• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ระบบโครงสร้างและกลไกในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและสังคม ในการอนุรักษ์ พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถิไท (Empowerment)

อุษา กลิ่นหอม; Usa Khlinhom; ยงยุทธ ตรีนุชกร; Yongyut Treenuchakorn;
วันที่: 2548
บทคัดย่อ
ผลจากการทบทวนเอกสารและจากการศึกษากรณีต่างๆ พบว่าการขับเคลื่อนการพัฒนาการแพทย์นอกกระแสหลักที่ผ่านมาและต่อยอดสู่อนาคต มีปัจจัยร่วมที่สำคัญที่จักส่งผลให้เกิดความสำเร็จดังนี้ 1.รัฐต้องดำเนินนโยบายและกระบวนการให้สอดคล้องกัน โดยส่งเสริมให้กลไกในการประสานงาน การศึกษา การวิจัย ดำเนินการในการเปิดพื้นที่ให้การแพทย์นอกกระแสหลักแต่ละระบบพัฒนาตนเองในบริบทที่มีเขตแดนประสิทธิภาพสูงสุดและเกิดการผสมผสานระหว่างการแพทย์ระบบต่างๆ ในลักษณะการส่งต่อที่รู้ข้อจำกัดและข้อเด่นของแต่ละสาขา 2. การรวมตัวเป็นเครือข่ายทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้สังคมยอมรับมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความชัดเจนในแนวคิดหลักเรื่องระบบสุขภาพที่ต้องมีระบบทฤษฎีโรคและระบบดูแลสุขภาพที่เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น การมีผู้นำที่ดี การมีผู้อำนวยการกระบวนการ (Facilitator) และกลไกเชื่อมต่อ การดำเนินกระบวนการต้องทำอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนทุนต้องคำนึงถึงธรรมชาติของการแพทย์นอกกระแสหลักในแต่ละสาขา 3. การสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประเทศอื่นๆ เป็นพลังที่ช่วยให้เกิดการทบทวนตนเอง กำลังใจและเกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง 4. การสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดวิธีวิทยาใหม่ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการรักษาโดยการแพทย์นอกกระแสหลักหรือการแพทย์แบบตะวันออก 5. การให้รางวัลยกย่องบุคลากรที่ดำเนินการเกี่ยวกับการแพทย์นอกกระแสหลักของสถาบันต่างๆ เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการกระตุ้นให้ชุมชนได้เห็นความสำคัญ เช่น การจัดสรรรางวัลเกียรติคุณให้กับหมอพื้นบ้านของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ ทำให้สังคมรู้จักและเคารพยอมรับคุณค่าของระบบการแพทย์พื้นบ้านที่มีอยู่ในชุมชนมากขึ้นและน่าจักมีความหมายมากกว่าการให้ใบประกอบโรคศิลปะ 6. การแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยระบบการแพทย์นอกกระแสหลักในชนชั้นกลางและกลุ่มชนชั้นสูง ก่อให้เกิดศรัทธาอย่างลึกซึ้ง สามารถรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายได้อย่างเหนียวแน่น 7. การบูรณาการประเด็นต่างๆ ที่ยังติดขัดอยู่ในการแพทย์นอกกระแสหลักในแต่ละสาขาต้องสร้างกลไกเฉพาะ เชิญบุคคลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปมปัญหานั้นๆ มาร่วมกันระดมสมองและกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ร่วมกันทำงาน 8. การแพทย์นอกกระแสหลักต้องพัฒนาให้เกิดความชัดเจนหรือผสมผสานให้เกิดความชัดเจนทั้งระบบโรคและระบบดูแลสุขภาพ โดยมีเป้าหมายที่ชัดจนในการตอบสนองกลุ่มคนระดับใดและมีการพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การวิจัย อีกทั้งเวทีในการแสดงผลงานที่ทัดเทียมกัน 9. กลไกองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์นอกกระแสหลักแต่ละสาขา มีการประเมินผลทบทวนตนเองเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง และมีการนำเสนอผลงานวิชาการ นวัตกรรมสุขภาพ ให้เกิดการเรียนรู้และสร้างยุทธศาสตร์กระบวนการร่วมกันทุกปี
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1227.pdf
ขนาด: 489.6Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 59
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV