แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

บทสังเคราะห์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนและ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา

dc.contributor.authorนวลตา อาภาคัพภะกุลen_US
dc.date.accessioned2010-03-03T08:42:46Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:24:31Z
dc.date.available2010-03-03T08:42:46Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:24:31Z
dc.date.issued2552en_US
dc.identifier.otherhs1665en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2898en_US
dc.description.abstractนับตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน (มิถุนายน 2552) ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประกอบด้วยจังหวัด ปัตตานี ยะลาและนราธิวาสและบางส่วนของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอสะบ้าย้อย นาทวี เทพาและจะนะ ยังมีความรุนแรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีความพยายามของหลายฝ่ายมีการปรับยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ไขปัญหา แต่ก็พบว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้ลดลงอย่างที่คาดการณ์ไว้ จากข้อมูลอัตราการเกิดความรุนแรงรายวัน คือ 5.05 ครั้งต่อวัน (รายงานสถานการณ์เฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2551 ) ในแต่ละครั้งเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินสะท้อนให้เห็นถึงความสมานฉันท์ยังไม่ปรากฏ หลายภาคส่วนจึงร่วมมือกันหาทางที่จะแก้ไขปัญหาโดยใช้กระบวนการสร้างความเข้าใจระหว่างกันให้คนในพื้นที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ในพื้นที่ที่จัดได้ว่าเป็น “พหุวัฒนธรรม” ดังนั้นด้วยความพยายามของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหน่วยงานวิชาการทั้งจากภาครัฐ เอกชน ปราชญ์ และผู้รู้ในชุมชน จึงร่วมกันจัดให้มี “สุนทรียสนทนา” เกิดขึ้นโดยจัดเป็นยุทธศาสตร์ 3 ปี สิ่งที่คาดว่าจะได้มา คือการขยายกลุ่มพูดคุยสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันและเกิดนโยบายสาธารณะเพื่อเสนอต่อรัฐบาลกลางในการจัดเป็นนโยบายเพื่อการแก้ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป นอกจากการใช้กระบวนการสุนทรียสนทนาแล้วสวรส ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังได้นำข้อคิดดังกล่าวไปสังเคราะห์เพิ่มเติมและนำสู่เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จัดเวทีนักวิชาการเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำนโยบายให้สอดคล้องกับพื้นที่ผ่านความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและนำเสนอข้อคิดเห็นจากพื้นที่โดยผ่านพรรคการเมือง โดยสะท้อนแนวคิดและสิ่งที่คาดหวังว่ารัฐจะนำไปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นมานาน ทำให้เกิดภาพที่ชัดเจนขึ้น คือการร่วมคิด ร่วมทำ นำไปสู่การดำเนินการโครงการเยียวยาฯ ภายใต้แนวทางการดำเนินงานของสวรส ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเป็นตัวต่อเล็กๆ ที่เชื่อมโยงกับโครงการอื่นๆ ที่ดำเนินงานโดยองค์กรและหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมและการเมืองen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.format.extent707794 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleบทสังเคราะห์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนและ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลาen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA546 น318บ 2552en_US
dc.identifier.contactno51-070en_US
dc.subject.keywordการเยียวยาen_US
dc.subject.keywordนโยบายด้านสุขภาพen_US
dc.subject.keywordสามจังหวัดชายแดนใต้en_US
.custom.citationนวลตา อาภาคัพภะกุล. "บทสังเคราะห์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนและ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2898">http://hdl.handle.net/11228/2898</a>.
.custom.total_download75
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1665.pdf
ขนาด: 740.9Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย