แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

วิทยาการระบาดของโรคเบาหวานในอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด

dc.contributor.authorอดิศร วัฒนวงษ์สิงห์en_US
dc.contributor.authorAdisorn Watanawongsinghen_US
dc.coverage.spatialร้อยเอ็ดen_US
dc.date.accessioned2008-10-02T06:54:36Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T15:55:17Z
dc.date.available2008-10-02T06:54:36Zen_US
dc.date.available2557-04-16T15:55:17Z
dc.date.issued2551en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2,1 (ม.ค.-มี.ค. 2551) (ฉบับเสริม 3) : 655-664en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/290en_US
dc.description.abstractภูมิหลังและเหตุผล เพื่อศึกษาข้อมูลด้านระบาดวิทยาของเบาหวานในอำเภอพนมไพร และประเมินปัจจัยเสี่ยงเบาหวานในพื้นที่ตำบลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ระเบียบวิธีศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนาโดยการทบทวนข้อมูลเวชระเบียนของคลินิกเบาหวาน และข้อมูลประชากรจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลพนมไพรในปีงบประมาณ 2549 เพื่อวิเคราะห์ด้านวิทยาการระบาดของเบาหวาน และการสำรวจชุมชนเพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยง โดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้น และตรวจวัดค่าต่างๆ ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบเอว แรงดันเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหาร ระดับไตรกลีเซอไรด์ และโฆเลสเทอรอลความแน่นสูงของกลุ่มตัวอย่างอายุ 20 ปีขึ้นไป ในเขตตำบลพนมไพร ในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2548 ผลการศึกษาโรงพยาบาลพนมไพรมีประชากรในความรับผิดชอบทั้งหมด 100,870 คน มีประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 38,069 คน (ร้อยละ 37.7) มีผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมดจำนวน 2,648 ราย คิดเป็นความชุกร้อยละ 2.6 ของประชากรทั้งหมด จำแนกเป็นเบาหวานชนิดที่หนึ่ง 10 คน (ร้อยละ 0.4) เบาหวานชนิดที่สอง 2,630 คน (ร้อยละ 99.3) เบาหวานจากการตั้งครรภ์ 8 คน (ร้อยละ 0.3) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2547, 2548 และ 2549 เท่ากับ 299, 300 และ 192 คน คิดเป็นอุบัติการ 0.29, 0.30 และ 0.20 ต่อปีตามลำดับ การตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานพบภาวะแทรกซ้อนทางไตร้อยละ 8.4 ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทร้อยละ 2.0 ภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดแดงร้อยละ 1.7 ภาวะแทรกซ้อนทางตาร้อยละ 1.2 และภาวะแทรกซ้อนที่ต้องตัดอวัยวะร้อยละ 0.5 โดยมีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างร้อยละ 0.9 การสำรวจชุมชนจากกลุ่มตัวอย่าง 1,540 รายพบกลุ่มเป็นโรค 474 ราย (ร้อยละ 30.8) กลุ่มเสี่ยง 605 ราย (ร้อยละ 39.3) กลุ่มปรกติ 461 ราย (ร้อยละ 29.9) การวัดดัชนีมวลกายพบดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 ขึ้นไปในกลุ่มเป็นโรคร้อยละ 46.9 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 31.8 และกลุ่มปรกติร้อยละ 22.1 การวัดเส้นรอบเอวพบผิดปรกติในกลุ่มที่เป็นโรคร้อยละ 41.3 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 28.3 และกลุ่มปรกติร้อยละ 17.8 การวัดแรงดันเลือดพบผิดปรกติในกลุ่มที่เป็นโรคร้อยละ 84.6 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 97.4 การวัดระดับน้ำตาลในเลือดพบผิดปรกติในกลุ่มเป็นโรคร้อยละ 44.7 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 9.0 การตรวจระดับไตรกลีเซอไรด์พบมีค่าตั้งแต่ 250 มก./ดล. ขึ้นไปในกลุ่มเป็นโรคร้อยละ 27.6 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 14.2 และกลุ่มปรกติร้อยละ 12.0 การตรวจระดับโฆเลสเทอรอลความแน่นสูง พบมีค่าน้อยกว่า 40 มก./ดล. ในกลุ่มเป็นโรคร้อยละ 47.2 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 49.2 และกลุ่มปรกติร้อยละ 45.5 วิจารณ์ มาตรการที่ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อการจัดระบบบริการเบาหวานต้องเน้นทั้งด้านคุณภาพของการดูแลรักษาเบาหวาน การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และการดำเนินงานป้องกันหรือหน่วงเวลาการเกิดโรค โดยมุ่งลดปัจจัยเสี่ยงในชุมชนและการศึกษาวิจัยปัจจัยเสี่ยงต่อเบาหวานและกลุ่มความผิดปรกติทางเมตาบอลิสม เพื่อการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิผลต่อไปในอนาคต
