บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ส่วนขาดในการผลักดันนโยบายด้านการควบคุมยาสูบในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์ และวิจัยทบทวนเอกสาร ภายในกรอบประเด็นที่มีความสำคัญในเชิงนโยบาย พิจารณาจากกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก โดยเลือกประเด็นที่ตรงกับสภาพปัญหาการบริโภคยาสูบในสังคมไทย จากนั้นรวบรวมข้อมูลงานวิจัยที่ผ่านมาโดยการทบทวนวรรณกรรม เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและงานประชุมวิชาการต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์หาส่วนขาด จนเกิดเป็นคำถามและประเด็นวิจัยที่ยังขาดองค์ความรู้ สุดท้ายนำไปปรึกษากับนักวิจัยกลุ่มย่อยตามความเชี่ยวชาญในแต่ละประเด็นด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้คำถามการวิจัยที่จำเพาะยิ่งขึ้น
จากการวิจัยพบว่า มีประเด็นคำถามการวิจัยที่สำคัญในการควบคุมยาสูบ ที่ยังมีส่วนขาดที่ต้องการองค์ความรู้เพื่อนำมาใช้ในการควบคุมยาสูบ 7 กรอบ คือ (1) การเฝ้าระวังสถานการณ์ ทั้งการบริโภคยาสูบ การกระทำผิดกฎหมาย การโฆษณาส่งเสริมการขาย การไม่บังคับใช้กฎหมาย และการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบผิดกฎหมาย (2) มาตรการทางภาษีและการรับมือภาวะคุกคามที่มาจากการค้าเสรี (3) รูปแบบการบูรณาการบริการการเลิกบุหรี่ในระดับต่างๆ (4) การควบคุมผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ของยาสูบ (5) การสื่อสาร เพื่อปรับเปลี่ยนสังคมและพฤติกรรม (6) บุหรี่มวนเอง (7) การประเมินประสิทธิภาพมาตรการการควบคุมการบริโภคยาสูบ
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ได้แก่ การนำกรอบประเด็นเชิงนโยบายระดับโลกที่สอดคล้องกับปัญหาที่สำคัญของประเทศร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมและการสนทนากลุ่ม มาใช้ในการวิเคราะห์ส่วนขาดขององค์ความรู้ สามารถเป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดลำดับความสำคัญของการวิจัยได้
บทคัดย่อ
Policy-linked research is related to the country’s problems and concerns. The purpose of this study
is to evaluate the missing knowledge in tobacco control in Thailand and to examine the significant research
questions needed for tobacco-control policy. Two methods, namely framework of analysis and documentary research, were employed to evaluate the scope of needed research, the method of comparison
to the WHO Framework Convention on Tobacco Control (FCTC), by selecting equivalent topics related to
Thai society. The next step was collecting previous research evidence, such as research reports and meeting
papers. Those collected documents were evaluated to identify knowledge gaps, using a focus group
discussion in order to bring forward specific research questions.
Seven main areas for tobacco control were identified as relevant to the current tobacco-control situation
in Thailand and that needed to advance more evidence: (1) the surveillance system of tobacco consumption
and tobacco industry, (2) tobacco-control tax measures and trade agreements, (3) an alternative
model of services for smoking cessation, (4) control of various tobacco products, (5) communication for
effecting behavior and social changess, (6) situation concerning “roll-your-own” cigarettes, and (7) evaluation
of the effectiveness of the tobacco-control measures.
This analysis suggested that research prioritization for tobacco-control research could use the WHO
FCTC as a framework of analysis. The selected components could be adjusted for country-specific application
which should guide effective investments in specific tobacco research in order to solve the country’s
problems in this regard.