บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและคุณภาพบริการที่ได้รับจากระบบหลักประกันสุขภาพที่ต่างกัน 3 ระบบคือ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการโดยใช้การเข้ารับบริการแบบผู้ป่วยในของผู้ป่วยเบาหวานใน พ.ศ.2548 เป็นตัวตามรอย เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอนเฉลี่ยของแต่ละระบบและการเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในซ้ำอีกภายใน 30 วัน ประชากรตัวอย่างที่ศึกษามี 3 ประเภทคือ ผู้ป่วยเบาหวานเข้ารักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน มีภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง และไม่มีภาวะแทรกซ้อน
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของระบบหลักประกันสุขภาพในด้านประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและคุณภาพบริการผ่านการวิเคราะห์วันนอนและการเข้ารับการรักษาซ้ำ และเพื่อยืนยันสมมติฐานที่ว่าภาวะที่มีผู้ป่วยมีความต้องการการรักษาที่จำเป็น เช่นภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ระบบหลักประกันสุขภาพที่ต่างกันไม่มีความต่างกันในเรื่องคุณภาพที่ให้กับผู้ป่วย
จากการศึกษาพบว่า ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนนอนวันเฉลี่ยมากกว่าอีกสองระบบ โดยระบบประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีจำนวนวันนอนเฉลี่ยน้อยกว่าอยู่ระหว่างร้อยละ 13 ถึงร้อยละ 49 ของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และในด้านการรักษาซ้ำไม่ต่างกันระหว่างระบบประกันสุขภาพทั้งสาม ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจะมีอัตราการเข้ารับการรักษาซ้ำสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
บทคัดย่อ
This study examined the efficiency of resource use in Thailand’s three health insurance schemes:
Universal Coverage (UC), Social Security Scheme (SSS), and Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS).
It analyzes the length of stay (LOS) in hospital and early readmission rate in diabetes mellitus (DM) patients,
using as a tracer for efficiency the use of resources and the quality of services, respectively. The
data came from the claims that hospitals servicing all three major health insurance schemes have to send
for reimbursement. The aim of the analysis was to compare the effects of the insurance schemes and other
factors on resource use, LOS as a proxy for resource use, and on quality as proxied by the readmission rate
within 30 days after discharge. The analysis compares three conditions of DM requiring hospital admission:
acute complications, chronic complications, and DM without complication, to prove that there were
no differences in the quality of service in patients’ condition, especially the acute complication condition.
The study found that CSMBS patients had longer LOS than UC and SSS patients. This implied the
efficient use of resources by patients of SSS and UC compared with those covered by CSMBS. However,
SSS patients showed no difference in early readmission within 30 days after discharge, while UC patients
had a higher rate of readmission in chronic DM and without the complication condition.