บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคปวดหลังส่วนล่างของผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 347 ราย มารับบริการในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแล้วทำการวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผู้ป่วยร้อยละ 64.3 เป็นผู้หญิง อายุเฉลี่ย 48 ปี มีสถานภาพสมรสคู่ มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 37.2 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 35.2 มีอาชีพรับราชการร้อยละ 41.2 และมีรายได้ครอบครัวที่ไม่สมดุลมากที่สุด ร้อยละ 63.9 รองลงมาร้อยละ 29.1 มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาท ผู้ป่วยร้อยละ 56.4 มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ รองลงมามีสิทธิ์ในหลักประกันสุขภาพร้อยละ 34.0 ผู้ป่วยร้อยละ 49.9 ก้มลงยกของหนักด้วยสองมือ ร้อยละ 43.5 นั่งหรือยืนติดต่อกันเป็นเวลานานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง ร้อยละ 43.5 มีสาเหตุการปวดหลังมาจากการใช้งานของหลังผิดท่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 81.1 ไม่มีประวัติการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีประวัติสูบบุหรี่ ร้อยละ 87.3 มีการออกกำลังกาย ร้อยละ 65.1 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องสุขภาพที่อาจเกี่ยวข้องกับการบรรเทาอาการปวดหลังคือ การใช้ความร้อนประคบ ร้อยละ 80.7 ในส่วนของระดับความรู้การดูแลสุขภาพพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับปานกลางร้อยละ 61.4 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้คะแนนความพึงพอใจต่อวิธีการรักษาด้วยการนวดไทยหรือประคบ รองลงมาคือใช้ยาแผนปัจจุบันตามแพทย์สั่ง และส่วนใหญ่ทำการรักษา 1-3 ครั้ง ผู้วิจัยมีความเห็นว่าการแพทย์ทางเลือกน่าจะถูกรวมอยู่ในการรักษาผู้ป่วยโรคปวดหลังส่วนล่าง
บทคัดย่อ
This survey-based research was aimed at determining the factors associated with
low back pain, satisfaction levels, needs and suggestions regarding the service of the Bang
Pla Ma Hospital, Suphanburi Province. The sample comprised 347 patients undergoing
low back pain treatment more than once during the period October 1 to November 30,
2007. Data were collected by a structured questionnaire, analyzed and reported as frequency,
percentage and mean. Of the total number of patients, 64.3 percent were female (average 48 years and
married); 37.2 percent were graduated from primary school; 35.2 percent had a bachelor’s
degree. A good number of them were government officers (41.5%) and had moderate
salary (63.9%); those earning more than 20,000 Baht/month comprised 29.1 percent of the
total. Most the patients (56.8%) held the right of reimboursement and 34 percent had
rights under the health assurance scheme. Most of the low back pain occurred not only
when the patients lifted heavy objects using two hands while bending (49.9%), but also
when they had improper postures. They were mostly non-consumers of alcohol (81.8%)
and non-smokers (87.3%), and regularly exercised (65.1%). Patients had received health
education relating to low back pain, in particular using local heat massage (80.7%); however,
most had moderate knowledge about keeping healthy (61.4%). Patients were mostly
satisfied with Thai massage; the next highest level of satisfaction was among those taking
a prescription pill. Having treatments 1-3 times alleviated the symptoms of most patients.
Alternative medical therapies should be advised for patients with low back pain.