บทคัดย่อ
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่มีความสำคัญ 1 ใน 5 ของโรงพยาบาลสูงเม่น การศึกษานี้เป็นแบบตัดขวางเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกันเรื้อรังในโรงพยาบาลสูงเม่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุคกั้นเรื้อรังที่มารับบริการที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นของโรงพยาบาล ในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2550 จำนวน 167 คน ผลการศึกษา ผู้ป่วยร้อยละ 77.8 เป็นชาย อายุเฉลี่ย 68.2 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 94.0 มีประวัติสูบบุหรี่และยังคงสูบบุหรี่อยู่ ร้อยละ 26.7 การวินิจฉัยโรคอาศัยการตรวจสมรรถภาพปอดประกอบกับประวัติและการตรวจร่างกาย ร้อยละ 84.7 ผลการตรวจสมรรถภาพปอดพบว่าค่าเฉลี่ย FVC, FEV และ %FEV ร้อยละ 68.6, 55.5 และ 58.4 ตามลำดับ ผู้ป่วยร้อยละ 71.2 มีความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับปานกลางและรุนแรง การรักษาผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคระดับเล็กน้อยและปานกลางได้รับยามากเกินกว่าที่กำหนดไว้ในแนวทางการรักษา โดยเฉพาะยาธีออฟิย์ลลีนชนิดให้ระดับยานาน (Sustained-release theophyline) ที่มีการใช้ในอัตราสูงในทุกระดับความรุนแรงของโรค ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นสูดฤทธิ์ยาวและการรักษาด้วยออกซิเจนระยะยาวยังไม่มีการใช้เนื่องจากปัญหาด้านค่าใช้จ่ายระยะยาว การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโดยการจัดตั้งคลินิกโรคปอดอุคกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชน สามารถดำเนินการได้โดยการใช้ทรัพยากรในโรงพยาบาลตามศักยภาพที่มีอยู่เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บทคัดย่อ
Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) is one of the top five diseases treated
at Sungmen Hospital. This cross-sectional descriptive study was carried out to review
the management practice of COPD patients in Sungmen Hospital. The subjects studied
were 167 patients who attended the COPD Clinic from August to October 2007. The
majority of patients (77.8%) were male, with the mean age being 68.2 years. Ninety-four
percent of them had a history of smoking and 26.7 percent were still active smokers.
Diagnosis of COPD was made in 84.7 percent of the cases by history-taking, combined
with physical examination and pulmonary function test. The mean values of FVC, FEV1
and %FEV1 were 68.6, 55.5 and 58.4 percent, respectively. The patients were categorized
based on the severity of the disease; 71.2 percent of the patients suffered moderate to
severe disease. The study disclosed that COPD patients with mild to moderately severe
morbidity had received excessive medications, according to the COPD clinical practice
guidelines. Sustained-release theophylline was prescribed at a high rate in every stage of
severity of the patients. More needed long-acting beta-2 agonist inhalers and long-term
oxygen therapy, but these therapies were not available due to the patients’ economic constraints.
The therapeutic management of COPD patients, by establishing a COPD clinic
in a community hospital, using existing hospital resources, would offer better efficiency
in the diagnosis and treatment of COPD patients.