บทคัดย่อ
อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกในช่วงศตวรรษที่ผ่านไปเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น 0.74-0.18 องศาเซลเซียส (1.33-0.32 องศาฟาเรนไฮด์) ในขณะที่อุบติการณ์ของภัยธรรมชาติและโรคระบาดก็เพิ่มขึ้น มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อปัญหาโรคภัยไข้เจ็บและสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะโรคเขตร้อน ได้แก่ รายงานการพบผู้ป่วยประปรายในประเทศที่ตั้งอยู่แถบเขตอบอุ่น หรือในเขตระดับความสูงบางพื้นที่ที่ไม่เหมาะกับการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรีย เพราะการเจริญและระยะฟักตัวของเชื้อมาลาเรียในยุงจะเร็วขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ตลอดจนการทำนายโดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม พบว่าอุบัติการณ์และอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรียในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านไปนี้ยังคงที่คือปีหนึ่งๆ พบผู้ป่วยมาลาเรีย 300 ถึง 500 ล้านคน และประมาณ 1 ถึง 3 ล้านคนเสียชีวิต การระบาดของโรคมาลาเรียเป็นกระบวนการซับซ้อน ปัจจัยหลักคือมนุษย์ ยุงก้นปล่อง เชื้อมาลาเรีย และยังมีปัจจัยเสริมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น สภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ ระบบนิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจสังคม และพฤติกรรมมนุษย์ ดังนั้น การวิเคราะห์ผลกระทบของโรคต่างๆ จากภาวะโลกร้อนต้องทำเป็นองค์รวม ไม่ควรวิเคราะห์แยกเฉพาะปัจจัยหนึ่ง ในขณะที่การควบคุมโรคมาลาเรียก็ควรได้รับการส่งเสริมต่อไป โดยการพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัย การป้องกันและการศึกษาวิธีการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อโรคมาลาเรียในบทนี้ อาจเป็นหนึ่งตัวอย่างที่บ่งชี้ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคต่างๆ จากภาวะโลกร้อนอาจไม่รุนแรงดังเช่นสมมติฐาน อย่างไรก็ตามนักวิทยาการระบาดต้องติดตามสถานการณ์ต่อไปหากอุณหภูมิของพื้นโลกยังอุ่นขึ้นเรื่อยๆ สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การหามาตรการและแนวทางในการลดภาวะโลกร้อน ประกอบกับการรับรู้ข้อมูลการระบาดของโรคแบบองค์รวม
บทคัดย่อ
The global temperature has increased by 0.74 ± 0.18 °C (1.33 ± 0.32 °F ) during the past century. The
same period has seen an increase in natural disasters and disease outbreaks. Reviews of the evidence of
links between climate change and human health suggest that a warmer climate could result in increases in
mosquito-borne diseases like malaria due to increased reporting of malaria cases in temperate climates
and malaria epidemics in upland areas. Within the range of survivable temperatures, warmer temperatures
reduce the duration of the extrinsic cycle of malaria parasites in mosquito vectors. Therefore, higher
temperatures should result in higher rates of malaria transmission. Mathematical-model estimations suggest
that more deaths will be attributable from malaria. However, during the past decade, the number of
malaria cases has not changed markedly, with 300-500 million cases per annum and > 1-3 million deaths.The complex natural history of malaria transmission involves interactions between humans, anopheline
vectors, and malaria parasites. Many different factors influence these three primary components, including
climatic, ecological, environmental, socio-economic and human behavioral factors. Thus, malaria transmission
may not simply be affected only by global warming; the relative importance of all the factors
involved should be considered jointly. Measures to control malaria–developing new preventive methods,
improving diagnosis, more effective treatment should all be encouraged and supported. An analysis of
the impact of global warming on malaria has implications for the effects of global warming on other
disease outbreaks, i.e., that they may not occur, or if they do, they may not be as serious as some predict.
However, disease surveillance systems must be closely monitored by epidemiologists if global warming
persists. There is an urgent need for ongoing public debate regarding what, if any, action should be taken
to reduce future global warming, and the development of more holistic information about the epidemiology
of disease in this context.