• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การสำรวจสถานการณ์การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับจังหวัด

จรวยพร ศรีศศลักษณ์; สุภาวดี นุชรินทร์; Jaruayporn Srisasalux;
วันที่: 2553-11
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการสำรวจเร่งด่วน (quick survey) เกี่ยวกับองค์ประกอบ บทบาทหน้าที่ และการ ดำเนินงานของคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับจังหวัดทั้ง 26 จังหวัด โดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 1 เดือน ตั้งแต่ 1 – 31 ตุลาคม 2553 โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจการดำเนินงานและ การสัมภาษณ์ ตลอดจนใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานการประชุมของคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการ ดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับจังหวัดของแต่ละจังหวัด และรายงานประชุมนำเสนอผลการดำเนินงานของ 26 จังหวัดที่จัดโดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2553 จากผลการศึกษา พบว่าการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ระดับจังหวัด โดยให้ นพ.สสจ. มอบหมายเจ้าหน้าที่เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในฝ่ายสาธารณสุขคัดเลือกผู้แทนเป็นกรรมการ รวมทั้งให้มีการสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธาน คณะอนุกรรมการ โดยบทบาทคณะอนุกรรมการมีหน้าที่ประสานความร่วมมือ เพื่อให้การกระจายอำนาจขับเคลื่อน ไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด และค้นหานวัตกรรมการกระจาย อำนาจให้กับ อบจ. ให้เหมาะสมแต่ละพื้นที่ โดยให้รายงานภายใน 6 เดือน หากไม่แล้วเสร็จให้ขยายระยะเวลาได้ ไม่เกิน 12 เดือน การมีคำสั่งแต่งคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับ จังหวัด ดังกล่าวมีการดำเนินงานตามคำสั่งอย่างจริงจังเพียงจังหวัดเดียวคือ จังหวัดน่าน ข้อเสนอสำหรับการดำเนินการในระยะต่อไป ได้แก่ 1)ควรจำกัดการดำเนินงานดังกล่าวในพื้นที่นำร่องที่มี ความพร้อมเพียง 5-10 จังหวัดเพื่อสะสมประสบการณ์และความสำเร็จ ซึ่งจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดความมั่นใจว่า การ กระจายอำนาจได้ส่งผลทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจริง 2)ควรขยายระยะเวลาค้นหานวัตกรรม โดยให้ แต่ละคณะอนุกรรมการฯของแต่ละจังหวัด กำหนดกรอบเวลาตามความเหมาะสม แต่ไม่เกินระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้ มีเวลาสังเคราะห์ข้อเสนอทั้งหมดเสนอปรับแผนการกระจายอำนาจด้านสุขภาพระยะต่อไป และควรพัฒนาให้มี กลไกสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัด โดยมีการสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรอย่างเพียงพอ 3)ควรบรรจุ วาระการประชุมของคณะอนุกรรมการฯ ลงในข้อบัญญัติงบประมาณของ อบจ. เพื่อให้มีงบประมาณสำหรับการ ดำเนินการเพื่อความยั่งยืน 4)กระทรวงสาธารณสุขต้องมีความจริงจังกับการดำเนินเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ มากกว่าที่เป็นอยู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สกถ. อปท. เลือกจังหวัดจำนวนหนึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติการระดับจังหวัด แล้วร่วมมือกันอย่างจริงจังในการดำเนินการในลักษณะ นำร่อง ยึดประโยชน์ประชาชนเป็นศูนย์กลาง แล้วปฏิบัติการร่วมกัน 1-2 ปีเป็นอย่างน้อย จากนั้นสรุปผลเพื่อปรับสู่ ระยะต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1835.zip
ขนาด: 234.8Kb
รูปแบบ: Unknown
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 60
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV