บทคัดย่อ
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกคลอดเป็นภาวะที่พบได้บ่อยเป็นปรกติ แต่มีบางรายที่ต้องให้การรักษาที่เป็นมาตรฐานเบื้องต้น คือการส่องไฟเพื่อลดภาวะตัวเหลืองซึ่งเกิดจากระดับบิลิรูบินในเลือดที่อาจสูงมากถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อสมองทารก ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาย้อนหลังถึงผลการรักษาทารกแรกคลอดที่มีภาวะตัวเหลือง ด้วยการใช้เครื่องส่องไฟในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550 ในทารกแรกคลอดครบกำหนดที่มีภาวะตัวเหลือง โดยไม่มีการเจ็บป่วยอื่นร่วมด้วย เปรียบเทียบผลการรักษาด้วยเครื่องส่องไฟที่ไม่มีหลอดไฟฟลูออเรสเศนต์สีฟ้า และมีหลอดไฟฟลูออเรสเศนต์สีฟ้าในแผงไฟ เพื่อนำผลการศึกษาเป็นหลักฐานเชิงวิชาการประกอบการพิจารณาจัดหาเครื่องส่องไฟที่มีประสิทธิภาพในการรักษาทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ต่อไป ผลการศึกษาพบว่าในกลุ่มทารกแรกคลอดที่มีภาวะตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟรักษาที่ไม่มีหลอดไฟสีฟ้าในแผงไฟ มีระดับบิลิรูบินสูงสุดขณะให้การรักษามากกว่า และระยะเวลาในการพักรักษาในโรงพยาบาลนานกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยเครื่องส่องไฟที่มีหลอดไฟสีฟ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี < 0.05) แม้ว่าประสิทธิภาพของการส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง แต่ปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง คือ ชนิดของหลอดไฟที่ใช้ในเครื่องส่องไฟ จากผลการศึกษาผู้ศึกษาเสนอแนะว่าในการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกคลอดโดยการส่องไฟให้มีประสิทธิภาพสูงสุดควรใช้เครื่องส่องไฟที่มีหลอดไฟฟลูออเรสเศนต์สีฟ้าในแผงไฟด้วย
บทคัดย่อ
Neonatal jaundice is a common and, in most cases, benign problem in neonates. The
treatment of neonatal jaundice is indicated in pathologic jaundice and the goal of therapy
is to prevent the concentration of unconjugated bilirubin in the blood from reaching levels
at which neurotoxicity may occur. For more than three decades, phototherapy has been the standard of care for the initial treatment of neonatal jaundice. A retrospective
study about the result of treatment for neonatal jaundice compared between phototherapy
with and without blue light lamps was done in Thabo Crown Prince Hospital from October
1, 2004 to September 30, 2007. The purpose of this study was to identify which type of
lamp used in phototherapy was more effective in decreasing the blood bilirubin level.
This study showed that the highest blood bilirubin level during treatment with phototherapy
without blue light lamps was significantly higher and also the length of stays for
treatment was significantly longer than in the group that used phototherapy with blue
light lamps. Although many factors affect the efficacy of phototherapy in decreasing the
blood bilirubin level, one of the important factors is the type of lamps used. This study
suggests that, for the treatment of neonatal jaundice to be effective, phototherapy with
blue light lamps is recommended.