บทคัดย่อ
การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยวัณโรค และแนวโน้มการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอราษีไศล เพื่อทราบถึงสถานการณ์แนวโน้ม ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ มาเปรียบเทียบกับการดำเนินงานของคลินิกวัณโรคอำเภอราษีไศลรอบหลายปีที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่การวางแผนในการควบคุมโรคของพื้นที่ในระยะยาว โดยเก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างทั้งในลักษณะการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก และข้อมูลจากทะเบียนรายงาน ในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคที่มาขึ้นทะเบียนและรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลราษีไศล ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 – 30 กันยายน 2549 จำนวน 134 คน (จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 148 คน) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.2 เป็นชาย ร้อยละ 40.3 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 88.1 มีการศึกษาระดับชั้นประถม ร้อยละ 71.19 มีอาชีพทำนา ร้อยละ 70.1 เคยฉีดวัคซีนบีซีจี ร้อยละ 11.2 เป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 1.5 เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติอาศัยร่วมบ้าน และใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคมาก่อนถึงร้อยละ 70.1 พฤติกรรมการดูแลตนเองและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยพบว่ายังปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง คือ ผู้ป่วยวัณโรคปอด ร้อยละ 46.8 ไม่สวมผ้าคลุมปากจมูก ร้อยละ 36.7 ไม่มีการกำจัดเสมหะที่ถูกวิธี ร้อยละ 33.6 ไม่แยกที่นอนของใช้ขณะเริ่มรักษา และร้อยละ 35.8 ไม่แยกภาชนะบริโภคอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการตรวจเสมหะผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคคลินิกวัณโรคของอำเภอราษีไศล ซึ่งมีการตรวจน้อยมาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแพร่เชื้อวัณโรคระหว่างผู้ป่วยกับผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน จากการศึกษาครั้งนี้ได้ข้อคิดว่าการควบคุมวัณโรคให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะใช้เฉพาะการรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ จะต้องมีการเร่งค้นหากลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคในบ้านเดียวกัน เพื่อจะได้นำมาบำบัดรักษาก่อนที่จะแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลที่ใกล้เคียงต่อไป ตลอดจนต้องใส่ใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เพื่อให้การควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อ
This report is aimed at studying the management trend of Rasisalai Clinic and the
general data on the occurrence of new tuberculosis cases in Rasisalai district, Srisaket
Province, for creating a proper TB control planning program. An interview survey was
conducted at the TB clinic; all 134 TB cases had been registered between October 1, 2005 and September 30, 2006. The majority were males (64.2%), had a primary school level of
education (88.1% ), were farmers (71.9%) and were more than 60 years old (40.3%).
These patients were more likely to have been vaccinated with BCG (70.1%) than not
vaccinated (29.9%). The study population also had other health indications as follows:
DM 11.2 percent and HIV infection 1.5 percent. The most important factor was contact
with TB cases in their households (70.1%). Improper protection measures between TB
patients and their relatives could account for the occurrence of new TB cases: no mask
(53.2%), improper sputum collection (36.7%), no isolated bedroom (33.6%) and no isolated
eating area (35.8%). These behaviors were relevant to poor management of the
Rasisalai TB Clinic in terms of screening TB contacts in the households and in terms of
protective education.
We concluded that the effective TB treatment regimen offerred by DOTS to control
TB prevalence was not enough; the incidence of TB cases is still rising. We purpose speeding
up the screening of new cases in different high-risk groups, especially for persons
contacting tuberculosis cases in the same household. Proper protective behavior between
the TB patients and their relatives staying with them is imperative. A good clean environment
is another issue that should be the responsibility of the community at every level.