• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

สถานการณ์และผลกระทบต่อสุขภาพของการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม : กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลบางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา

ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร; Pharichat Wisutisamajar; วิเชียร จาฏุพจน์; อภินันท์ กำนัลรัตน์; วินิจ ชุมนูรักษ์; นิกร ยางทอง; ศิริบูรณ์ ลัพถิตโร; สุวรรณา ปัตตะพัฒน์; ดุลยวิช เกรียงสุวรรณ; Wichiar Jatuphot; Apinun Khamnalrat; Winit Chumnurak; Nikhon Yangthong; Siribun Laktitaro; Suwanna Phataphan; Dulayawit Khriansuwan;
วันที่: 2548
บทคัดย่อ
ประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สารเคมีภาคเกษตรกรรมจากกลุ่มตัวอย่างคือ พื้นที่ปลูกผักเชิงธุรกิจ หมู่ 10, 11 พื้นที่ปลูกผักบริเวณบ้านหมู่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 8 และพื้นที่ปลูกผักน้อยหรือไม่ปลูกผักหมู่ 7, 9, 12, 13 เมื่อพิจารณาจากระบบสารเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) มีแนวโน้มการขยายตัวของพื้นที่ปลูกผักเพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทั้งชนิดและปริมาณการใช้สารเคมีสูง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม วงจรการไหลของสารเคมีในพื้นที่พบว่าหาซื้อได้ง่ายมีขายทั่วไป จากการใช้แบบสอบถามและการฝึกอบรมแผนที่ทางสุขภาพ (body Mapping) พบว่ามีสารเคมีจำนวน 49 ชนิดจำแนกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ สารในกลุ่มอื่นๆ (62%) รองลงมา คือ ออร์แกโนฟอสเฟต (16%),ไพรีทรอยด์ (8%), ไธโอคาร์บาเมท (6%), คาร์บาเมท (6%) , พาราควอท (2%) เมื่อจำแนกตามระดับความเป็นพิษของสารเคมีพบว่า พิษปานกลางพบมากที่สุด (27%) รองลงมา ได้แก่ พิษน้อย (21%) พิษรุนแรง (8%) พิษรุนแรงมาก (3%) จนถึงไม่จำแนกระดับความเป็นพิษ (41%) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางกายใน 8 กลุ่มอาการเบื้องต้น คือ 1) ปวดศีรษะ คลื่นไส้ 2) ปวดเกร็งที่หน้าท้อง คลื่นไส้ อาเจียน 3) กล้ามเนื้อกระตุกหรือเกร็ง 4) กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชา 5) สายตาพร่ามัว น้ำตาไหล 6) แน่นหน้าอก หายใจติดขัด 7) หน้ามืด หมดสติ 8) อาการผื่นคัน หรือเป็นโรคผิวหนัง โดยพบว่า อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้เป็นอาการที่พบมากที่สุด ผลการฝึกอบรมแผนที่ทางสุขภาพพบว่า พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อประชากรกลุ่มเสี่ยงคือเด็ก ได้แก่ การจัดเก็บและการทิ้งทำลายภาชนะบรรจุสารเคมี ผลกระทบต่อสุขภาพด้านมิติทางจิต ทางสังคม ได้แก่ ความวิตกกังวลจากการอยู่อาศัยในบริเวณที่ปลูกผัก ความหวาดระแวง และความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรที่มาจากต่างถิ่นกับเกษตรกรที่เป็นผู้อยู่อาศัยมาแต่เดิม ผลกระทบด้านจิตวิญญาณเรื่องความภูมิใจในอาชีพเกษตรกรที่ลดลง ด้านเครือข่ายของเกษตรกรในพื้นที่พบว่ามีความพยายามรวมตัวเพื่อปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ แต่เนื่องจากการขาดความสามัคคี ผู้นำกลุ่มที่ไม่เข้มแข็ง และความต้องการในการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทำให้แต่ละกลุ่มมีแนวคิดที่แตกต่างกัน ขาดการประสานงาน ไม่มีการสร้างระบบเครือข่ายระหว่างองค์กร ต่างกลุ่มต่างทำจึงเกิดความล้มเหลวในการดำเนินงาน ผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลผลิต(output) ที่สำคัญจากการวิจัยครั้งนี้คือเวทีร่วมของเกษตรกรในพื้นที่และต่างถิ่น ในการร่วมกันตั้งปณิธานของการปลูกผักคือ พืชผักปลอดสารพิษ ชีวิตปลอดภัย ถูกสุขอนามัย ปลอดภัยสิ่งแวดล้อม การประสานเครือข่ายภายใต้ชื่อ กลุ่มผู้ผลิตผักปลอดสารพิษ และมีผลลัพธ์ (outcome) ที่สำคัญคือ การจัดตั้งโรงเรียนเกษตรกรชื่อ โรงเรียนเรียนรู้การเกษตรบางเหรียง และการรวมตัวของเกษตรกรในพื้นที่เป็นสมัชชาสุขภาพชุมชนปลูกผักบางเหรียง และกลุ่มเกษตรกรที่จะปรับเปลี่ยนใช้สารเคมีน้อยลงภายใต้ข้อเสนองานวิจัยอย่างต่อเนื่อง อันจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญและนำไปสู่การแก้ปัญหาการใช้สารเคมีภาคเกษตรกรรมในพื้นที่บางเหรียงอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1207.pdf
ขนาด: 7.007Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 6
ปีพุทธศักราชนี้: 3
รวมทั้งหมด: 400
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV