บทคัดย่อ
ความแออัดที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่ การศึกษาและการแก้ปัญหาในอดีตทำเฉพาะในระดับโรงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยปัจจุบันได้ทำการศึกษาและพัฒนาระบบบริการโรงพยาบาลชุมชนที่ปฏิบัติงานอยู่โดยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นในการแก้ปัญหาความแออัดของแผนกผู้ป่วยนอกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้ให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกทั้งหมดของโรงพยาบาล และตัวแทนจากทั้งในโรงพยาบาล และสถานีอนามัยทุกแห่ง และร้อยละ 5 ของผู้รับบริการ 3 วันทำการ ทั้งในโรงพยาบาลและสถานีอนามัยในช่วงเดือนมิถุนายน 2550 และนำประเด็นที่สามารถดำเนินการได้มาพัฒนาคุณภาพบริการในช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2550 แล้ววัดผลจากเวลารอรับบริการเฉลี่ย ผลการสำรวจพบว่าผู้ให้บริการเห็นด้วยกับการส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังไปรับบริการที่สถานีอนามัย ความเห็นที่ยังก้ำกึ่ง ได้แก่ การใช้พยาบาลตรวจแทนแพทย์ และที่ไม่เห็นด้วย ได้แก่ การส่งแพทย์ไปตรวจที่สถานีอนามัยในวันหยุดราชการ ผู้รับบริการเห็นด้วยกับการพัฒนาบริการทุกประเด็น แต่มีความเห็นที่ยังก้ำกึ่งในการรักษาโรค หรืออาการบางอย่างที่ไม่ต้องมาตรวจที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล และการลดเวลารอรับบริการเฉลี่ยจาก 192 นาที เป็น 110 นาที หลังมีการพัฒนาคุณภาพบริการ ผู้วิจัยเสนอให้มีการแก้ปัญหาที่เชื่อมโยงกับการกระจายกำลังคนในสถานบริการระดับต่างๆ ที่คำนึงทั้งความเป็นธรรม และประสิทธิภาพ มีนโยบายและวิธีการจูงใจให้โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัยพัฒนาบริการมากขึ้น และการกำหนดระบบการส่งต่อที่ชัดเจนระหว่างสถานบริการต่างๆ
บทคัดย่อ
Although awareness exists that over-crowding in the Outpatient Department has
been a similar to that in government hospitals, previous studies of the problem had been
carried out on the situation in provincial and university hospitals. The present researcher
conducted this study to determine the factors relating to the problem of overcrowded
outpatient services in a community hospital where he works; he used the experience thus
obtained for developing the service quality of the hospital. A survey was taken by questionnaires on stakeholders (June 2007), regarding service
quality; the study was carried out in the period July-October 2007. The survey resulted
in most staff agreeing with the need to refer chronic cases to the primary care unit,
but disagreeing with the posting of a doctor service in the primary care unit on weekends;
the patients were not happy with the self-care functions if there was health worker
visit. After the service has been initiated, it could be expected that patient waiting time
would decrease from 192 minutes to 110 minutes.
The researcher made suggestions for reducing the overcrowding problem by integrating
health taskforce distribution by equity versus efficiency and incentive policy for
community hospitals and primary care units in order to improve the service quality and
the referral system.