บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบคลินิกเบาหวานที่ดำเนินงานโดยพยาบาลในอันที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างรอบด้านตามมาตรฐานสากลอย่างยั่งยืนในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฎิบัติการในส่วนของการพัฒนาเครือข่ายคลินิกเบาหวาน โดยพยาบาลมีหน้าที่บริหารจัดการคลินิกโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะ (Nurse led diabetes program) ในการจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างรอบด้านตามแนวทางเวชปฎิบัติ รวมทั้งติดต่อประสานงานกับสหสาขาวิชาชีพและสถานบริการอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการตรวจพิเศษตามที่โปรแกรมกำหนด นอกจากนั้นพยาบาลผู้จัดการในคลินิกจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการที่จะส่งเสริมสุขภาพ สร้างความรู้ให้แก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน การศึกษานี้เป็นการศึกษานำร่องในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง การดำเนินการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการ เพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์ ประกอบด้วยการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ, ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมวิเคราะห์รูปแบบการบริหารการพยาบาลที่ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร, นำผลการทบทวนวรรณกรรมและผลการวิเคราะห์ปัญหามาสร้างแบบสอบถามและวางแนวทางระบบเครือข่ายคลินิกเบาหวานโดยพยาบาล และจัดอบรมเพื่อพัฒนาทบทวนความรู้ให้แก่พยาบาลผู้ปฏิบัติงาน ระยะที่ 2 สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการประเมินภาวะเสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากลและการพัฒนาเครือข่ายคลินิกเบาหวานโดยพยาบาล ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 2.1. เตรียมการ เพื่อศึกษาข้อมูลและเตรียมพร้อมในการจัดตั้งเครือข่ายคลินิกเบาหวาน. ระยะที่ 2.2. ดำเนินการ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคลินิกเบาหวานโดยพยาบาล( Evidence-Based Nurse Led DM Clinic Set up), ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการของคลินิก, ขั้นที่ 3 ดำเนินงานคลินิค, ขั้นที่ 4 ติดตาม และ ขั้นที่ 5 ประเมินผลการดำเนินงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 วิธี คือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบข้อมูลตลอดเวลาในข้อมูลเชิงคุณภาพ และ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ในข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการศึกษา: 1. ผู้ป่วยทั้งหมด 251 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีปัจจัยเสี่ยงในด้านดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์, ภาวะอ้วนลงพุง มีอัตราส่วนที่สูง คือ 78% , 62% ตามลำดับ ในขณะที่การควบคุมระดับไขมันโคเลสเตอรอลชนิด แอลดีแอล, ความดันโลหิต,ระดับน้ำตาล, และ HbA1c ให้เป็นไปตามเกณฑ์ มีเพียง 36%, 38%, 31%, 34% ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามหลังจากดำเนินงานคลินิค การควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ มีแนวโน้มที่ลดลง 2. การดำเนินงานเครือข่ายคลินิกเบาหวานโดยพยาบาลพบว่า • พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานตามคลินิกฯ ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับสูง • พยาบาลมีการรับรู้ประโยชน์ของการใช้คลินิกฯ ที่พัฒนาขึ้น เพราะเป็นการจัดการบริการที่มีเป้าหมายชัดเจนขึ้น เกิดความตระหนักในการพัฒนาตนเอง เป็นการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการเกิดความเชื่อมั่นและไว้ใจพยาบาล เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองและวิชาชีพ • ผู้ใช้บริการที่ได้รับการดูแลตามคลินิกฯ มีการรับรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองในเรื่องการเลือกชนิดอาหารได้เหมาะสม ใช้ยาอย่างถูกต้อง เลือกปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสม ปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอันตรายและภาวะแทรกซ้อน เช่น การจัดการอาการที่เปลี่ยนแปลงได้, มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเหมาะสม • ผู้ใช้บริการที่ได้รับการดูแลตามคลินิกมีความพึงพอใจต่อการดูแลของพยาบาลในระดับสูง โดยมีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการดูแลของพยาบาล อันได้แก่ การให้เกียรติ การดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด พึงพอใจต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพ 3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Nurse led diabetes program ช่วยให้พยาบาลสามารถตรวจหาและติดตามปัจจัยเสี่ยง, ประเมินการควบคุมน้ำตาลและภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนการออกวันนัดหมายการตรวจครั้งต่อไปตามที่แนะนำในแนวทางเวชปฏิบัติ สรุป: เครือข่ายคลินิกเบาหวานโดยพยาบาลช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างรอบด้านตามแนวทางเวชปฏิบัติ ตลอดจนการสร้างกระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน โดยอาศัย Nurse led diabetes program , การประสานงานกับสหสาขาวิชาชีพ และ การสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้ป่วย
บทคัดย่อ
Objective: To determine the model of nurse led diabetic clinic network, the effects of model on vascular risk factors in primary care units of health department, Bangkok metropolitan.
Study design: Prospective descriptive study, and action research
Materials and methods: Fours primary care units 251 diabetes were recruited, and the model was developed on the 2 stages as following: stage1 preparation, in this stage, we review the diabetic burden, nursing role and service pattern for diabetes patients these primary care units, before model set up. and in stage2, we developed The Nurse led diabetes program to help nurse manager in providing standardized care for diabetes as recommended in national guideline, and nurse educator development by educational motivation from multidiscipline conference, and clinical set up with periodic auditation and brain storm to re-evaluate, re-modeling the model.
Results:
• The risk burdens as in obesity, truncal obesity were high initially 78%, 62% in subsequently, and the patients having target LDL cholesterol, blood pressure, fasting sugar, HbA1c were 36%, 38%, 31%, 34% in subsequently, However These un-optimized risk factors had trended to lower after the model implementation.
• For the model had improved the nursing attitude as nurse manager, confident , quality service and standardized diabetes care, and the patients had improved coping skill in behavior modification, and most importantly the good relationship between the community and clinic which could motivated patients adherence and confidence in nurses.
• The Nurse led diabetes program could help nurse manager in risk factor development, sugar control, complication detection and improved standardized protocol as in national guideline recommendation.
Conclusion: The nurse led diabetic clinic network could provide more standardized care by The Nurse led diabetes program, multidiscipline approach, and community relationship.