บทคัดย่อ
งานวิจัยด้านนโยบายและระบบสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ การจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อวิจัยด้านสุขภาพจึงมีความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า คือได้หัวข้อวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการในระดับประเทศ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและเครือข่ายได้ร่วมกันจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อวิจัยในระบบสุขภาพของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ.2553 โดยคาดหวังให้ได้หัวข้อวิจัยที่ตรงกับความต้องการของผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ใช้ข้อมูลจากงานวิจัยประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมต่อไป
ผู้วิจัยได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การระดมสมองผู้เชี่ยวชาญ และการสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้าร่วมประชุมจัดตามลำดับความสำคัญของหัวข้อวิจัย โดยใช้แบบสอบถาม เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2553 หัวข้อที่ได้รับการเสนอมี 120 หัวข้อ จาก 66 หน่วยงาน และมีผู้แทน 90 หน่วยจากหน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 247 หน่วยเข้าร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นและจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นจำนวน 15 หัวข้อ หัวข้อที่มีการจัดให้มีความสำคัญในลำดับต้นๆนั้นมีลักษณะ (1) ที่มีแนวโน้มก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพเป็นอย่างมาก และ (2) ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ โดยความคิดเห็นของผู้แทนหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม พบว่าร้อยละ 93 เห็นด้วยกับกระบวนการและเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดลำดับความสำคัญและสนับสนุนการจัดลำดับความสำคัญในปีต่อๆไป
บทคัดย่อ
Health policy and systems research (HPSR) is crucial for strengthening health systems. In cases
where resources are limited, research topic prioritization is an important process to ensure the effective
use of available resources and to help identify research topics that are relevant and also address stakeholders’
concerns. In foreseeing the benefits of introducing a prioritization process, the Health Systems
Research Institute (HSRI) and its affiliates organized the HPSR topic prioritization seminar 2010, which
was aimed at preparing a list of national prioritized research topics, in the hope that the list will be used to
support policy decisions in Thailand.
This is a research and development study which employed participatory observation, brainstorming,
and questionnaire surveys. A total of 247 organizations were identified as stakeholders, 90 of
which participated in the prioritization process. At the beginning of the process, 120 HPSR topics were
proposed by 66 organizations. Of these topics, 15 were prioritized. It was found that topics that are related
to (a) disease with a high burden and (b) service delivery are likely to be included in a priority list. In
addition, results from a self-administered survey demonstrated that 93 per cent of the stakeholders strongly
supported the process and expressed their interest in participating in similar events if conducted in the
future.