dc.format.extent243727 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleวิทยาการระบาดของโรคเบาหวานในอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ดen_US
dc.title.alternativeEpidermiology of Diabetes Mellitus in Phanomphrai District, Roi Et Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeObjective: To study diabetes mellitus epidemiology in Phanomphrai district and to assess diabetes risk factors in the Phanomphrai sub-district (tambon). Methodology: Descriptively reviewed the Phanomphrai population and diabetes registration and services for epidemiologic data in fiscal year 2006, and carried out a community survey to assess diabetes risk factors through interviews using questionnaires and specimen collection among those aged 20 years and older in Phanomphrai tambon in the period July - September 2005. Results: The Phanomphrai population was 100,870, with 38,069 (37.7%) aged 40 or older; 2,648 diabetic patients were registered, with a prevalence rate of 2.6 percent. There were 10 (0.4%) with type 1 diabetes, 2,630 (99.3%) with type 2 diabetes, and 8 (0.3%) with gestational diabetes. New cases of type 2 diabetes totaled 299, 300 and 192 cases during 2004, 2005 and 2006, respectively, making the incidence rate 0.29 percent, 0.30 percent and 0.20 percent, respectively. After complication screening, there were 8.4 percent renal, 2.0 percent neurological, 1.7 percent arterial and 1.2 percent ophthalmologic complications with 0.5 percent experiencing amputation and 0.9 percent multiple complications. After the community survey of a total of 1,540 subjects, 474 (30.8%) were classified as cases of disease, 605 (39.3%) as being at risk and 461 (29.9%) as normal. Risks by body mass index (BMI ≥25) were 46.9 percent, 31.8 percent and 22.1 percent in the disease, risk and normal groups, respectively. Risks by abdominal circumference were 41.3 percent, 28.3 percent and 17.8 percent in the disease, risk and normal groups, respectively. High blood pressure was found in 84.6 percent and 97.4 percent in the disease and risk groups, respectively. Abnormal fasting blood glucose levels were 44.7 percent and 9.0 percent in the disease and risk groups respectively. Abnormal triglyceride levels (≥250 mg%) were found in 27.6 percent, 14.2 percent and 12.0 percent of the disease, risk and normal groups, respectively. High density lipoprotein levels (≤40 mg/dl) were 47.2 percent, 49.2 percent and 45.5 percent in the disease, risk and normal groups, respectively. Conclusions: Epidemiologic study helps increase understanding of the diabetes situation and disease burden, and indicates that diabetes has imposed huge public health and economic burdens. Measures of high priority must be emphasized in relation to the quality of care, information systems and the interventions made to prevent or delay diabetes in high-risk groups, and to study the risk factors for diabetes and metabolic syndromes for the development of efficacious preventive measures.en_US
dc.subject.keywordโรคเบาหวานen_US
dc.subject.keywordวิทยาการระบาดen_US
dc.subject.keywordปัจจัยเสี่ยงen_US
dc.subject.keywordDiabetesen_US
dc.subject.keywordEpidemiologyen_US
dc.subject.keywordRisk Factoren_US
.custom.citationอดิศร วัฒนวงษ์สิงห์ and Adisorn Watanawongsingh. "วิทยาการระบาดของโรคเบาหวานในอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด." 2551. <a href="http://hdl.handle.net/11228/290">http://hdl.handle.net/11228/290</a>.
.custom.total_download844
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month13
.custom.downloaded_this_year107
.custom.downloaded_fiscal_year35

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v2n1 ...
ขนาด: 242.1Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย