บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 303 คน ทำการเก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สันและสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน.จากการวิจัยพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล คือ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์การทำงาน ปัจจัยจูงใจและปัจจัยสนับสนุน มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ซึ่งทั้ง 4 ปัจจัยร่วมนี้สามารถทำนายการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ร้อยละ 46.7 จากผลการวิจัยทำให้ได้ข้อสรุปว่าหน่วยงานสาธารณสุขควรให้ความสนใจและดำเนินการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยวิธีการจูงใจต่างๆ ให้มีการปฏิบัติงานและต้องการคงอยู่ในองค์กรมากที่สุด ควรสนับสนุนทรัพยากรสาธารณสุขให้เพียงพอในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก นอกจากนั้นควรมีการศึกษารูปแบบการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดผู้ป่วยไข้เลือดออกในหมู่บ้านอย่างแท้จริง
บทคัดย่อ
The purpose of this cross-sectional survey was to determine the factors influencing
village health volunteers’ performance in the prevention and control of dengue hemorrhagic
fever in Phisalee district, Nakhon Sawan Province. The participants consisted of
303 village health volunteers in that district, who were studied from July 1 to August 31,
2007. A questionnaire was used for collecting information and the data were analyzed by Pearson’s product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression. The
findings disclosed significant relationships between the village health volunteers’ performance
and the following factors, i.e., their income, experience with motivational and
supporting factors. These four factors had a 46.7 percent power of prediction. Therefore,
public health offices should pay attention to and continue the development of public
health volunteers. This should be done through motivational training that promotes sustainable
performance and organization loyalty. In addition, the public health offices should
provide sufficient public health resources for the prevention and control of dengue hemorrhagic
fever. Future studies might focus on the effectiveness model of village health
volunteer performance in preventing the occurrence of dengue hemorrhagic fever cases
in villages.