บทคัดย่อ
วิกฤตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 เป็นภาวะวิกฤติที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกระดับอย่างรุนแรง ผลกระทบเกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสงขลา จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าภาวะวิกฤติเช่นนี้ส่งผลกระทบถึงระบบบริการสุขภาพโดยเฉพาะการจัดบริการในพื้นที่ชนบท บริการผู้ป่วยนอกในระดับสถานีอนามัยลดลง ในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และพบปัญหาในระบบบริการส่งต่อระหว่างสถานบริการกรณีผู้ป่วยหนัก บุคลากรเกิดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์และความปลอดภัย เกิดการโยกย้ายของบุคลากรจากชนบทสู่เมือง และจากเมืองในพื้นที่เสี่ยงสูงสู่จังหวัดอื่น วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางในการแก้ปัญหา อันจะนำไปสู่การปรับการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพภายใต้วิกฤติทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อีกทั้งเป็นการทดลองใช้ต้นแบบการจัดการระบบสุขภาพในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ควบคู่กับการแก้ปัญหา ผลการศึกษาใน 4 ประเด็น 1) ระบบมาตรฐานความปลอดภัยของสถานบริการมีการพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัย ซึ่งมีหลักการสำคัญคือ การปรับระบบความปลอดภัยจาก soft target ไปเป็น hard target การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับหน่วยบริการ โดยมีชุมชนเป็นเกราะกำบัง และการวางตัวเป็นกลาง 2) การบริการในภาวะฉุกเฉินและระบบส่งต่อมีการพัฒนาศูนย์ประสานงานส่งต่อในระดับเขต จังหวัด และเครือข่ายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นรูปธรรม แต่ยังขาดคุณภาพของการดูแลส่งต่อจากจุดเกิดเหตุมายังสถานบริการ นอกจากนี้บุคลากรมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยระหว่างการส่งต่อ 3) ด้านระบบการเงิน การคลัง งบประมาณ มีการสนับสนุนงบประมาณ ทั้งในส่วนการดำเนินการ การลงทุน ค่าตอบแทนให้สถานบริการในพื้นที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมมีสภาพการเงินเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 4) ด้านระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมถึงการสร้างแรงจูงใจ สภาพความขาดแคลนบุคลากรในพื้นที่ยังดำรงอยู่ ถึงแม้จำนวนบุคลากรภาพรวมมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยประเทศเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะภาระงานที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ โดยมีความขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางในสาขาศัลยศาสตร์มากที่สุด
บทคัดย่อ
Background: Series of violence have ruined lives and properties of residents in Pattani, Yala, Narathiwas and some districts of Songkhla provinces since January, 2004. From the beginning, the violence inevitably has affected health care services, particularly primary health care in rural area. Outpatient in primary care units were decreasing while those in hospitals were increasing. Health personnel had been under enormous fear and stress of insecure living and working environment. Shortage of health personnel due to moving out of the crisis area was observed.
Objectives: To identify strategy and develop model for immediate intervention and long term health care system that appropriate to the southern violence crisis context.
Results:
• Security of health care facility and personnel:
Health practitioner and academia had developed security management package using the concept of neutrality and strengthening protection to harden soft target and immunizing with good and impartial health services which increase community acceptance to soften threat.
• Emergency medical care and referral system:
Regional and provincial referral center and expert consultation network were set up. However quality improvements in some area e.g. transfer from place of occurrence to health care facility are still needed. In addition to health personnel were worry about security during refer.
• Financing management:
Budget was increasing, mainly in operation, incentive and investment while expense was also increasing. Overall balance is slightly increasing.
• Human resource management:
Although number of overall health personnel is above the country’s average, shortage of some particular fields e.g. surgery is still a big problem due to increased workload from crisis.