บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก 324 ราย ที่ได้รับการให้สุขศึกษาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2549 เป็นผู้มารับบริการเพื่อตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ 67.5 และร้อยละ 17.3 มาพบแพทย์ตามนัด เป็นผู้หญิง ร้อยละ 63.6 มีการศึกษาต่ำกว่าอนุปริญญา ร้อยละ 50.3 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 9 อาชีพแม่บ้าน ร้อยละ 33.9 และรับจ้าง ร้อยละ 26.8 การเลือกใช้บริการพบว่า ความรู้ความสามารถของแพทย์และพยาบาลเป็นปัจจัยเลือกมาใช้บริการมากที่สุด ร้อยละ 82.1 รองลงมาคือ โรงพยาบาลมีเครื่องมือที่ทันสมัย ร้อยละ 48.4 สื่อสารทางโทรทัศน์มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารมากที่สุด ร้อยละ 77.8 และการรับรู้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 48.5 จากการสอบถามความพึงพอใจต่อการให้สุขศึกษาแบบรายข้อพบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการให้คำแนะนำด้านสุขภาพของนักสุขศึกษา ร้อยละ 79.4 ภาษาที่ใช้เข้าใจง่ายในการสื่อสาร ร้อยละ 73 และการให้ผู้รับบริการศึกษาความรู้กับเอกสารแผ่นพับเอง ร้อยละ 30 จากการสอบถามความคิดเห็นในการกลับมาใช้บริการในครั้งต่อไป พบว่าผู้รับบริการจะแนะนำบุคคลที่รู้จักมาใช้บริการ ร้อยละ 93.8 เมื่อนำระดับความพึงพอใจในการให้สุขศึกษาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพมาหาความสัมพันธ์กันกับปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่าไม่สัมพันธ์กัน
บทคัดย่อ
This study was aimed at exploring satisfaction with health education about health promotion among 324 patients attending the outpatient department, King Chulalongkorn Memorial Hospital in the period from January to April 2006. The majority of them (63.6%) were women, whose education levels were lower than diploma in 50.3 percent; 6.0 percent had qualifications higher than bachelor’s degree. Their occupations were housewives and laborers in 33.9 and 26.8 percent, respectively. The reasons for the visit were annual check-up in 67.5 percent and follow-up appointment in 17.3 percent. The reasons for choice in attending this hospital were knowledge of its good service and the expertise of physicians and nurses (82.1%) and of its up-to-date medical equipment (48.4%). The study disclosed that television was the most influential medium (77.8%) and newspapers (48.5%).
Regarding satisfaction with the health education given, patients were most impressively satisfied with the health educators’ suggestions (79.4%), simple terms used in communication (73%) and patients’ self study of the documents and leaflets provided (30%). Another indication of satisfaction was that most patients were willing to recommend acquaintances to visit this hospital (93.8%). There were no associations of satisfaction for health education as such between health promotion and personal factors (sex, age, educational level, and occupation).