงอย่างเดียว การให้ความสำคัญกับมิติอื่นๆ ของสุขภาพและชีวิตคนในทุกด้าน น่าจะเป็นทางออก แต่ด้วยระบบการให้ความรู้ การศึกษาแบบเดิมก็เป็นข้อจำกัดอันหนึ่งที่จะทำให้คนคิดนอกกรอบไม่ได้ เมื่อมีปัญหาเพิ่มเติมขึ้น จึงเกิดการเรียนรู้นอกระบบกระแสหลัก เพื่อแก้ปัญหาทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา การแพทย์ การใช้ชีวิต มีทั้งแบบปัจเจกและการรวมกลุ่ม ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ใช้สื่อ เช่น วิทยุ หนังสือ Internet ตลอดจนการลงมือทำแล้วสรุปผลเอง วิธีการเรียนรู้ของคนในสถานที่ต่างๆ ที่ไปพ้นกรอบความคิดเดิมๆ จึงน่าสนใจว่า มีกระบวนการใดหรือเกิดอะไรขึ้นบ้างที่จะทำให้คนเปลี่ยนวิธีคิดในการดูแลสุขภาพ การใช้ชีวิต โดยมองทุกสิ่งอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน มีวิธีในการดูแลตนเองหรือหาความรู้อย่างหลากหลายไม่ยึดติดกับวิธีใดวิธีหนึ่งและเน้นการพึ่งตนเองเป็นสำคัญ โครงการฯ นี้จึงจัดเวทีให้คนที่มีลักษณะงานและการใช้ชีวิตคล้ายกัน มาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน แล้วทีมงานค้นคว้าเพิ่มเติมและรวบรวมเป็นการเรียนรู้ของแต่ละกรณีศึกษา รายงานนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือกรอบแนวคิดซึ่งกล่าวถึงความหมายของคำว่ากระบวนทัศน์ สุขภาพ และการเรียนรู้ ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร และกระบวนทัศน์สุขภาพเก่ากับใหม่เป็นอย่างไร ตลอดจนวิธีการทำงาน ข้อสังเกตเชิงวิเคราะห์เป็นบทสรุปที่ได้จากการประมวลจากเรื่องราวของกรณีศึกษาว่า การเรียนรู้นั้นมีลักษณะเฉพาะและพอเหมาะพอดีกับวิถีชีวิตของแต่ละคน ไม่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ชัดเจนนัก ส่วนที่สองเป็นจดหมายถึงเพื่อน บอกเล่ารายละเอียดของเรื่องราวชีวิตของแต่ละกรณีศึกษา โดยเรียงร้อยตามลักษณะร่วมของการศึกษา รวม 11 ฉบับ โดยที่ ฉบับที่ 1 เล่าถึงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์และวิธีการทำงานของโครงการนี้ ฉบับที่ 2 เริ่มเล่าเรื่องกรณีศึกษา โดยเริ่มจากกรณีของแก้วไดอารี่ และเอ๋ ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อ HIV ทั้งคู่มีตัวชี้วัดทางการแพทย์ที่ต่างกัน มีพื้นฐานครอบครัวแตกต่างกันมาก แต่ทั้งสองมีชีวิตที่มีสุขภาวะ คือ มีความสุขพอสมควร แก้วมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ ขณะที่เอ๋ เกิดการเรียนรู้จากชีวิตจริงที่ต้องเผชิญทุกข์อย่างสาหัส ฉบับที่ 3 กล่าวถึงกลุ่มที่ใช้การเรียนรู้นอกระบบเพื่อแก้ปัญหาการศึกษาให้ลูก และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวิธีคิดเกี่ยวกับสุขภาพด้วย เช่นเดียวกับกรณีของผู้ทำสื่อ คือคุณรัศมี ดีเจที่เป็นสื่อกลางระหว่างแพทย์กับคนไข้ จึงได้เรียนรู้จนเปลี่ยนวิธีคิดไป ส่วนคุณกนิษฐาผู้เปลี่ยนวิถีชีวิตจากผู้หญิงทำงานมาเป็นแม่ก็ได้เรียนรู้จากสื่อต่างๆ ว่าควรทำอย่างไรชีวิตจึงมีสุขภาวะ ทั้งกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นชีวิตของคนชั้นกลางที่หาทางแก้ไขปัญหาของตน โดยยังดำรงชีวิตในสังคมเมือง ฉบับที่ 4 เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวคนพิเศษ รวมทั้งบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับบุคคลพิเศษทั้งแพทย์และผู้ฝึก ด้วยปัญหาที่ซับซ้อนเกี่ยวข้องกับทั้งด้านการแพทย์ การศึกษา และการใช้ชีวิตสถานภาพในสังคม การดิ้นรนเพื่ออยู่รอดในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีของคนกลุ่มนี้ จึงมีลักษณะเฉพาะ ต้องแสวงหาและปฏิบัติเองอย่างเชื่อมโยง จึงจะดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะได้ ฉบับที่ 5 กล่าวถึงผู้เยียวยาซึ่งมีบทบาทเป็นแพทย์ในสังคม คนหนึ่งกำลังป่วยหนักด้วยโรคร้ายต้องเปลี่ยนวิธีคิดในการดูแลสุขภาพ เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่กับโรคให้ได้ ขณะที่อีกคนแม้จะเข้มแข็ง แต่ก็ต้องปรับตัวมาก ด้วยการเรียนรู้ผ่านศาสตร์ที่ลงลึกถึงภายใน คือ นพลักษณ์ จึงสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้ ฉบับที่ 6 ชีวิตของคนที่ให้ความสำคัญกับการขัดเกลาจิตวิญญาณภายในเป็นเรื่องสำคัญต้องทำงานทั้งกับตนเองและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้อื่นด้วย