บทคัดย่อ
ค่าใช้จ่ายด้านยาเป็นส่วนสำคัญของค่าใช้จ่ายโดยรวมด้านสุขภาพ และมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการผู้ป่วยนอก การวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของการสั่งใช้ยาในปี 2546 – 2550 สำหรับกลุ่มข้อบ่งใช้ 5 กลุ่ม ได้แก่ ยาลดความดันโลหิต angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACEIs) และ angiotensin-2 receptor blockers (ARBs); ยาลดไขมัน statins และยาใหม่อื่นๆ; ยาต้านเกร็ดเลือด; ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร proton pump inhibitors (PPIs) และ histamine-2 receptor antagonists (H2As) และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) แบบดั้งเดิมและ coxibs ในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปรวม 6 แห่ง โดยพิจารณาองค์ประกอบของค่าใช้จ่าย 2 ด้าน คือ โอกาสใช้ยา เป้าหมาย และปริมาณยาที่ใช้ในลักษณะอนุกรมเวลาแบบเป็นช่วง (interrupted time-series) รวม 60 เดือน ก่อนและหลังนโยบายจ่ายตรงของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและการยกเลิกเงินร่วมจ่าย 30 บาทของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อพยากรณ์ค่าใช้จ่ายในปี 2551 และ 2552 และการประหยัดค่าใช้จ่ายในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการที่เป็นผลจากทางเลือกของการควบคุมค่าใช้จ่าย 3 มาตรการ คือ นโยบายแทนยาเป้าหมายด้วยยาทางเลือกการใช้ราคาอ้างอิง และการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการสุขภาพแบบล่วงหน้าในลักษณะเดียวกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผลการศึกษาพบว่ายาเป้าหมาย ได้แก่ ARBs, single-source statins, clopidogrel, single-source PPIs และ coxibs มีอิทธิพลต่อมูลค่ารวมและการเติบโตของค่าใช้จ่ายของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการสุขภาพแบบล่วงหน้าสามารถลดค่าใช้จ่ายของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการลงได้ตั้งแต่ประมาณร้อยละ 40 (กรณียาลดการหลั่งกรดและยาต้านการอักเสบ) ถึงร้อยละ 100 (กรณียาลดไขมัน) ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับการใช้มาตรการราคาอ้างอิง สำหรับมาตรการแทนยาเป้าหมายด้วยยาทางเลือกที่มีราคาถูกกว่า การประหยัดค่าใช้จ่ายขึ้นกับความสามารถในการแทนยา หากทำได้ร้อยละ 20 จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ประมาณร้อยละ 8 (กรณียาลดการหลั่งกรดและยาต้านการอักเสบ) ถึงร้อยละ 20 (กรณียาลดไขมัน) ค่าใช้จ่ายของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในกลุ่มข้อบ่งใช้เดียวกันจะลดลงร้อยละ 30-80 หากสามารถแทนยาเป้าหมายด้วยยาทางเลือกได้ร้อยละ 80
บทคัดย่อ
Drug expenditure is a lion share of health expenditure and grows rapidly in the Civil Servant
Medical Benefit Scheme (CS). This research analyzed electronic databases of drugs in 5 selected
therapeutic classes, including (1) antihypertensive drugs (angiotensin-converting enzyme inhibitors –
ACEIs and angiotensin-2 receptor blockers -ARBs); (2) antilipidemics (statins and other new
products); (3) antiplatelets; (4) antiulcerants (proton pump inhibitors –PPIs and histamine-2 receptor
antagonists -H2As); and (5) non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs, both conventional and
coxibs) that were prescribed during 2003 – 2007 from 6 provincial hospitals. The analysis focused on
a 60-month, interrupted time-series of 2 expenditure components, including propensity of use and
intensity of use, before and after the direct disbursement policy of the CS and the 30-Baht
abolishment in the Universal Healthcare Coverage Scheme (UC). The drug expenditure of each
therapeutic class was forecasted for the years 2008 and 2009 and potential cost-saving for the CS as a
result of 3 cost-containment strategies, including (1) substitution policy; (2) reference pricing; and (3)
UC-like prospective payment system (PPS) was estimated.
The study found that the drugs deemed as the cost-containment target, including ARBs,
single-source statins, clopidogrel, single-source PPIs, and coxibs had a major impact on the drug
expenditure of CS and its growth. The PPS could reduce the CS drug expenditure by approximately
40% (for PPIs-H2As and coxibs-NSAIDs) and 100% (for antilipidemics), which was comparable to
the reference pricing strategy. Potential cost-saving from the substitution policy depended on
substitutability in the real world setting, for example, the 20% substitutability would reduce the CS
expenditure by 8% (for PPIs-H2As and coxibs-NSAIDs) and 20% (for antilipidemics); whereas the
saving of 30-80% was expected, given substitutability of 80%.