บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของสถานบริการ 3 ระดับคือ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัย โดยเลือกทำการศึกษาที่โรงพยาบาลแม่สอด โรงพยาบาลแม่ระมาด และสถานีอนามัยในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สอด และอำเภอแม่ระมาด รวม 28 แห่ง โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังในปีงบประมาณ 2540 (1 ตุลาคม 2539-30 กันยายน 2540) โดยแบ่งหน่วยต้นทุนในการศึกษาตามโครงสร้างของสถานบริการ คือโรงพยาบาลแม่สอด และโรงพยาบาลแม่ระมาด แบ่งกลุ่มหน่วยต้นทุนเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มหน่วยงานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NRPCC) กลุ่มที่ก่อให้เกิดรายได้ (RPCC) กลุ่มที่ให้บริการผู้ป่วย (PS) และกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ (NPS) ส่วนสถานีอนามัยแบ่งหน่วยต้นทุนเป็น 2 หน่วยต้นทุน คือ หน่วยต้นทุนชั่วคราว (TCC) และหน่วยรับต้นทุน (ACC) การวิเคราะห์ต้นทุนโรงพยาบาลใช้วิธีการกระจายต้นทุนแบบ Simultaneous Equation Method ส่วนสถานีอนามัยใช้วิธี Direct Distribution Method ผลการศึกษาพบว่าในโรงพยาบาลแม่สอดมี ต้นทุนค่าแรง : ค่าวัสดุ เท่ากับ 59 : 41 โรงพยาบาลแม่ระมาดมีต้นทุนค่าแรง : ค่าวัสดุ : ค่าลงทุน เท่ากับ 61 : 29 : 10 ส่วนสถานีอนามัยมีต้นทุนค่าแรง : ค่าวัสดุ : ค่าลงทุน เท่ากับ 43 : 42 : 15 ต้นทุนต่อครั้งของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลแม่สอดเท่ากับ 122 บาท โรงพยาบาลแม่ระมาดเท่ากับ 96 บาท ต้นทุนต่อรายผู้ป่วยในโรงพยาบาลแม่สอดเท่ากับ 5,734 บาท โรงพยาบาลแม่ระมาดเท่ากับ 1,945 บาท ส่วนสถานีอนามัยมีค่าเฉลี่ยต้นทุนงานรักษาพยาบาลเท่ากับ 74 บาท ต้นทุนต่อหน่วยบริการจำแนกระหว่างคนไทย และต่างชาติของโรงพยาบาลแม่สอด พบว่าคนไทยเท่ากับ 3,092 บาท และต่างชาติ เท่ากับ 5,781 บาท ส่วนค่าบริการที่เก็บจากผู้ป่วยใน ในคนไทยเท่ากับ 4,123 กับ 4,123 บาท และต่างชาติ 3,769 บาท ซึ่งเมื่อนำไปทดสอบทางสถิติพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 ต้นทุนรายโรคโดยเฉลี่ยพบว่าในโรค Typhoid, Malaria, Caesarean Section ในคนไทยและคนต่างชาติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 ต้นทุนต่อหน่วยบริการแยกตามรายโรคและแยกตามเชื้อชาติของโรงพยาบาลแม่ระมาดสำหรับผู้ป่วยในแยกตามเชื้อชาติพบว่าคนไทย เท่ากับ 1,710 บาท/ราย ต่างชาติเท่ากับ 1,640 บาท/ราย พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผู้ป่วยนอกพบว่าคนไทยเท่ากับ 48 บาท/ครั้ง ต่างชาติเท่ากับ 56 บาท/ครั้ง พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต้นทุนแยกรายโรคผู้ป่วยนอกแยกตามเชื้อชาติของโรงพยาบาลแม่ระมาดพบว่าต้นทุนรายโรค Pharyngitis ในคนไทยและต่างชาติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 ส่วนต้นทุนรายโรคของผู้ป่วยในจำแนกตามเชื้อชาติพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
บทคัดย่อ
A study was conducted to determine the unit cost of provision of health services in all 3 levels of health care centers along the Thai-Myanmar border in Tak Province between 1 October 1996 and 30 September 1997. Health care settings included Mae Sot General Hospital (310-bed), Mae Ramat Community Hospital (30-bed), and all 29 health centers in Mae Sot District and Mae Ramat District. We used the simultaneous equation method for cost analysis in the hospital and the district distribution method for the health center. Units in the hospital were classified ad 1) non-revenue producing cost center, 2) revenue producing cost center, 3) patient service, of 4) non-patient service, Unit categories for the health center were transient cost center and Absorbing Cost Center ACC The ratio of labor cost: material cost for the general hospital was 59 : 41. The ration of labor cost : material cost : capital cost was 61 : 29 : 10 for the community and 43 : 42 : 15 for the health center. The unit cost for out-patient service was 122 baht for the general hospital, 96 for the community hospital, and 74 for the health center. The in-patient unit costs for the general and community hospitals were 5,734 and 1,945 baht respectively. The in-patient unit cost in the general hospital was significantly (p<0.05) lower among Thai patients (3,092 baht) than Myanmars (5,781 baht). Significant differences (p<0.05) in the unit cost by disease between Thais and Myanmars were detected for thyroid disease, malaria, ceasarean section and uncomplicated appendicitis, They were no significant differences between Thail and Myanmar patients in both out-patient (48 VS 56 baht respectively) and in-patient (1,710 vs 1,640 baht) unit costs in the community hospital. However, the unit cost by disease for out-patient service in the community hospital was significantly (p<0.05) different between Thais and Myanmars only in pharyngitis whereas such differences were not found for in-patient service.