คือ ใช้แนวทางธรรมเป็นกระบวนการสำคัญในการเปลี่ยนวิธีคิด ฉบับที่ 7 เป็นชนชั้นกลางที่สนใจชีวิตด้านในเช่นกัน แต่เลือกวิธีที่ต่างกันออกไป เช่นโยคะ และธรรมยาตรามาเป็นแนวทางในการขัดเกลาตนเอง ฉบับที่ 8 กล่าวถึงชีวิตของผู้ทรงภูมิปัญญาในต่างจังหวัด 2 คน ที่แม้จะไม่ได้เรียนในระบบจนจบระดับสูง แต่สามารถใช้สติปัญญาพลิกวิกฤติชีวิตให้เป็นโอกาสในการเรียนรู้และสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้อื่นด้วย ขณะที่ตนเองก็ดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะในชุมชนถิ่นกำเนิด ฉบับที่ 9 ชีวิตของคนทำงานกับฐานชุมชน คือ ครูสุรินทร์ผู้ที่เรียนรู้จากถิ่นเกิดแล้วพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้ลูกหลาน จากวิถีชิวิตที่พลิกผันตลอดมา และชีวิตของคนชั้นกลางอีกคนหนึ่งที่รู้ตัวและกล้าที่จะเลือกเป็นเกษตรกรแบบไม่ต้องตามกระแส จนกระทั่งมีชีวิตในลักษณะที่ต้องการ ขณะเดียวกันก็ขยายการเรียนรู้สู่ชุมชนด้วย ฉบับที่ 10 ชีวิตของคน 2 คนที่ต่างกัน คนหนึ่งเป็นคนที่ “ป่วย” มีชีวิตที่ขาดไปทุกอย่างต้อง ต่อสู้กับทั้งโรคทางกายและโรคทางสังคม แต่ก็สู้จนได้รับการยอมรับ ขณะที่คุณสุชาญชนชั้นกลางผู้เพรียบพร้อม แต่อุทิศชีวิตเพื่อปฏิบัติเยียวยาให้ผู้อื่นๆ เพราะได้พบและตระหนักถึงวิถีการเยียวยาแบบชำระล้างบำบัดของ MOA ฉบับที่ 11 ชีวิตของบุคคลที่มีการเรียนรู้ไม่เหมือนใคร เกิดในสภาพแวดล้อมที่ราวกับโลกยุคโบราณที่เรียนรู้จากผู้รู้ใกล้ตัว ต้องฝากตัวเป็นศิษย์กับครูที่ละคน เรียนรู้เป็นเรื่องๆ ไป จนนำมาสู่วิถีชีวิตที่ต้องการจะช่วยเหลือผู้อื่น โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่เรียนรู้มาด้วยตนเอง บทสรุป ด้วยรูปแบบการสนทนากันของเพื่อนสองคน คือ ข้อคิดที่ประมวลได้จากกรณีศึกษา ซึ่งเมื่อถึงที่สุดแล้ว กระบวนทัศน์สุขภาพที่เปลี่ยนไปของแต่ละคน เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่พอดีของวิถีชีวิตของแต่ละคน ซึ่งต้องมีการฝึกฝนการมองจากภายในที่ถูกต้อง เที่ยงตรงต่อความเป็นจริง จึงจะนำพาไปสู่ความคิดใหม่ได้ และต่อท้ายด้วยประเด็นที่น่าจะศึกษาต่อ
บทคัดย่อ
The “Forum on a New learning Paradigm to Healthiness” project emerged from the impression that the current health-care system emphasized solely on the aspect of medical treatment after people falling ill. The learning process on health care is strictly in a vertical line, that is from “the learned ” to “the unlearned” and the general belief is that whenever one falls sick, one must go see a doctor. Hence one’s life and health focuses around one’s body, illness, and dependence on doctor, with regardless of other aspects of life and how they may affect one’s health. It currently comes to light that a number of diseases cannot be cured by modern medicine alone. Thoroughly regarding other aspects of health and life is likely to be the answer. The existing learning process, however, barred any other thinking frameworks. Nevertheless, when health problems increase, new learning outside the mainstream system occurred to cope with such problems in broader aspects of health, education, medicine, and lifestyle. The new learning process is acquired by both individuals and groups through various means such as using media, namely radio, book, and internet as well as taking action and practicing by oneself. It is interesting to study how these people have changed their views in taking care of their health and lifestyle. How they can cross over the old thinking framework. How they learn to view all things as a related whole. And how they come up with a new way in health-care based on self-reliance through various means and not clinging to any single approach. This research is divided into two parts. Part one is comprised of a framework of concept and an analytical observation. The framework includes the definitions of “paradigm”, “health”, “learning” and how they are related to one another. Also included here are what the old and new paradigms in health care and the working process of the research team. As for the analytical observation, it is the conclusion drawn from the case studies, that is learning process is quite unique and fit for each person’s way of life. There is no clear-cut pattern of learning. Part two consists of eleven letters written to a friend telling the detailed stories of each case study. They are as follows: Letter No. 1 explains the project’s background, objectives, and studying methods. Letter No. 2 tells the story of the case studies Kaew’s diary and Ae. Both are inflicted with HIV, but with different medical indications. They come from different family backgrounds, yet they lead a rather happy life. Kaew develops her learning process through the cyber world, while Ae learnt from a real life of suffering experiences. Letter No. 3 tells the story of a group of parents who use unconventional learning systems to solve their kid’s educational problems. Through this process they change their ways of life and gain a new idea about health. Letter No. 4 tells the story of special-need people and their families as well as doctors and therapist who work with them. The problems of this group are very complicated involving the aspects of medical, educational, and social status. Letter No. 5 is the story of two doctors, one suffered lethal disease, changes her way of thinking in health care in order to live peacefully with the serious illness. The other frustated with her working life, strengthens her mind to overcome the suffering by learning Enneagram. Letter No. 6 the learning process of a people who highly regards and inner life and practices dharma as a mean to change the way of thinking at Sathien dharmasatham and Chewakasem. Letter No. 7 is the story of a middle-class person who also focuses on an inner life, yet using yoga and, dharmayatra, a spiritual walk through the nature, to educate oneself. Letter No. 8 tells the lives of two folk scholars living in the countryside and with no conventional education. They use their wisdom to change a life crisis into an opportunity to learn new things and share their learning experience with others. Letter No. 9 is the story of a community-based social worker cum teacher, Kru Surin; and another story of a middle-class city woman who has the courage to lead a totally different life of a farmer. Letter No. 10 tells the story of two people with nothing in common. One is a “sick” person who seems to lack everything; another is a well-to-do middle class who dedicated his life to heal other people’s sufferings by MOA.(Mokighi Okada Association) Letter No. 11 is a unique life of a person who was born in primitive surroundings yet becomes a learnt man by studying with many scholars in various skills and become to be a holistic healer. In all, what presented here in form a conversation between two friends is and idea compiled from all the case studies. The research team can eventually says that the changing of each person’s thinking paradigm on good health care occurred in accordance with certain factors in each person’s way of life. Moreover, they need some practice to attain and insight to understand things as they really are. And this helps elevate them to a new paradigm of thinking.