บทคัดย่อ
การบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากมาย การศึกษาเชิงพรรณนาโดยวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บแห่งชาติ สำนักระบาดวิทยา ในช่วง พ.ศ. 2541-2550 มีจุดประสงค์เพื่ออธิบายแนวโน้มและลักษณะเชิงวิทยาการระบาด และพฤติกรรมเสี่ยงการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน สำหรับการวางแผนป้องกันการเกิดอุบัติเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตบนท้องถนนต่อไป จากการศึกษาพบว่าการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางถนนเป็นสาเหตุสูงสุดของการบาดเจ็บทุกประเภทคิดเป็นร้อยละ 51.6 ของรายเฉลี่ย 65,000 รายต่อปี, อัตราการป่วยตายร้อยละ 6.2-9.7, อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชายเท่ากับ 1:3 โดยจำนวนผู้บาดเจ็บรุนแรงสูงสุด ได้แก่ กลุ่มอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 33.29, อาชีพรับจ้างร้อยละ 35.0 และนักเรียน นักศึกษาร้อยละ 20.70 ประเภทยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ จักรยานยนต์ร้อยละ 75.67 เป็นผู้ขับขี่จักรยานยนต์ร้อยละ 88.62 ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เวลา 18.00-23.59 นาฬิกาเป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดร้อยละ 37.73-40.16 ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ร้อยละ 16.42 และ 16.32, เดือนธันวาคมมีอุบัติเหตุและการบาดเจ็บสูงสุดร้อยละ 9.31, มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในเดือนเมษายนร้อยละ 10.82 โดยสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ การชนร้อยละ 55.73, ล้ม คว่ำ ตกถนนร้อยละ 52.22, อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุขนส่งสูงสุดคือ ศีรษะร้อยละ 29.30 การใช้เครื่องดื่มขณะขับขี่ร้อยละ 36.37, ในกลุ่มอายุ 20-29 ปีร้อยละ 40.08, ช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ เดือนธันวาคม มกราคม และเมษายน เป็นช่วงที่มีการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และขับขี่ยานยนต์ประสบอุบัติเหตุสูงสุด, พฤติกรรมการสวมหมวกกันกระแทกขณะขับขี่จักรยานยนต์เฉลี่ยร้อยละ 13, และการสวมเข็มขัดนิรภัยร้อยละ 18.63 ; นำส่งสถานพยาบาลโดยญาติหรือผู้เห็นเหตุการณ์ร้อยละ 56.20, โดยหน่วยบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ร้อยละ 10.35 จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ขับขี่หรือโดยสารยานพาหนะยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่สูงมาก โดยเฉพาะการขับขี่และโดยสารจักรยานยนต์ ที่เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดในกลุ่มนักเรียนและวัยรุ่น ร่วมกับการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การไม่สวมหมวกกันกระแทก, การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย, การขับรถด้วยความเร็วสูง, การดำเนินการด้านการให้ความรู้ การกำหนดมาตรการกำกับด้านกฎหมายควรมีการดำเนินการอย่างเข้มงวด ต่อเนื่อง และบูรณาการเป็นสิ่งสำคัญที่จะแก้ปัญหาทำให้ลดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตได้
บทคัดย่อ
Road traffic injuries are a significant problem in developed and developing countries. The trend of
mortality owing to traffic accidents is increasing in Thailand. The objective of this descriptive study is to
describe the trend and characteristics of risky behavior related to road traffic injuries in Thailand during
the period 1998-2007. The study was conducted by using and analyzing data from the national injury
surveillance database within 28 sentinels, these were reported during the period 1998-2007.
The results show that the proportion of road traffic injuries was the highest of all injuries (51.6%).
The percentage of injuries in the age groups between 15 and 24 years was the highest (33.29%). Most of
the injuries occurred among laborers and student groups (35.0% and 20.1%); 75.7 percent of them were
motorcycle injuries and tended to increase. The highest incidence of injury occurred during the evening
between 6 and 8 o’clock (37.7-40.2%). The most severely traumatized parts of the body were the head and
neck (29.3%). The percentage of alcohol use while driving was 36.4 percent and it was highly used in the
age group 20-29 years (40.1%). The high-risk behavior occurred over the New Year holidays and during
the Thai new year (Songkhran festival) during the months of December-January and April. Further, the
drivers and riders had not used seatbelts and helmets while driving and riding . Only 13 percent used
helmets and 18.6 percent used seatbelts. Those injured were referred by a relative or others in 56.2 of the
cases; only 10.4 percent were referred by EMS, although the tendency is increasing.
This study identified the problem of injuries, especially motorcycle injury in younger persons, which
tends to increase every year. The higher fatality rate may relate to risk behavior involving alcohol use, not
wearing a helmet, or using seatbelts and driving at high speed. Traffic accident prevention requires that
drivers be educated and that the laws be enforced in the high-risk group (mainly younger men).