dc.contributor.author | วีระศักดิ์ พุทธาศรี | th_TH |
dc.contributor.author | Weerasak Putthasri | en_US |
dc.contributor.author | วันทนีย์ อุ่นจันทร์ | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:24:26Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:41:24Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:24:26Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:41:24Z | |
dc.date.issued | 2545 | en_US |
dc.identifier.other | hs0918 | en_EN |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/2080 | en_US |
dc.description.abstract | การสังเคราะห์บทบาทและโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของวิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลน้ำพองจังหวัดขอนแก่น สรุปได้ดังนี้ 1. โรงพยาบาลน้ำพองได้ยึดแนวคิดการดำเนินงานระดับปฐมภูมิ ได้แก่ การบริการแบบองค์รวม การดูแลอย่างต่อเนื่องและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จากการสรุปบทเรียนที่ผ่านมาของโรงพยาบาลน้ำพอง จึงได้พัฒนาแนวทางการดำเนินงานปฐมภูมิดังนี้ 1) ให้บริการในมิติของความเป็นมนุษย์ เข้าชีวิตและวัฒนธรรม 2) ทำความรู้จักผู้ป่วยทั้งในห้องตรวจโรคและในชุมชน 3) ครอบครัวเป็นบริบทในการบริการสุขภาพ และ 4) ประชาชนมีส่วนร่วม 2. โครงสร้างของหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลน้ำพองได้จัดตั้งศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัวที่ให้บริการทั้งในศูนย์และนอกศูนย์ โดยพยาบาลชุมชนจะทำงานนอกศูนย์ มีเส้นทางการเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทั้งในชุมชน โรงพยาบาลและส่งต่อไปยังระดับสูงขึ้น 3. ดำเนินงานปฐมภูมิของโรงพยาบาลน้ำพองที่เป็นจุดเด่นคือการเชื่อมโยงกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีวิสัยทัศน์ที่จะดำเนินการจัดหาบริการสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ตามแนวทางการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ด้วยการมีพยาบาลให้การดูแลประชาชน ในระยะเริ่มต้นได้สนับสนุนโครงการสุขภาพต่างๆ การจ้างพยาบาลชุมชน การให้ทุนแก่นักเรียนในพื้นที่มาศึกษาที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4. การให้บริการสุขภาพประจำวัน พยาบาลจะใช้เวลาวันละไม่เกิน 1 ชั่วโมงในการตรวจรักษาโรคเบื้องต้น การให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพ การเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยเวลาที่เหลือส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญกับการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยและกลุ่มที่ขาดการรักษา การทำงานในชุมชนจะทำความรู้จักชุมชน ชาวบ้าน เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับชุมชน และจัดโครงการสร้างสุขภาพในชุมชน เพื่อการพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพของชุมชน 5. บทบาทของพยาบาลชุมชน ครอบคลุมถึง การจัดการกับปัญหาสุขภาพของชุมชน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นแบบอย่างของการแก้ไขปัญหาแก่ชาวบ้าน มีความเอื้ออาทรเพื่อสนองตอบต่อความต้องการสุขภาวะทางด้านสังคมและจิตวิญญาณ พัฒนาเครือข่ายการดูแลสุขภาพในชุมชน เข้าถึงกลุ่มประชากรที่ด้อยโอกาส พิทักษ์สิทธิให้กับประชาชน และสนับสนุนการทำบทบาทผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 378298 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Primary Care | en_US |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ | en_US |
dc.subject | สถานบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทวิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีโรงพยาบาลน้ำพอง | th_TH |
dc.title.alternative | The Role and Structure of Primary Care Service System: in the Context of Health Professional and Health Services: Case Study of Nam Pong Hospital | en_US |
dc.identifier.callno | W84.6 ว849ก 2545 | en_US |
dc.identifier.contactno | 45ค056 | en_US |
dc.subject.keyword | โรงพยาบาลชุมชน | en_US |
dc.subject.keyword | พยาบาล | en_US |
dc.subject.keyword | ทันตแพทย์ | en_US |
.custom.citation | วีระศักดิ์ พุทธาศรี, Weerasak Putthasri and วันทนีย์ อุ่นจันทร์. "การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทวิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีโรงพยาบาลน้ำพอง." 2545. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2080">http://hdl.handle.net/11228/2080</a>. | |
.custom.total_download | 122 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 2 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |