• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาส่วนร่วมจ่ายค่ายาในระบบประกันสุขภาพของ 10 ประเทศ

เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์; ภูรี อนันตโชติ; ศิริตรี สุทธจิตต์; อุบลพรรณ ธีระศิลป์; พลอยวรงค์ เหลืองไตรรัตน์;
วันที่: 2550
บทคัดย่อ
ระบบประกันสุขภาพไทย ควรมีการเก็บส่วนร่วมจ่ายหรือไม่และอย่างไร เป็นคำถามนโยบายที่สำคัญคำถามหนึ่งในการจัดระบบประกันสุขภาพ ส่วนร่วมจ่ายยาเป็นหนึ่งในประเด็นที่มีการอภิปรายกัน การเก็บส่วนร่วมจ่ายในบริการสุขภาพเป็นนโยบายที่มีใช้กันมาเป็นระยะเวลานานในหลายประเทศ สำนักงานวิจัยระบบประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ได้มอบหมายให้ศูนย์สารสนเทศและวิจัยระบบยา (ศสวย.) ทำการทบทวนประสบการณ์มาตรการเกี่ยวกับส่วนร่วมจ่ายค่ายาและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยาของประเทศต่างๆ จำนวน 10 ประเทศ ทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ และเสนอข้อพิจารณาสำหรับการพัฒนาระบบส่วนร่วมจ่ายในประเทศไทย ประเทศ 10 ประเทศที่ทำการศึกษาในรายงานชุดนี้ ประกอบด้วย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฟินแลนด์ ระบบประกันสุขภาพของทุกประเทศที่ทำการศึกษามีการใช้ระบบส่วนร่วมจ่ายค่ายา เพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยที่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าของทุกประเทศ ใช้วิธีการจ่ายค่ายาแบบตามรายการ ส่วนร่วมจ่ายที่ใช้มีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่เก็บเป็นร้อยละของค่ายา (coinsurance) มีการเก็บเป็นจำนวนคงที่ (flat rate) และการเก็บส่วนแรก (deductible) และมีระบบที่ใช้หลายวิธีผสมผสานกัน ลักษณะที่สำคัญยิ่งของการกำหนดส่วนร่วมจ่าย คือ การเก็บส่วนร่วมจ่ายในอัตราที่ไม่เท่ากันสำหรับกรณีต่างๆ โดยมีการแยกแยะตามเกณฑ์ เช่น ประเภทของยา ยาต้นแบบหรือยา generic มูลค่ายา ชนิดของบริการหรือความเจ็บป่วย รายได้ของผู้ป่วย อายุ พื้นที่ที่ตั้งของสถานพยาบาล ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุผลของนโยบายเฉพาะ ระบบประกันสุขภาพส่วนใหญ่มีกลไกการปกป้องมิให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาการเข้าถึงยาเนื่องจากต้องร่วมจ่าย (safety net) ซึ่งมีวิธีการต่างๆ เช่น การกำหนดเพดานร่วมจ่าย ซึ่งอาจแตกต่างกันในกลุ่มประชากรแต่ละกลุ่ม หรือยกเว้นกลุ่มประชากรบางกลุ่ม ผู้ป่วยบางโรคไม่ต้องร่วมจ่าย การกำหนดว่าระบบประกันสุขภาพจะครอบคลุมยาชนิดใด โดยการจัดทำบัญชียาแบบ positive list หรือไม่ครอบคลุมยาชนิดใด โดยการจัดทำบัญชียาแบบ negative list การตั้งราคายาที่เบิกจ่าย รวมถึงกลไกในการพิจารณาบัญชีรายการยาและบัญชีราคายา เป็นองค์ประกอบสนับสนุนที่สำคัญในระบบส่วนร่วมจ่าย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1432.pdf
ขนาด: 1.801Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

แจ้งปัญหาการดาวน์โหลด | คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 3
ปีงบประมาณนี้: 18
ปีพุทธศักราชนี้: 7
รวมทั้งหมด: 477
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2190]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [529]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [86]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [273]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [91]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [129]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1099]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [207]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [19]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV